ผักพิวรีนสูง ทานมากเกินไปก็เสี่ยงโรคเก๊าท์ได้เหมือนกัน
ผัก เป็นอาหารอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลากหลายด้าน แต่ผักหลายชนิดต้องควบคุมปริมาณการทานในแต่ละวันให้พอเหมาะ โดยเฉพาะผักที่มีกรดยูริกสูง หรือผักที่มีพิวรีนสูง เช่นเดียวกับผลไม้ที่มีกรดยูริกสูงที่ส่งผลเสียอย่างมากต่อผู้ป่วยโรคเก๊าท์ แล้วผักที่มีพิวรีนสูงนั้น มีอะไรบ้างที่ควรลดหรือเลี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์และลดอาการกำเริบสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
ค่าพิวรีนพิวรีนในอาหาร มีระดับอะไรบ้าง?
ปริมาณพิวรีนในอาหาร สามารถวัดได้จากค่าปริมาณพิวรีนต่ออาหาร 100 กรัม ดังนี้
อาหารที่มีปริมาณพิวรีนน้อย : 0-50 มิลลิกรัม/อาหาร 100 กรัม
อาหารที่มีปริมาณพิวรีนปานกลาง : 50-150 มิลลิกรัม/อาหาร 100 กรัม
อาหารที่มีปริมาณพิวรีนสูง : 150 มิลลิกรัมขึ้นไป/อาหาร 100 กรัม
8 ผักที่มีกรดยูริกสูง ควรลดหรือเลี่ยงเพื่อลดเสี่ยงโรคเก๊าท์
ผักเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น แต่สิ่งสำคัญคือการรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่ต้องพิจารณาการทานอาหารที่มีพิวรีนสูงเป็นพิเศษ
1 . หน่อไม้ฝรั่ง
หน่อไม้ ถือเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีค่าพิวรีนระดับกลางเกือบสูง หน่อไม้ฝรั่ง 100 กรัม มีปริมาณพิวรีนประมาณ 50-149 มิลลิกรัม ผู้ป่วยโรคเก๊าท์และคนที่มีกรดยูริกในร่างกายสูงควรเลี่ยงหรือควบคุมการรับประทานให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ
2 . ผักโขม
ผักโขม เป็นผักชนิดหนึ่งที่มีค่าพิวรีนระดับกลางเกือบสูง ผักโขม 100 กรัม มีปริมาณพิวรีนประมาณ 56-82 มิลลิกรัม ซึ่งอาจไม่ได้มีปริมาณพิวรีนระดับสูงมากนัก แต่จะดีกว่าหากควบคุมปริมาณการทานให้พอเหมาะ ไม่รับประทานในปริมาณมากและบ่อยจนเกินไป โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเก๊าท์หรือคนที่มีกรดยูริกสูง
3 . ดอกกะหล่ำ
ดอกกะหล่ำ 100 กรัม มีปริมาณพิวรีนประมาณ 43 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าไม่สูงมากนัก แต่ควรควบคุมปริมาณการทานดอกกะหล่ำให้ดี โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเก๊าท์ หากสามารถควบคุมโรคเก๊าท์หรือระดับกรดยูริกในเลือดได้ดี ก็สามารถรับประทานดอกกะหล่ำได้ในหลายเมนู แต่อย่างที่อธิบายไป ควรควบคุมปริมาณให้ดีและเลือกปรุงร่วมกับวัตถุดิบอื่น ๆ ที่มีค่าปริมาณพิวรีนต่ำ
4 . สะตอ
สะตอ เป็นพืชตระกูลถั่ว ซึ่งพืชตระกูลนี้จะมีค่าพิวรีนอยู่ในระดับกลางไปจนถึงสูง ผู้ป่วยโรคเก๊าท์หรือคนที่มีกรดยูริกในเลือดสูงควบคุมปริมาณอย่างเคร่งครัด หรือควรเลี่ยงการรับประทานสะตอไปเลย เพราะอาจเสี่ยงต่ออาการกำเริบได้
5 . ถั่วเลนทิล
เลนทิล เป็นถั่วชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นถั่วที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน แต่ถั่วเลนทิล ก็มีพิวรีนสูง ถั่วเลนทิล 100 กรัม มีปริมาณพิวรีนสูงถึง 127 มิลลิกรัม ซึ่งการควบคุมปริมาณในการทานอาจทำได้แต่ไม่แนะนำ ทางที่ดีคือควรเลี่ยงถั่วเลนทิลจะดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์และลดอาการกำเริบ
6 . เห็ด
เห็ด มีปริมาณพิวรีนระดับปานกลางถึงสูง เห็ดบางชนิดอาจมีปริมาณพิวรีนสูงถึง 100-150 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ทำให้เห็ดเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรควบคุมปริมาณอย่างเคร่งครัดหรือควรเลี่ยงอาหารที่มีเห็ดเป็นวัตถุดิบ หรือควรปรึกษาแพทย์หากมีความต้องการบริโภคเห็ด
7 . ถั่วเหลือง
ไม่ว่าจะเป็นนมถั่วเหลือง หรือถั่วแระ เป็นอาหารที่ต้องควบคุมอย่างเคร่งครัด ถั่วเหลืองหรือถั่วแระ 100 กรัม มีปริมาณพิวรีนสูงถึง 230 มิลลิกรัม และแพทย์ก็ไม่แนะนำให้ดื่มนมถั่วเหลืองถึงวันละ 1 ลิตรต่อวัน เพราะร่างกายจะรับพิวรีนเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป
8 . ถั่วแดง ถั่วเขียวและถั่วดำ
ถั่วทั้ง 3 อย่างนี้ มีประมาณพิวรีนระดับกลางไปถึงสูง ซึ่งจะมีปริมาณพิวรีนต่อ 100 กรัม ประมาณ 127-150 มิลลิกรัม หากเป็นไปได้ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์และคนที่อยากทานอาหารที่มีพิวรีนต่ำ ถั่วทั้ง 3 อย่างนี้อาจเป็นทางเลือกที่ควรเลี่ยงมากกว่า แต่ก็สามารถควบคุมปริมาณการทานได้ แต่ต้องดูแลปริมาณการทานอย่างเคร่งครัดด้วย
ผักที่มีกรดยูริกน้อย มีอะไรบ้าง ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ทานได้
ผักที่ได้อธิบายไปข้างต้น เป็นผักที่สามารถทานได้ ถึงแม้ว่าจะป่วยเป็นโรคเก๊าท์ก็ตาม ปัจจัยหลักอยู่ที่การควบคุมปริมาณเสียมากกว่า แต่การทานผักที่มีพิวรีนต่ำ ก็ทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริกน้อย ก็เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์และคนที่อยากทานอาหารที่มีพิวรีนต่ำ
ผักที่มีกรดยูริกน้อย เช่น ถั่วงอก ผักคะน้า พริกหยวก แตงกวา บวบ หัวหอม มะเขือ มะเขือเทศ แครอท ผักชีฝรั่ง บรอคโคลี เป็นต้น
ลดการทานผักบางชนิด ดูแลกรดยูริกในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผักชนิดต่าง ๆ ตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น เป็นผักที่ควรควบคุมปริมาณในการทานให้พอเหมาะ ไม่ควรทานทุกมื้อ ทุกวัน และผักบางชนิดที่มีปริมาณพิวรีนสูง การเลี่ยงรับประทานก็อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพื่อเลี่ยงการเกิดของอาการโรคเก๊าท์ที่ทำให้ชีวิตประจำวันลำบากและทรมานจากความเจ็บปวด แน่นอนว่าการรับประทานผักนั้นมีประโยชน์อยู่แล้ว แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ การเลือกรับประทานผักที่มีกรดยูริกน้อยตามที่ได้แนะนำไปข้างต้น จะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงการเลี่ยงอาหารที่ควรเลี่ยงเมื่อกรดยูริกในเลือดสูงด้วยเช่นกัน
อ่านบทความเพิ่มเติม :
ทำอย่างไรเมื่อกรดยูริกสูง อย่าปล่อยไว้นานเพราะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคไตเสื่อมได้
ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงส่งผลต่อ คุณภาพการนอนหลับหรือไม่?
กินไก่เป็นเก๊าท์ จริงไหม กินแล้วปวดขาจริงหรือ?