สำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงคอเลสเตอรอลสูงนั้น มักจะต้องให้ความระมัดระวังเกี่ยวกับอาหารการกินเป็นพิเศษ ซึ่งในอาหารก็มักจะมีวัตถุดิบในการประกอบอาหารก็คือ “น้ำมัน” ซึ่งในปัจจุบันก็มีน้ำมันหลากหลายประเภท ซึ่งหากเลือกน้ำมันไม่ดีก็อาจจะทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ วันนี้ผู้เขียนจึงจะมาแนะนำน้ำมันไขมันต่ำที่เหมาะสำหรับผู้ที่เสี่ยงภาวะคอเลสเตอรอลควรใช้เพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ
อ่านต่อบทความ
มันหวานญี่ปุ่น อ้วนไหม? กินแล้วช่วยลดน้ำหนักจริงหรือไม่?
มันกุ้ง ของอร่อยปาก กินมากเสี่ยงตายเพราะโรคร้าย จริงหรือไม่?
น้ำมันไขมันต่ำที่ควรใช้ ลดความเสี่ยงคอเลสเตอรอล
1. น้ำมันมะพร้าว (COCONUT OIL)
น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันชนิดที่ดีต่อสุขภาพที่สามารถช่วยบำรุงร่างกายได้ตั้งแต่ภายนอกและภายใน หากใช้ประกอบอาหารจะช่วยให้กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ มีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เหมาะสำหรับเมนูทั้งผัด ทอด และช่วยให้อาหารทอดกรอบได้นานอีกด้วย
2. น้ำมันมะกอก (OLIVE OIL)
น้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันสารพัดประโยชน์ เต็มไปด้วยกรดไขมันดีและสารต้านอนุมูลอิสระสูง บำรุงสมอง กระตุ้นระบบการหมุนเวียนเลือด ควบคุมคอเลสเตอรอล ช่วยลดความส่วนโรคหัวใจ และโรคมะเร็ง แต่น้ำมันมะกอกไม่เหมาะที่จะนำไปประกอบอาหารจานทอดเช่น ทอดและผัด เพราะไม่ทนความร้อนแต่เหมาะสำหรับนำไปราดแทนน้ำสลัด หรือนำไปทำเป็นซอสก็ได้เช่นกัน
อ่านต่อบทความที่ท่านอาจสนใจ : EP. 186 : 8 ข้อดีของน้ำมันมะกอก ที่คุณอาจไม่เคยรู้
: การเลือกน้ำมันมะกอก ประเภทของน้ำมันมะกอกให้เหมาะกับการใช้งาน
3. น้ำมันอะโวคาโด (AVOCADO OIL)
น้ำมันชนิดนี้เป็นน้ำมันที่มีประโยชน์และนิยมไม่น้อยไปกว่าน้ำมันมะกอกเลยค่ะ เพราะว่าอุดมด้วยกรดโอเลอิก (oleic acid) และวิตามินอี เพิ่มความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร ช่วยต้านอนุมูลอิสระ บำรุงดวงตา บำรุงระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดคอเลสเตอรอล บำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงต่อโรคหลายโรค เหมาะสำหรับนำมาประกอบเมนูที่ต้องใช้ความร้อนสูง เช่นเมนูผัดและทอด
อ่านต่อบทความที่ท่านอาจสนใจ : อะโวคาโด ผลไม้สุดปลื้มของคนรักสุขภาพ
4. น้ำมันคาโนลา (CANOLA OIL)
น้ำมันคาโนลาเป็นน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยที่สุดในบรรดาน้ำมันทั้งหมด มีส่วนช่วยลดไขมันอันตราย เช่น ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันทรานส์ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้นกว่าเดิม อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 บำรุงสมองและบำรุงหัวใจช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สำหรับการนำมาทำอาหารควรเลือกชนิดน้ำมันคาโนล่าสกัดเย็นและเหมาะนำมาทำเมนูผัด ทอด หรือราดทานแทนน้ำสลัดก็ได้
5. น้ำมันถั่วลิสง (PEANUT OIL)
อุดมไปด้วยไขมันดี ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) บำรุงและช่วยลดคาวมเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังเหมาะมากๆ สำหรับผู้ที่กำลังลดน้ำหนักเพราะหากทานอาหารที่ทำมาจากน้ำมันชนิดนี้จะช่วยลดความอยากอาหาร บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน เหมาะนำมาทำเมนูผัดและทอด
6.น้ำมันรําข้าว (RICE BRAN OIL)
เป็นน้ำมันที่มีโภชนาการสูงเต็มไปด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ เต็มไปด้วยวิตามินตามธรรมชาติมากมายหลายชนิด เช่น วิตามินอี วิตามินบี โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมก้า 9 ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ดี ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด แต่ว่าเป็นน้ำมันที่ไม่เหมาะที่จะโดนความร้อนเป็นเวลานาน สามารถนำไปประกอบอาหารผัดได้ แต่ไม่เหมาะที่จะนำไปทอด
7.น้ำมันเมล็ดชา ( CAMELLIA OLEIFERA SEED OIL)
น้ำมันชนิดนี้อาจจะไม่ค่อยนิยมในบ้านเราเท่าไร แต่จริงๆ แล้วน้ำมันชนิดนี้มีประโยชน์และดัต่อสุขภาพเรามากๆ เพราะเต็มไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง มีโอเมก้า 3 โอเมก้า6 โอเมก้า 9 สูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ดีให้ร่างกาย ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง ทนต่อความร้อนสูงสามารถประกอบอาหารได้ทุกเมนู
8.น้ำมันดอกทานตะวัน ( SUNFLOWER SEED OIL)
เป็นน้ำมันที่ได้รับการสกัดจากเมล็ดดอกทานตะวัน มีประโยชน์มากมายทั้งบำรุงตับ ไต ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในร่างกาย ช่วยขับของเสียและลดอาการท้องผูก แต่จะทนต่อความร้อนสูงได้ไม่นานนัก จึงนิยมนำไปผัดมากกว่าทอด
จริงหรือไม่? น้ำมันหมู อันตรายน้อยกว่าน้ำมันพืช
การเลือกน้ำมันที่เหมาะสมถือเป็นเพียงส่วนนึงที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะของโรคร้ายต่างๆ ได้ระดับนึง แต่สิ่งที่ต้องใส่ใจควรเลือกใช้น้ำมันที่เหมาะสมสำหรับการประกอบอาหารด้วย เพราะน้ำมันบางชนิดไม่สามารถทนต่อความร้อนสูงได้ หากใช้ผิดประเภทก็อาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี และที่สำคัญที่สุดคือ การควบคุมอาหารที่เหมาะสม ไม่ควรทานอาหารที่เพิ่มอัตราความเสี่ยงมากขึ้น และรับประทานผักผลไม้ เนื้อไก่ เนื้อปลาแทนเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนค่ะ
สอบถามเพิ่มเติมและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์
HOTLINE : 094 490 8888, 089-939-2799
ID Line : @kinnworldwide
Website : www.kinn.co.th
Facebook : www.facebook.com/www.kinn.co.th
ID Line :http://nav.cx/sUt9Ndh
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ถั่วนัตโตะ ลดไขมันในเลือด ได้จริงหรือ ?