กรดยูริก คืออะไร
กรดยูริก เป็นสารเคมีที่เกิดจากกระบวนการธรรมชาติจากร่างกายที่เกิดจากการสร้างเซลล์มาซ่อมเเซมร่างกายจากนั้นได้ปล่อยกรดยูริกตามมาด้วยกรดยูริกเป็นของเสียของร่างกาย เมื่อร่างกายไม่สามารถกำจัดกรดยูริกออกจากร่างกายได้หมด ก็จะเกิดการสะสมของกรดยูริกในเลือดสูงมักจะสะสมอยู่ตามข้อต่อกระดูก ผนังหลอดเลือดเเละไต เมื่อเกิดการสะสมเป็นเวลานานจากกรดยูริกที่มีขนาดเล็กจนเป็นผลึกก้อนใหญ่ ๆ จะเกิดโรคเกาต์ โรคไตอักเสบ โรคนิ่ว ตามมา
กรดยูริกมาจากไหน??
หลาย ๆ คนสงสัยว่ากรดยูริกนั้นมันมาจากที่ไหนได้บ้าง กรดยูริกมาจากทั้งปัจจัยเเละปัจจัยภายนอก คือ
– ปัจจัยภายในเป็นสารเคมีที่เกิดจากกระบวนการธรรมชาติจากร่างกาย นั่นคือของเสียของร่างกายที่เกิดจากการซ่อมเเซมเซลล์ภายในร่างกาย
– ปัจจัยภายนอกมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป อาหารจำพวกสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์
ถ้ามีกรดยูริกในเลือดสูงจะเป็นอย่างไร
ถ้าหากมีกรดยูริกในเลือดสูงเกิน 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเลือดในเพศชาย 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในเพศหญิง ผลที่เกิดจากการมีกรดยูริกสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลาหนึ่ง กรดยูริกเกิดการตกผลึกของเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อหรือข้อต่อกระดูกของร่างกายจะทำให้เกิดการอักเสบตามข้อต่อต่าง ๆ หรือโรคเกาต์เเบ่งเป็น 3 ระยะ
1. ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน ในระยะนี้มักจะเกิดที่ข้อต่อกระดูกต่าง ๆ ของร่างกาย
2. ระยะไม่มีอาการ หลังจากนั้นข้ออักเสบหาย ผู้ห่วยจะไม่มีอาการใด ๆ
3. ระยะเรื้อรัง หลังจากที่มีอาการสะสมไปนาน ๆ จะมีการอักเสบตามข้อต่อเพิ่มขึ้น ผลึกเกลือยูเรตจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
ตรวจกรดยูกรดอยู่ในเลือดคืออะไร
การตรวจกรดยูริกในเลือดจากการตรวจจากปัสสาวะ หรืออุจจาระเพื่อวิเคราะห์กรดยูริกภายในเลือดว่าเราเป็นโรคอะไรเพิ่มเติมมั้ยจากการเช็กเลือดผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบสาเหตุของโรค ไม่ว่าจะเป็นหรือตายก็ต้องเตรียมเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุเเล้วผลกระทบของโรคภายหลังเช่น โรคเกาต์ โรคนื่ว โรคไต
มีวิธีไหนบ้างที่จะสามารถลดกรดยูริกในเลือดสูง
– ออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก สามารถทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดลดลงได้
– ดื่มน้ำวันละมาก ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถขับกรดยูริกออกจากร่างกาย ทำให้การทำงานของไตดีขึ้น
ข้อห้ามของผู้ป่วยที่มีกรดยูริกในเลือดสูง
– จำกัดการรับประทานสัตว์ปีก สัตว์เนื้อเเดง เเละอาหารทะเล เพราะมีปริมาณกรดยูริกสูงมากบวกกับกรดยูริกที่เกิดภายในร่างกายอาจทำให้อาการของผู้ป่วยนั้นหนักกว่าเดิม
– จำกัดการรับประทานผัก ที่มีสารฟิวรีนสูง เช่น ถี่ว ฝัก
– จำกัดการรับประทานผลไม้ ที่มีน้ำตาลสูง
– งดดื่มเครื่องดื่มที่มีเเอลกอฮอล์
โรคที่เกิดการมีกรดยูริกในเลือดสูง
– โรคเกาต์ คือ การสะสมของกรดยูริกเเละตกผลึกเเละมีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ สะสมอยู่ตามข้อต่อของกระดูกส่งผลให้เกิดการอักเสบ ปวด บวม
– โรคนิ่ว จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะขัด
– โรคไตอักเสบ เมื่อมีปริมาณของกรดยูริกในเลือดสูงเป็นเวลานานทำให้ไตทำงานหนักทำให้เกิดการอักเสบที่ไต
กรดยูริกในเลือดสูงส่งผลกระทบต่อการนอนอย่างไร
กรดยูริกที่สะสมจนทำให้เกิดโรคเกาต์ อาการของโรคนี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนมาก ๆ เพราะจะรู้สึกเจ็บหรือปวดตามข้อต่าง ๆ ตลอดการนอนหลับทำให้เราต้องตื่นมากลางดึกเป็นประจำมีผลกระทบที่ตามมาคือการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่สดชื่น เเละประสิทธิภาพร่างกายในการทำงานระหว่างวันน้อยลง
บรรเทาอากรปวดด้วยตัวเอง
1. ในตอนนอนให้ใช้หมอนหนุนส่วนที่มีอาการบวมสูงขึ้นกว่าลำตัว เป็นวิธีการทำให้การระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น
2. บรรเทาอาการปวดที่บริเวณข้อต่อด้วยประคบเย็น สามารถลดอาการปวดอาการอักเสบได้ โดยการนำเจลเย็นหรือผ้าห่อน้ำเเข็งมาประคบในส่วนที่ปวดไว้ประมาณ 20 นาที
3. ยาลดการอักเสบ โดยไม่เเนะนำให้กินบ่อยเเละถี่เพราะจะส่งผลทำให้ร่างกายทำงานหนัก
วิตามินซีช่วยลดกรดยูริกในเลือดได้
เมื่อร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ ความสามารถในการขับถ่ายกรดยูริกของร่างกายก็ลดลง เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคเกาต์ได้ โรคนิ่ว โดยในตัววิตามินซีจะไปช่วยให้ระบบขับถ่ายปัสสาวะของร่างกาย สามารถเร่งการขับกรดยูริกออกมาทางปัสสาวะได้ง่ายขึ้น เเถมยังมีผลดีอื่น ๆ ที่จะตามมาจากการได้รับวิตามินซีด้วย
ควบคุมกรดยูริกได้อยู่หมัด มีชีวิตที่ดีย์
ผู้ป่วยที่มีกรดยูริกในเลือสูงสามารถลดการสะสมของกรดยูริกได้ไม่ว่าจะเป็นวิธีให้ร่างกายนั้นทำการกำจัดกรดยูริกออกจากร่างกายโดยการดื่มน้ำต่อวันให้มาก ๆ หรือจะรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายนั้นขับกรดยูริกออกมาในรูปเเบบปัสสาวะ ประกอบกับการเลือกรับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกายว่านำไปใช้ได้มากอีกด้วย เเลกกับสุขภาพร่างกายก็จะกลับมาเเข็งเเรงปลอดภัยจากการสะสมของกรดยูริกเพิ่ม ทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่ดีขึ้นตามลำดับ สามารถทำกิจกรรมได้มากขึ้นไม่ต้องกังวลเรื่องการปวดตามข้อไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาอายุของเเต่ละคน เเถมยังไม่เป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
กินหน่อไม้ มีประโยชน์ หรือ ควรเลี่ยง ?
EP. 193 : 5 วิธีดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคข้อและกระดูก
EP.174 : รู้ยัง ! วิตามินเค ป้องกันกระดูกพรุน