เมื่อเช้านี้ ได้รับหนังสือ “คนดีแผ่นดินสยาม” จากพี่มาลี วัชโรทัย ในโอกาสที่พี่มาลี กำลังจะแต่งงานลูกสาว เลยฝากการ์ดแต่งงานมาแนบให้หลี และพี่น้อง ไปร่วมงานมงคลสมรส ลูกสาวพี่มาลี ด้วย จะขอบอกว่า “หนังสือคนดีแผ่นดินสยาม” เป็นหนังสือที่ดีมาก เนื้อหาที่มีประโยชน์ และสาระเพียบ ทำให้เห็นถึงความตั้งใจเรียบเรียงของคณะผู้จัด ที่พิถีพิถันเก็บรายละเอียดได้เป็นอย่างดี เลยขออนุญาติถือโอกาสหยิบหัวข้อที่น่าสนใจ ตีพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้ มาเขียนใน blog ของหลีด้วย เพื่อแชร์ให้ท่านผู้อ่าน ได้รับคุณประโยชน์ สาระน่ารู้ เกี่ยวกับ “สปอร์เห็ดหลินจือ MG2 ยาดีใกล้ตัวคุณ” ซึ่งเป็นสมุนไพรธรรมชาติ 100% ที่ทรงคุณค่ามหาศาล (อ้างอิง : หนังสือคนดีแผ่นดินสยาม)
” ปี 2558 จากสายพระเนตรที่ยาวไกล ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้มีพระราชทานพระราชดำริ ให้กรมวิชาการเกษตรจัดหาอุปกรณ์ และดำเนินการสาธิตอบรมการเพาะ “เห็ด” แก่ราษฎรไทย อันมีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ “
สปอร์ เห็ดหลินจือ MG2 ยาดีใกล้ตัวคุณ
“เห็ดหลินจือ” ในประเทศไทยมีการเพาะพันธุ์ โดยเห็ดชนิดนี้ ถือเป็นราชาแห่งสมุนไพรกันเลยทีเดียว ในประเทศจีน มีการใช้มายาวนานกว่า 4,000 ปี เป็นยาอายุวัฒนะ ที่สามารถใช้รักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งเภสัชตำรับของจีน ได้ระบุสรรพคุณไว้ว่า เป็นยาบำรุงร่างกาย บรรเทาอาการอ่อนเพลีย แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง รักษาโรคหัวใจ และช่วยให้นอนหลับ ฯลฯ รวมทั้งยังมีคุณค่าทางยาอื่น ๆ ซึ่งมีความน่าสนใจอีกหลาย ๆ ประการ
โพลีแซกคาไรด์ เป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยกระตุ้นการเสริมสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้ ต้านมะเร็ง ฯลฯ โดยโพลิแซกคาไรด์ นี้พบได้ในเห็ดหลินจือสกัด และ สปอร์เห็ดหลินจือ
ไทรเพอรินอยด์ มีฤทธิ์ช่วยขัดขวางการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งแบ่งตัวไม่ได้ และตายไป มักพบในสปอร์เห็ดหลินจือ มากกว่า ดอกเห็ด
ออแกนิค เยอร์มาเนียม มีฤทธิ์ช่วยขจัดมะเร็ง โดยวิธีการปรับประจุไฟฟ้าในร่างกาย พบได้ในส่วนที่เป็นดอกเห็ด และ สปอร์
เอ็มไซม์ซูปเปอร์อ๊อกไซด์ดิสมิวเคส ซึ่งพบมากในส่วนที่เป็นดอกเห็ด โดยมีสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านสารพิษ และ ชะลอความชรา
กิจกรรมการศึกษางานโครงการพระราชดำริ “ตามรอยเส้นทางเห็ดหลินจือ ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล เพื่อสุขภาพของพสกนิกรไทย” จากสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ณ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อหลายสิบปีก่อน ทำให้เราทราบถึงเรื่องราว เส้นทางของเห็ดหลินจือ ในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน
ด้านโครงการสวนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้มีการทดลองเพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ และรวมถึง “เห็ดหลินจือ” ตั้งแต่ปี 2531 โดยมีการมุ่งเน้นเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือ สืบเนื่องมากจากเป็นเห็ดที่มีสรรพคุณทางยามากมาย และมีราคาสูง โดยใช้สายพันธ์ G2 (Ganodema Lucidum 2) ในการเพาะเลี้ยง ทั้งยังมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ ประเภทต่าง ๆ เช่น เห็ดชนิดแห้ง เห็ดแกรนูล สำหรับชง , เห็ดหลินจือสกัดบรรจุแคปซูล, และทำเห็ดหลินจือกระป๋อง
ในปี 2549 โครงการส่วนพระองค์ได้มีการมอบเห็ดหลินจือ สายพันธ์ G9 ซึ่งได้รับมาจาก Mr. Sun Tong Fu กรรมการบริษัท พิพัฒนาพร จำกัด และ คุณมาลี วัชโรทัย ให้งานจุลชีวประยุกต์นำไปทดลองวิจัยพัฒนา โดยเห็ดหลินจือสายพันธ์ G9 นี้ เป็นการนำเห็ดหลินจือ เกาหลี และ เห็ดหลินจือป่าสีม่วง มาผสมกัน โดยศาสตราจารย์ อี่ฉวนอี้ จากศูนย์วิจัยเทคโนโลยี ชีวภาพด้านการรักษาโรค นิวส์โอต้าเหลียน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยการเกษตรไทย และ สาธารณรัฐประชาชนจีน
นอกเหนือไปจากการเพาะเลี้ยงและการแปรรูปเห็ดหลินจือ ที่โครงกานส่วนพระองค์ สวนจิตรดาแล้ว ก็ยังมีโครงการ การวิจัยเห็ดหบินจือ และ สปอร์เห็ดหลินจือ ในประเทศไทย เกิดขึ้น ภายใต้โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างปีงบประมาณ 2551 – 2554 ซึ่งนับเป็นการต่อยอดในเรื่องงานวิจัยทางการแพทย์ และเภสัชกรรม เพื่อใช้เป็นยาต้านมะเร็ง โครงการดังกล่าว เป็นการริเริ่ม ของสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และ การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารสุข ร่วมกับโครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย ซึ่งอยู่ในการดูแลของพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ สำนักพระราชวัง โดยการวิจัยแบบบูรณาการ และได้รับความร่วมมือจาก 12 หน่วยงาน เช่น คณะเภสัชกรม มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักคณะกรรมการอาหารและยา , องค์การเภสัชกรรม ฯลฯ ซึ่งโครงการวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยตั้งแต่ “ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ” โดยแบ่งงานวิจัยออกเป็น 4 ขา
ขาที่ 1 การเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือ และสปอร์เห็ดหลินจือ ตามแนวการเกษตรที่ดี (จีเอพี) โดยเบื้องต้นนั้น เป็นการวิจัยด้วยการนำพันธุ์เห็ดหลินจือของโครงการพิเศษ สวนเกษตรเมืองงาย ซึ่งปรากฎว่า ได้ผลดี จากนั้นจึงได้นำห็ดหลินจือ สายพันธุ์อื่น ๆ จากต่างประเทศมาทำการทดลอง และลองเทียบสายพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศไทย
ขาที่ 2 การทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือ พรีคลีนิก โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการทดสอบเห็ดหลินจือ ราว ๆ 7 – 8 สายพันยธุ์ ที่ให้คุณค่าทางยาสูง เช่น โพลีแซคคาไรด์ , ไทรเพอรินอยด์ , ออแกนิคเจลมาเนียม ที่มีผลต่อการสร้างภูมิต้านทาน ต้านอนุมูลอิสระของมะเร็ง ซึ่งได้มีการทดสอบถึงผลผลิตที่มีคุณค่าของการลงทุนในด้านตลาดยา โดยสุดท้ายลงตัวที่ สายพันธุ์เมืองงาย 2 หรือ MG2
ขาที่ 3 การใช้รักษา ซึ่งดำเนินการโดยคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ทำการทดลองใช้กับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เพื่อให้รู้ว่า ต้องรักษาแบบใด ทานอย่างไร และทานในปริมาณเท่าใด จึงเพียงพอ จนในที่สุด ได้บทสรุปผลการวิจัยว่า เห็ดหลินจือ สามารถรักษาโรคมะเร็ง ได้เป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะมะเร็งทางสูตินรีเวช เช่น มะเร็งมดลูก, มะเร็งรังไข่ในระยะสุดท้าย ซึ่งมีสรรพคุณสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ และผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
ขาที่ 4 การขยายผลต่อการใช้ประโยชน์ ถึงแม้ว่า ระะยะเวลาของโครงการได้สิ้นสุดลง ทว่าการเพาะเลี้ยงและการแปรรูปเห็ดหลินจือ ณ โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย ยังไม่ได้สิ้นสุดลงตามโครงการวิจัย ในปัจจุบัน ยังมีการเพาะเลี้ยงและแปรรูปเห็ดหลินจือ โดยมีผลิตภัณฑ์ของเห็ดหลินจือในรูปแบบต่าง ๆ จำหน่ายให้กับประชาชนที่สนใจ เช่น เห็ดหลินจืออบแห้ง, ชาเห็ดหลินจือ, สารสกัดจากเห็ดหลินจือ, สปอร์เห็ดหลินจือ, เห็ดหลินจือชนิดเม็ด และ แคปซูล
ทั้งนี้ ด้วยพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 จากพระปรีชาสามารถ และด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกล พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้มีการส่งเสริมการปลูก เพาะเลี้ยงพืชที่มีประโยชน์ มีประสิทธิภาพในการนำไปใช้งาน รวมทั้ง “เห็ดหลินจือ” อันเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของพระเมตตา พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่เปรียบมิได้ ที่มีต่อปวงชนชาวไทย
“เห็ดหลินจือ” ของประเทศไทยในปัจจุบันนี้นั้น สามารถสร้างคุณประโยชน์ ให้แก่ประชาชนคนไทย และประเทศชาติได้อย่างมหาศาลยิ่ง
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือคนดีแผ่นดินสยาม, MAY 2561 – Special Issue)
#สปอร์เห็ดหลินจือ #คินน์สปอร์เห็ดหลินจือ #อาหารเสริม #KINN
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ผู้สูงวัย ล้มคนเดียว เจ็บทั้งบ้าน