พฤติกรรม อั้นฉี่บ่อย ถือเป็นปัญหาที่พบบ่อยกับชาวออฟฟิศ เพราะเมื่อไม่นานมานี้ เช้าวันหนึ่ง ได้ทราบข่าวจากทีมงานคนหนึ่งว่า ปัสสาวะเป็นสีข้น ปัสสาวะทีไรแสบทุกที ไปพบหมอแล้ว หมอบอกว่า เป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ โชคดี ที่เพิ่งเป็น จึงยังไม่ได้ปัสสาวะเป็นเลือด เธอว่าอย่างนั้น แต่ดิฉัน ก็ยังแปลกใจอยู่ เพราะสถานที่ที่เธอทำงาน กับห้องน้ำ เดินไปเพียง 6 ก้าว ก็ถึงแล้ว ทำไม ต้องอั้น ปัสสาวะ ? คำตอบที่ได้ยินจากทีมงานคนเดิม คือ คิดว่า ทำงานอีกนิดเดียวก็เสร็จ เลยอั้นกันเป็นอาจิณ กลายเป็นนิสัย จนกระทั่ง เกิดอาการดังกล่าว ทนไม่ไหว เลยไปปรึกษาแพทย์
พฤติกรรม อั้นฉี่บ่อย อาจเสี่ยงเป็น โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
จริง ๆ สาเหตุของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เกิดจากอะไรหล่ะ ? ก่อนที่เราจะถึงสาเหตุ เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า โรคทางเดินปัสสาวะ คืออะไร ?
โรคทางเดินปัสสาวะ หรือ ที่เรียกว่า Urinary Tract Infections คือ ภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แล้วเจ้าตัวทางเดินปัสสาวะนั้น ประกอบด้วย ท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และ ไต นั่นเอง และระบบทางเดินปัสสาวะ ยังแบ่งออกเป็น ระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper urinary tract) คือ ไตและท่อไต ส่วนระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง (Lower Urinary Tract) ก็คือ กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ นั่นเอง โรคทางเดินปัสสาวะ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ และ เด็ก และพบบ่อยในเพศหญิง มากกว่า เพศชาย เพราะอะไร เพราะด้วยลักษณะทางกายภาพของผู้หญิง ที่มีท่อปัสสาวะ สั้นกว่า เพศชาย ทำให้มีโอกาสการติดเชื้อ ได้ง่ายกว่า และแน่นอน ส่วนใหญ่จะติดเชื้อ จากช่องคลอด จากเพศสัมพันธ์
สาเหตุที่พบบ่อยของโรคทางเดินปัสสาวะ
มักจะเกิดจากการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย Gonorrhea และเชื้อแบคทีเรียตัวอื่น ๆ และพบบ่อยในผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็น จากผ้าอนามัย ทิชชูเปียกเช็ดหลังขับถ่าย การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เชื้อที่อยู่ในเมือกของช่องคลอด สิ่งระคายเคืองที่มาสัมผัสกับท่อปัสสาวะ ทำให้เป็นสาเหตุของท่อปัสสาวะอักเสบ จะรู้สึกระคายเคือง อาจทำให้มีหนอง มีหนองในน้ำปัสสาวะ ฯลฯ
อาการภายหลังติดเชื้อของโรคทางเดินปัสสาวะ
- ปัสสาวะมีสีขุ่น อาจมีเลือดปนออกมา
- ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นกว่าปกติ
- รู้สึกเจ็บปวด แสบร้อน ระหว่างปัสสาวะ
- ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ต้องปัสสาวะบ่อยขึ้น
- ปัสสาวะไม่สุด
- อาจมีไข้ หรือ หนาวสั่น
- อาจมีอาการอ่อนเพลีย
ใครที่มีโอกาส หรือ เสี่ยงต่อการเป็นโรคทางเดินปัสสาวะ
- ผู้ที่กลั้นปัสสาวะนาน ๆ (เพราะรถติด หรือ เคยชินกับการกลั้นปัสสาวะ) ส่งผลให้เกิดการแช่คั่งของน้ำปัสสาวะ เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญได้ดีมาก
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายเลยติดเชื้อง่าย ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดัน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- ผู้ที่ต้องคาสายปัสสาวะ ตลอดเวลา
- ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโต เพราะจะไปกั้นทางเดินปัสสาวะ
- ผู้ที่มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ผู้ป่วยบางท่าน ที่เป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง จะเกิดอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ กลายเป็นเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาให้ถูกวิธี เชื้อโรคอาจลุกลามไปที่ไต ลามไปถึงทำให้กรวยไตอักเสบ
- กรวยไตอักเสบ
อย่างที่แจ้งข้างต้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เชื้ออาจลุกลามไปที่กระแสเลือด กลายเป็นเลือดติดเชื้อ และเป็นพิษ ซึ่งกลายเป็นปัญหาอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากปล่อยทิ้งไว้ อาจกลายเป็น ไตวายได้
- ท่อปัสสาวะอักเสบ
ที่เห็นเด่นชัด คือ อาการแทรกซ้อนที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นต่อมลูกหมากอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ จากการมีเชื้อโรคลามมาได้
การรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
โดยทั่วไป แพทย์จะใช้การรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะ และแน่นอน ต้องค้นหาสาเหตุร่วมเพื่อรักษา และปัจจัยเสี่ยงเพื่อแก้ไขป้องกันได้ อาการของโรค สามารถหายด้ภายในไม่กี่วัน แต่ผู้ป่วยต้องทานยาให้ครบตามแพทย์สั่งจนหมด ส่วนผู้ที่มีอาการมาก มีไข้สูงตามมา ปวดเอวมาก แพทย์อาจแนะนำให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
การป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- พยายามอย่ากลั้น / อั้น ปัสสาวะ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะ ควรรีบปัสสาวะออกในทันที และ ปัสสาวะให้สุด
- ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อย 8 – 10 แก้ว ช่วยขับลดแบคทีเรีย ในร่างกายออกมา
- ทำความสะอาดช่องคลอดให้ถูกวิธี แนะนำให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
- เลี่ยงการใช้ยาดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ
#คินน์เพื่อชีวิตยืนยาวและยั่งยืน
บทความที่น่าสนใจ
กินผักผลไม้ยังไง ให้ดีต่อ (หัว) ใจ