โรคในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิต โดยเฉพาะโรคไตเสื่อมและโรคเก๊าท์ สาเหตุหลักๆเกิดขึ้นจากการสะสมของพิวรีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรดยูริก หากมีการสะสมปริมาณมากเกินไป ทำให้รูปดังกล่าวเกิดอาการกำเริบและสร้างความเจ็บปวดให้ผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนโรคไตเสื่อม เป็นปัญหาต่อเนื่องจากการรับประทานอาหารและยาเพื่อรักษาอาการโรคต่างๆที่เกิดขึ้น อาหารที่เรารับประทานเข้าไปเมื่อร่างกายมีระบบการย่อยสลายที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะโปรตีน จึงเป็นที่มากับคำถามที่ว่า ทำอย่างไรเมื่อกรดยูริกสูง อย่าปล่อยไว้นานเพราะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคไตเสื่อมได้
หากร่างกายมีความสมบูรณ์สามารถกำจัดสลายโปรตีนเหล่านี้ได้ง่าย แต่สำหรับผู้สูงอายุการเผาผลาญและภูมิคุ้มกันเริ่มต่ำลงทำให้การสลายโปรตีนมีประสิทธิภาพน้อยลง ทำให้ตายทำงานหนักเป็นสาเหตุของการเป็นโรคไตเสื่อมด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อร่างกายเกิดการตกค้างและสะสมเป็นตะกอนในข้อต่างๆเป็นจำนวนมาก และมีเนื้อเยื่อหุ้มไว้รอบๆ เมื่อมีปริมาณมากขึ้นจะทำให้เกิดการอักเสบอย่างต่อเนื่องและเฉียบพลัน ส่งผลทำให้ป่วยเป็นโรคเก๊าท์ และเมื่อผู้ป่วยเหล่านี้ทำการตรวจสุขภาพจะมีผลกรดยูริคในเลือดสูงตามมาด้วย
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรดยูริกให้มากขึ้น
กรดยูริก คือ สารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้นตามธรรมชาติ เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการซ่อมแซมเซลล์ต่างๆของร่างกาย นอกจากนี้กรดยูริกเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ ที่มีปริมาณสูงเช่น เครื่องในสัตว์,แอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์,น้ำหวานทุกชนิด,ผลไม้ให้รสหวาน,และสัตว์ปีก เป็นต้น
ในร่างกายของเราจะถูกกระตุ้นจากน้ำตาลฟรุกโตสและสารพิวรีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรดยูริก หากมีปริมาณเกินความจำเป็นต่อการใช้งานของร่างกายจะถูกขับออกผ่านไต จากใจของเรามีสุขภาพที่ดีสามารถขับโปรตีนที่เหลือในร่างกายรวมถึงกรดยูริกให้น้อยลงได้ เมื่อผ่านไปเกิดการเสื่อมของไตหรือสภาวะไตเสื่อม จนร่างกายไม่สามารถขับกรดยูริกออกจากร่างกายได้ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอักเสบตามข้อหรือเกิดสภาวะโรคเกาต์กำเริบได้ เช่น ผู้ป่วยไตเสื่อมหรือไตวาย ผู้ป่วยโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง เป็นต้น
กรดยูริกในเลือดสูง สามารถรู้ได้อย่างไร
กรดยูริกในเลือดสูง หากมีความรุนแรงมากจะทำให้อาการข้ออักเสบกำเริบได้หรือป่วยเป็นโรคเกาต์ได้ อาการความรุนแรงนี้มักจะเกิดตามโคนนิ้วเท้า ข้อเท้าและข้อมือ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเราสามารถใช้ยาแก้อักเสบ ที่ไม่ใช่กลุ่มสเตียรอยด์ จะทำให้มีอาการดีขึ้นภายใน 1-2 วัน
การตรวจปริมาณของกรดยูริกในร่างกาย สามารถทำได้โดยวิธีการตรวจเลือดตรวจหากรดยูริกในเลือด หากพบว่า มีค่าปริมาณกรดยูริกในเลือดไม่เกิน 6 มิลลิกรัม./เดซิลิตร. แสดงว่าร่างกายมีกรดยูริกไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่หากพบว่ามีการรับประทานอาหารหรือมีกรดยูริคในในเลือดเกิน 7 มิลลิกรัม./เดซิลิตร แสดงว่ามีค่ากดยูริคในร่างกายเกินมาตรฐาน ผู้ป่วยควรงดรับประทานอาหารที่อยู่ในกลุ่มกรดยูริคสูง และงดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
แนะนำ 3 แนวทางการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย ทำอย่างไรเมื่อกรดยูริกสูง ช่วยลดการกำเริบของโรคไตเสื่อม
1.ดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อลดปริมาณความเข้มข้นของกรดยูริก
การดื่มน้ำวันละหลายแก้วหรือปริมาณมากๆ สามารถช่วยให้ร่างกายกำจัดของเสียและกำจัดกรดยูริกออกจากร่างกายได้ดี นอกจากนี้คนที่มีปัญหาอาการไตเสื่อม น้ำยังช่วยล้างไตไปในตัว การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย นอกจากทำให้ร่างกายสดชื่นและทำงานได้เต็มที่แล้ว ยังสามารถช่วยให้ระบบต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเกิดสภาวะกรดยูริกสูง ควรดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อที่ร่างกายจะทำการขับออกและสามารถลดปริมาณกรดยูริกสูงได้ดี
2.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง
การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง ยิ่งเป็นการกระตุ้นการกำเริบของโรคไตและโรคเกาต์ให้มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น สำหรับข้อสงสัย ทำอย่างไรเมื่อกรดยูริกสูง สามารถทำได้เริ่มต้นที่ตัวเราโดยเฉพาะการงดหรือหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีกรดยูริคสูง และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยปกติแล้วกรดยูริกในร่างกายมีการสะสมอยู่แล้ว ยิ่งเรารับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงเพิ่มเติมเข้าไป ยิ่งไปช่วยกระตุ้นการกำเริบของโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องนี้ให้มีความรุนแรงมากขึ้น เราจึงขอแนะนำให้งดรับประทานอาหารในกลุ่มจำพวกนี้ เช่น น้ำหวานทุกชนิด,อาหารหมักดอง,เครื่องในสัตว์ทุกชนิด,และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์ เป็นต้น
3.เข้ารับการตรวจและติดตามอาการอยู่สม่ำเสมอ
สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไตหรือไตเสื่อม จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการรับประทานยา ต้องทานอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการแทรกซ้อนจากปัญหากรดยูริกสูงในเลือดมากเกินไปจะส่งผลต่อระบบภายในโดยตรง เมื่อถึงวันนัดเข้ารับตรวจร่างกายตามใบนัดหมอควรแจ้งปัญหา กับแพทย์ให้ชัดเจน เพื่อรับยามารับประทานสำหรับรักษาอาการกรดยูริคสูงหรือโรคแทรกซ้อนที่เป็นอยู่นั่นเอง
ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับทำอย่างไรเมื่อกรดยูริกสูง เราจึงขอแนะนำ 3 ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะกรดยูริกสูง และสภาวะไตเสื่อม สามารถนำข้อปฏิบัติทั้ง 3 ข้อนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันการเกิดสภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ช่วยลดอาการกำเริบจากโรคไขข้ออักเสบต่างๆ และลดการทำงานหนักของไตให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอีกด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
กินหน่อไม้ มีประโยชน์ หรือ ควรเลี่ยง ?
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อ กรดยูริกในเลือดสูง
ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงส่งผลต่อ คุณภาพการนอนหลับหรือไม่??