โรคซึมเศร้า ภาวะที่หลายคนตกอยู่ในความเจ็บปวดของบาดแผลในจิตใจโดยที่คนรอบข้างไม่รู้ เมื่อวานนี้ พวกเราพี่น้องชาวไทย ก็ได้รับฟังข่าวดี เกี่ยวกับ การค้นหาจนเจอของทีมหมูป่า สภาพปลอดภัย จากการค้นหาเป็นระยะเวลาถึง 9 วัน 5 ชั่วโง 41 นาที 13 ชีวิต กับความรู้สึก ลุ้น ของคนไทยทั้งประเทศ อาจจะบอกว่า สื่อต่างประเทศ ต่างก็รอฟังข่าวด้วยความใจจดใจจ่อด้วยเช่นกัน ถือว่า โล่งใจ กันทั้งประเทศกับข่าวดีในค่ำคืนของวันที่ 2 มิถุนายน 2561
หลี เองก็เป็นคนหนึ่งที่ติดตามข่าวการค้นหาทีมหมูป่า ตั้งแต่วันแรกเช่นกัน จะบอกว่า ความรู้สึกของมนุษย์เราต่อสิ่งต่าง ๆ แวดล้อมชีวิตเรา มีด้วยกันหลายมิติ บ้างดีใจ บ้างเสียใจ บางทีอารมย์เสีย หงุดหงิด บางทีเศร้า และแน่นอน ความเครียด ถือเป็นสิ่งธรรมดา ที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์เราทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แล้วถ้าคิดมาก มาก เแบบ ย้ำคิด ย้ำทำ แล้วหล่ะก็ ความเครียดถามหาแน่นอน อยู่ที่เราบริหารชีวิต บริหารความเครียดของแต่ละคน ออกไปเป็นรูปแบบใดบ้าง ชอปปิ้ง ดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬา ฯลฯ
ถือเป็นโรคที่เป็นกันเยอะ เป็นภัยเงียบที่คุกคามโดยที่เราไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัวเสียด้วยซ้ำ หลี มั่นใจว่า ทุกคนย่อมเคยรู้สึกเครียด ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เกิดจากที่ทำงาน ที่บ้าน และเรื่องส่วนตัว ฯลฯ และแน่นอนย่อมเคยรู้สึกผิดหวัง ร้องไห้ อารมณ์หวั่นไหว เศร้าหมอง เหมือน ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าต้องสูญเสียคนที่เรารัก ญาติพี่น้อง คนรัก สามีภรรยา เพื่อนรัก ความรู้สึกเหล่านี้ ย่อมเป็นเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนอย่างเรา ๆ และหากเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หรือเราสามารถบริหารความเศร้าเหล่านั้นได้ ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาใด แต่..ถ้าความซึมเศร้าเหล่านั้น เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ย่อมกระทบต่อการดำเนินชีวิตแน่นอน และถ้าเกิดขึ้น…อาจเป็นสัญญาณบอกว่า เรากำลังเป็น “ภาวะซึมเศร้า”
ภัยเงียบ…โรคซึมเศร้า
ทีนี้ เมื่อทราบอย่างนี้ เรามาดูถึงสาเหตุ และ อาการของภาวะซึมเศร้า
สาเหตุภาวะซึมเศร้า
ในส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า คือ การที่สมองของเรามีการเปลี่ยนแปลงรับความรู้สึกพร้อมปรับตัวไปตามสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเครียดมากน้อย ซึ่งถ้าเรามีความเครียดระยะยาว สมองของเราก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงเซลล์ระบบประสาท กระทบให้สารสื่อประสาทต่าง ๆ แปรปรวนและเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบให้อารมย์เราแปรปรวนไปในลักษณะที่ซึมเศร้า ซึ่งมีผลกระทบต่อสมองส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้า นั่นเอง ซึ่งแน่นอน มนุษย์เรา เจอความเครียดมาไม่เท่ากัน รุนแรงต่างกัน ทำให้ความเสี่ยงของแต่ละคนที่จะเป็นภาวะซึมเศร้า ย่อมแตกต่างกันออกไป
คนที่เป็นภาวะซึมเศร้า จะมีอาการเศร้าตลอดเวลา ไม่มีความสุขเลย หดหู่ ไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ตื่นง่าย ทานอาหารไม่ได้ น้ำหนักลด น้ำตาลในร่างกายลด อ่อนเพลีย พร้อมกับมีความคิดในทางแง่ลบ เช่น อยากฆ่าตัวตาย คิดหาวิธีทำร้ายตัวเอง ทีนี้ ดิฉัน จะพามาดูสัญญาณฟ้องว่าเราเป็นภาวะซึมเศร้า (ดูกันทีละข้อ ว่าเราเข้าข่ายไหม อย่างน้อย เราจะได้รู้เท่าทันตัวเราเอง)
- ขาดความสนใจรอบข้าง
- เชื่องช้า ทำอะไรช้าไปหมด เดินช้า
- ภาวะอารมณ์เศร้า หงุดหงิด
- ทานอาหารน้อยลง
- รู้สึกตัวเราเองด้อยค่า ไร้ค่า รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง
- ไม่มีสมาธิ
- อ่อนเพลีย
- น้ำหนักลด
- คิดในแง่ลบ อยากฆ่าตัวตาย
การป้องกันภาวะซึมเศร้า
- พักผ่อน นอนหลับให้สนิท อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง เน้นคุณภาพในการนอน หลับสนิท หลับลึก เข้านอนไม่ดึกเกินไป
- อย่าตั้งเป้าหมายในชีวิตสูงเกินไป หรือ ตั้งเป้าหมายในการทำงานสูงเกินไป เพราะถ้าผิดหวัง แล้วจะเครียด และเมื่อเกิดความเครียดมาก ๆ อาจเป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าได้
- ไม่ควรโทษตัวเองที่ไม่สามารถทำได้ ทำไม่ได้ ควรจะคิดในแง่บวก คือทำดีที่สุดในทุก ๆ วัน
- เน้นทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ถึงแม้เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก คิดง่าย ๆ คือทานอาหารที่เป็นประโยชน์หล่ะกันค่ะ
- ออกกำลังกาย ข้อนี้แนะนำแน่นอนทีเดียวค่ะ การรักษาสภาวะจิตใจให้อารมณ์แจ่มใสอยู่เสมอ ด้วยการทำกิจกรรมที่ตัวเราเองชื่นชอบ สนุก ผ่อนคลาย เช่นการเล่นดนตรี โยคะ วิ่ง ปั่นจักรยาน ฯลฯ
- จะเห็นได้ว่า การป้องกันหรือต้านภาวะซึมเศร้า เป็นวิธีการที่ธรรมดาและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ฝึกวินัย แม้คนปกติก็สามารถเป็นภาวะซึมเศร้าได้ ถ้าเราขาดวิธีบริหารความเครียด การรักษาสภาวะอารมณ์ให้แจ่มใสอยู่เสมอ ก็นับเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาวะเสี่ยงจากการซึมเศร้าได้
- หากรู้สึกว่า ไม่ไหว หรือคนรอบข้างมองเห็นความผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์ด้านจิตเวชเพื่อเข้าการรักษาอย่างถูกต้อง
#คินน์เพื่อชีวิตที่ยืนยาวและยั่งยืน
http://www.kinn.co.th