ร่างกายอ่อนเพลีย ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดได้ทุกวัยแล้วแต่สาเหตุ อาจจะมาจากร่างกายที่ทำงานหนักหรือความเครียดสะสม และปัญหานี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน อาการร่างกายอ่อนเพลียนี้ เป็นปัญหาที่ไม่มีช่องว่างทางอายุ การหาวิธีแก้ก็สามารถทำร่วมกันได้ แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไรได้บ้าง? ในบทความนี้ เราขอเสนอ 9 วิธีลดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เพื่อแก้ปัญหาร่างกายอ่อนเพลียได้อย่างตรงจุด
สาเหตุของอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เกิดจากอะไรได้บ้าง?
- นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจเกิดขึ้นจากภาวะนอนไม่หลับ หยุดหายใจขณะหลับ หรืออาจเป็นเพราะนอนไม่หลับในตอนกลางคืน นำไปสู่อาการอ่อนเพลียในตอนกลางวัน
- พฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ดี ทำให้ขาดสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย การทานอาหารที่ไม่มากพอ หรือทานอาหารที่มีไขมันเลวมากเกินไปหรือแคลอรี่สูงเกินไป ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ก็อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้ด้วยเช่นกัน
- ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นสาเหตุหลักของความเหนื่อยล้า ไม่มีแรงเลยก็ว่าได้
- ร่างกายขาดน้ำ บางคนอาจจะดื่มน้ำในปริมาณที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน เมื่อร่างกายขาดน้ำ ก็มีส่วนทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรงได้
- ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การดื่มแอลกอฮอล์บ่อย ๆ หรือดื่มในปริมาณมาก ก็มีส่วนทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าได้ง่ายด้วยเช่นกัน
- สูบบุหรี่ เนื่องจากนิโคตินเป็นสารทำให้ส่งผลต่อการหลับนอนได้
- การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้ซึมเศร้า ยาระงับประสาท และยาลดความดันโลหิตบางชนิด อาจมีผลข้างเคียงทำให้ร่างกายเกิดความง่วงและเหนื่อยล้าได้
- โรคเรื้อรัง เช่น โรคโลหิตจาง โรคไทรอยด์ โรคอ่อนล้าเรื้อรัง (CFS) โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) และโรคเรื้อรังอย่างโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องและโรคมะเร็ง
9 วิธีลดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง แก้ปัญหาอ่อนเพลียอย่างตรงจุด
1 . เปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร
ทานอาหารที่มีประโยชน์และครบหลัก 5 หมู่ ทั้งผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีนดี ไขมันดี เช่น เท่านี้อาจจะยังไม่พอ พยายามทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่เลี่ยงมื้ออาหาร และอาหารแต่ละมื้อต้องพอดี ไม่มากจนเกินไป ควรเลี่ยงของทอดที่มีไขมันเลวสูง ของหวาน ซึ่งอาจทำให้ส่งผลต่อความอ่อนล้าในแต่ละวันได้
2 . ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งจ๊อกกิ้ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือกิจกรรมการออกกำลังกายอะไรก็ได้ที่ร่างกายสามารถทำไหว เพราะการเดินแค่ 15 นาทีก็ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นแล้ว หากไม่ได้ออกกำลังกายนาน ควรเริ่มต้นออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
3 . ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการหลับนอน
พยายามนอนให้ได้ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน ถึงแม้ว่าจะยากสำหรับบางคนก็ตาม แต่ถ้าทำได้ ก็จะเป็นก้าวแรกของการลดอาการเหนื่อยล้าระหว่างวันลงได้ นอกจากนี้ก็มีวิธีการหลับนอนที่ดีขึ้นด้วยการหลับนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน เลี่ยงการนอนกลางวัน และพยายามหากิจกรรมยามว่างเพื่อให้ผ่อนคลายก่อนนอนทุกวัน
4 . ลดความเครียด เพื่อเพิ่มพลังงานชีวิต
เพราะความเครียดทำให้สูญเสียพลังงานเยอะกว่าที่คิด ลองหากิจกรรมที่ช่วยลดความเครียดดู เช่น การไปออกกำลังกายที่ฟิตเนส เล่นโยคะ ฟังเพลงที่ชอบ หาหนังสือดี ๆ สักเล่มอ่าน หรือการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครอบครัว
5 . ลดคาเฟอีน
การติดกาแฟ คาเฟอีนข้างในจะทำให้เราตื่นตัวก็จริง แต่ก็สามารถรบกวนการพักผ่อนของเราได้เหมือนกัน โดยเฉพาะการนอนนี่แหละที่สำคัญ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายอ่อนล้าในแต่ละวัน การลดปริมาณการดื่มกาแฟ ชา รวมถึงการเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง จะทำให้ร่างกายสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น
6 . เลี่ยงแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์บางอย่างอาจเป็นสิ่งที่ช่วยหลับนอนได้ดี ไม่ว่าจะเป็นไวน์สักแก้วก่อนนอน หรือวิสกี้ดี ๆ แก้ว แต่วันถัดมาก็อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าจากแอลกอฮอล์ได้เหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะนอนเยอะแล้วก็ตาม ทางที่ดีคือควรเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน เพื่อช่วยให้คุณภาพการหลับนอนดีขึ้น
7 . ดื่มน้ำให้มากพอในแต่ละวัน
ความเหนื่อยล้า ไม่มีแรง อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ร่างกายของเราควรดื่มน้ำวันละ 3.7 ลิตร หรือประมาณ 15 แก้ว เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ และทำให้ร่างกายไม่เหนื่อยล้าจากภาวะขาดน้ำด้วย
8 . ดูแลรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้ดี
โรคเรื้อรังอะไรก็ตามที่เป็นอยู่ที่อาจส่งผลกับความเหนื่อยล้าในแต่ละวัน การรักษาโรคเหล่านั้นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการดูแลให้ดีด้วยตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน
9 . ลดน้ำหนัก ลดความเหนื่อยล้า
หากร่างกายแบกรับน้ำหนักส่วนเกินมากเกินไป ก็ทำให้ร่างกายเกิดความเหนื่อยล้าเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นก็ทำให้หัวใจแบกรับภาระที่หนักมากขึ้นด้วย ซึ่งทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าง่ายกว่าเดิม การออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยให้เราสามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป ร่างกายอ่อนล้า ไม่มีแรง เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ และภาวะสุขภาพต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป การแก้ปัญหานี้ อย่างแรกที่ต้องแก้ไขคือไลฟ์สไตล์ การดูแลแก้ปัญหาไลฟ์สไตล์อย่างใส่ใจสุขภาพ จะเป็นก้าวแรกของการแก้ปัญหาสุขภาพเสมอ สิ่งที่ตามมาคือความสม่ำเสมอ เพื่อให้เราสามารถแก้ไขปัญหาอาการเหนื่อยล้า ไม่มีแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 9 วิธีลดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ที่ว่ามานี้ จะเป็นวิธีสำเร็จรูปที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดตั้งแต่ไลฟ์สไตล์ไปจนถึงอาหารการกิน
อ่านบทความเพิ่มเติม :
ผู้สูงอายุอ่อนเพลียไม่มีแรงกินอะไรดี แนะนำอาหารเพิ่มพลังที่ผู้สูงอายุไม่ควรพลาด
ออกกำลังกายลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น
ผู้สูงอายุ อารมณ์แปรปรวน สัญญาณที่ไม่ควรปล่อยผ่าน