ปัญหาเท้าลอก แก้ได้ไม่ยาก
ผิวหนังลอกเป็นขุย เท้าลอก สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังง่ายกว่าคนอื่น อย่างคนวัยสูงอายุก็สามารถมีอาการเท้าลอกได้เช่นกัน ซึ่งอาการเท้าลอกนี้สามารถรักษาดูแลได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีการไม่กี่อย่าง แต่ก่อนอื่น เราต้องรู้สาเหตุก่อนว่าเท้าลอก เกิดจากอะไร มีอาการแบบไหนบ้าง แล้วถ้าหากมีปัญหาเท้าลอก จะมีวิธีการดูแลแก้ไขอย่างไรให้เท้ากลับมาดูเนียน เป็นปกติเหมือนเดิม
อาการเท้าลอก มีอาการแบบไหนบ้าง?
อาการเท้าลอกอาจเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งอาการเท้าลอกทั่วไปที่พบเห็นได้ จะมีดังนี้
– ผิวลอกบริเวณเท้าอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นนอก อาจเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ หรือหลุดลอกเป็นขุย และอาจลอกออกมาเป็นแผ่นได้ด้วยเช่นกัน
– ผิวแห้ง อาจรู้สึกหยาบ แห้ง ตกเป็นสะเก็ดบริเวณเท้า ที่มีสาเหตุมาจากอาการผิวแห้ง
– ผิวแดง ผิวแหนังบริเวณเท้าอาจแดงขึ้นมา และอาจมีการอักเสบภายใน มักเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อ กลาก หรืออาการแพ้
– คัน มีอาการคันอยู่เรื่อย ๆ มักมีอาการนี้ร่วมกับการลอกของผิว ทำให้รู้สึกระคายเคือง ถ้าหากยิ่งเกาก็ยิ่งสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
– อาจรู้สึกแสบร้อนบริเวณเท้า อาจเกิดจากการติดเชื้อ ผิวไหม้ หรือผิวหนังถูกสารเคมีที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
– มีแผลพุพอง อาจมีตุ่มขนาดเล็ก มีน้ำหรือของเหลวอยู่ข้างใน
– ผิวแตก โดยเฉพาะบริเวณส้นเท้า อาจทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดได้ ส่วนใหญ่จะเป็นผลมาจากการที่ผิวแห้งมาก
– อาจส่งกลิ่น เนื่องจากแบคทีเรียหรือการติดเชื้อรา
– มีอาการเจ็บ ปวด เนื่องจากผิวที่แตก การติดเชื้อ และแผลพุพอง
– บวม ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อบริเวณผิวเท้า
สาเหตุของอาการเท้าลอก เกิดจากอะไรได้บ้าง?
สาเหตุของอาการเท้าลอก ก็มีหลากหลายสาเหตุเช่นกัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย สาเหตุของอาการเท้าลอกที่พบได้บ่อย จะมีดังนี้
- ผิวแห้ง เนื่องจากผิวเกิดไม่มีความชุ่มชื้นมากพอ ทำให้ผิวเท้าลอกเป็นขุย และแตกลอกในที่สุด และยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดรอยย่นบนหน้าผากด้วยเช่นกัน
- ติดเชื้อราบริเวณเท้า จะเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะกับคนที่เล่นกีฬา ซึ่งหลายคนคงรู้จัก “ฮ่องกงฟุต” เป็นอย่างดี อาการของการติดเชื้อนี้จะทำให้ผิวเท้าลอก คัน หรือมีอาการแดงได้
- โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ซึ่งเป็นโรคผิวหนังอักเสบอย่างหนึ่ง อาจทำให้เกิดอาการผิวแห้นง ดูแตกกร้าน และสามารถทำให้มีอาการเจ็บปวดและอาจทำให้เกิดตุ่มน้ำขึ้นมาได้เช่นกัน
- โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคทางผิวหนังที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ทำให้ผิวหนังของเรามีลักษณะเป็นแผ่นสีเงิน และมีโอกาสเกิดขึ้นที่บริเวณเท้าได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกันที่ทำให้เกิดอาการเท้าลอก
- ภาวะเหงื่อออกมากเกินไป (Hyperhidrosis) ซึ่งภาวะนี้อาจส่งผลต่อทั่วร่างกาย หรือแค่จุดเดียว และที่หนึ่งที่พบได้บ่อยคือบริเวณเท้า ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคัน บวมแดง และผิวลอกได้
- เกิดอาการแพ้ จากการสัมผัสกับสบู่ โลชั่น หรืออะไรก็ตามที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้
5 วิธีแก้เท้าลอก แก้ได้ไม่ยากอย่างที่คิด
การแก้เท้าลอก นอกจากการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุแล้ว ก็มีวิธีการป้องกันปัญหาเท้าลอกและวิธีแก้เท้าลอกที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
1 . ทามอยเจอร์ไรเซอร์เป็นประจำ
ใช้ครีมมอยเจอร์ไรเซอร์ที่ออกแบบมาเพื่อการทาบริเวณที่ผิวแห้งโดยเฉพาะ ทาหลังจากอาบน้ำ ก่อนนอน หากเป็นไปได้ให้ใส่ถุงเท้าตอนนอนเพื่อให้ครีมอยู่ที่เท้าตลอดคืน
2 . ขัดผิวเบา ๆ
ใช้สครับสำหรับขัดเท้า เครื่องมือที่ช่วยในการขัดผิวเท้า หรือครีมสำหรับการขัดผิวโดยเฉพาะ ขัดผิวอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อขัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป
3 . ดูแลทำความสะอาดเท้าสม่ำเสมอ
ในชีวิตประจำวัน เราเหยียบพื้น เหยียบอะไรต่าง ๆ มากมาย ซึ่งบริเวณเท้านี้เองก็เป็นบริเวณหนึ่งที่มีแบคทีเรียสะสมเยอะที่สุดบริเวณหนึ่งของร่างกาย หลังจากอาบน้ำทุกวัน ควรทำความสะอาดเท้าด้วยสบู่และน้ำอย่างอ่อนโยนและเช็ดให้แห้งสม่ำเสมอ
4 . หากออกกำลังกาย ยิ่งต้องทำความสะอาด
เปลี่ยนถุงเท้าทุกครั้ง ไม่ใส่รองเท้าคู่เดิมทุกครั้งที่ออกกำลังกาย และรองเท้าทุกคู่ควรมีช่องระบายอากาศเพื่อให้อากาศถ่ายเท ลดโอกาสการเกิดฮ่องกงฟุตได้ดีมากขึ้น และอย่าลืมทำความสะอาดเท้าหลังออกกำลังกายทุกครั้ง
5 . อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะการขาดน้ำจะทำให้ผิวแห้ง โดยเฉพาะผิวเท้า
การที่ร่างกายขาดน้ำ นอกจากจะทำให้ผิวแห้งแล้ว ก็ทำให้เสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรกได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น การดื่มน้ำในปริมาณที่พอเหมาะทุกวัน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพื่อแก้ปัญหาเท้าลอก ผิวแห้ง และเป็นวิธีป้องกันฮีทสโตรกได้ดีวิธีหนึ่ง
เท้าลอกแก้ได้ พบแพทย์แก้ง่ายสุด
เพราะหลายคนมีปัจจัยการเกิดอาการเท้าลอกไม่เหมือนกัน บางคนอาจมาจากอาการแพ้ บางคนอาจมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ บางคนก็อาจจะแค่ผิวแห้งเฉย ๆ เพราะฉะนั้น การพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยที่มาของภาวะอาการเท้าลอกจะเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด และอาจเห็นผลไวที่สุดด้วยเช่นกัน
อ่านบทความเพิ่มเติม :
อายุ 50 อยากมีผิวพรรณเปล่งปลั่ง ผิวอ่อนเยาว์ ต้องดูแลอย่างไร
8 ประโยชน์ของมะเขือเทศ ดีต่อผิว กินวันละกี่ลูก กินตอนไหนดี
7 ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ผลไม้บำรุงผิว เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน