เห็ดหูหนู มีสรรพคุณเหมือนยา
เห็ดหูหนู เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นอาหารคู่บ้านคู่เมืองของประเทศจีน นอกจากเป็นอาหารแล้วก็เป็นเหมือนยาชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณหลายอย่างที่ดีต่อสุขภาพเห็ดชิตาเกะหรือเห็ดหอม เราจะเห็นเห็ดหูหนูอยู่ในหลายเมนู ที่สามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้ในแทบจะทุกจานอาหาร แล้วเห็ดหูหนู ประโยชน์ของมันมีอะไรบ้าง มีที่มาอย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วโลก
ที่มาของเห็ดหูหนู
เห็ดหูหนู (Wood ear mushroom) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Auricularia auricula-judae มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานและมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะในประเทศจีนที่มีการใช้เห็ดหูหนูมาปรุงเป็นอาหารอย่างหลากหลายรวมถึงการใช้เห็ดหูหนูเป็นยามาอย่างยาวนาน
เดิมที เห็ดหูหนูมักเกิดขึ้นในป่า เติบโตบนเนื้อไม้ที่ตาย หรือเกิดขึ้นในบริเวณที่เน่าเปื่อยของต้นไม้หลายชนิด และมักเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ชื้นและเขตอบอุ่น เมื่อเวลาผ่านไป ความนิยมและความต้องการเห็ดหูหนูก็เพิ่มมากขึ้น และได้มีการเพาะปลูกเห็ดหูหนูมากขึ้นเพื่อสนองความต้องการคนผู้คน
เนื่องจากอาหารจีนและวัฒนธรรมการทำอาหารจีนเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นจากทั่วโลก ทำให้เห็ดหูหนูได้รับความนิยมจากทั่วโลกด้วยเช่นกัน โดยประเทศที่นิยมรับประทานเห็ดหูหนูก็มีหลากหลายประเทศ ทั้งประเทศญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน และเริ่มขยายไปอยู่ในเมนูอาหารทั่วโลก
เราจะเห็นเห็ดหูหนูอยู่ในเมนูซุป เมนูผัด และอีกหลายเมนูที่ขึ้นชื่อของอาหารจีน นอกจากนี้ ก็เป็นอาหารอีกอย่างที่ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกเห็ดหูหนูว่า คิคุราเกะ (Kikurage) ถูกใช้ในหลากหลายเมนูเช่นกัน
ประโยชน์ของเห็ดหูหนู มีอะไรบ้าง?
เห็ดหูหนูมีประโยชน์ที่หลากหลาย ช่วยในเรื่องของสุขภาพหัวใจ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย เสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยให้สุขภาพภาพทางเดินอาหารดีขึ้น เป็นอาหารควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นอาหารควบคุมน้ำหนัก
ช่วยในเรื่องของสุขภาพหัวใจ
ในเห็ดหูหนูจะมีไฟเบอร์สูง ซึ่งไฟเบอร์นี้จะเข้าไปช่วยในเรื่องของการลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยลดไขมันเลว (Low Density Lipoprotein : LDL) ในร่างกาย ไฟเบอร์ที่เข้าไปลดไขมันเลว จะทำให้สุขภาพและระบบการทำงานของหัวใจดีขึ้น นอกจากนี้ เห็ดหูหนูยังเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน B และสารประกอบสำคัญอย่างโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) ที่มีส่วนช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้นเช่นกัน
มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย
เห็ดหูหนูมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด อย่างโพลีแซคคาไรด์และฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ จะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อาจลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังได้อย่างโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคไขข้ออักเสบ นอกจากนี้ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมได้ด้วยเช่นกัน มีการศึกษาว่า การนำเห็ดไปต้ม อาจสามารถเสริมฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดียิ่งขึ้นด้วย
เสริมระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
โพลีแซคคาไรด์ที่พบได้ในเห็ดหูหนูมีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งช่วยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ มีการศึกษาออกมาว่า โพลีแซคคาไรด์เหล่านี้อาจเสริมการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันบางชนิด และอาจเพิ่มกลไกป้องกันของร่างกายต่อการติดเชื้อ ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเซลล์ที่ตายไปแล้วหรือกำลังจะตาย
ช่วยให้สุขภาพทางเดินอาหารดีขึ้น
เห็ดหูหนู มีพรีไบโอติก ซึ่งเป็นไฟเบอร์ชนิดหนึ่งอยู่ในรูปของเบต้ากลูแคน (Beta glucans) ไฟเบอร์เหล่านี้เป็นเส้นใยที่ไม่สามารถย่อยได้ เข้าไปส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดที่ดี (โปรไบโอติก) ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากต่อสุขภาพทางเดินอาหาร ปรับปรุงสุขภาพการเผาผลาญให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันในทางเดินอาหารได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เห็ดหูหนูเป็นอาหารที่มีกากใยสูงหรือไฟเบอร์สูงอย่างไฟเบอร์ไม่ละลายน้ำ (Insoluble fiber) ที่ช่วยรักษาสุขภาพทางเดินอาหารและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในทางเดินอาหารได้ด้วย
เป็นอาหารควบคุมน้ำหนัก
เนื่องจากเห็ดหูหนูมีแคลอรี่ต่ำและมีปริมาณไฟเบอร์ที่สูง ทำให้เห็ดหูหนูเป็นส่วนเสริมที่ดีในการรับประทานอาหารให้มีสมดุลมากยิ่งขึ้น และอาจเป็นอาหารประเภทหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการเป็นเห็ดลดน้ำหนักด้วยเช่นกัน
ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
หลายคนก็มีความกังวล โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ว่าการรับประทานเห็ดหูหนู จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งหรือเปล่า มีการศึกษาออกมา ว่าสารประกอบหลายอย่างในเห็ดหูหนู มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่การศึกษาอาจจะยังไม่เจาะลึกมากนัก ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประกอบการตัดสินใจ
การรับประทานเห็ดหูหนู มีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกาย และรสชาติก็ถูกปากเมื่อเอาไปปรุงเป็นอาหารหลากหลายเมนู แต่การรับประทานเห็ดหูหนู หากมีประวัติแพ้เห็ดมาก่อนก็ควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ การปรุงเห็ดหูหนูให้อร่อย หากเตรียมการไม่ดี ก็อาจทำให้เห็ดหูหนูเหนียวและดูไม่น่าทาน ควรนำไปแช่น้ำก่อนการปรุงเพื่อให้เห็ดไม่เหนียวจนเกินไป และมีรสชาติดีขึ้นยิ่งขึ้น พร้อมนำไปทำได้หลากหลายเมนู
อ่านบทความเพิ่มเติม :
เห็ดหลินจือ ประโยชน์มากมาย สรรพคุณทางยามาก วงการแพทย์ยอมรับ
เส้นโซบะ ประโยชน์มากมายที่มากกว่าความอร่อย
มันหวานญี่ปุ่น ประโยชน์ 7 อย่างที่ดีต่อร่างกายพร้อมความอร่อย