มีหลากหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้สูงอายุมีน้ำหนักลดลง ทั้งการเผาผลาญที่ช้าลง ร่างกายย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารไม่มีประสิทธิภาพเหมือนแต่ก่อน รวมถึงโรคต่าง ๆ ที่ทำให้รับประทานอาหารได้ยาก อย่างโรคข้อเข่าเสื้อมที่ต้องเลี่ยงอาหารหลายประเภท นอกจากนี้ เรื่องของภาวะเครียดในผู้สูงอายุ และการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุก็สามารถทำให้น้ำหนักลดลงได้เช่นเดียวกัน และการที่ผู้สูงอายุมีน้ำหนักน้อยก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้หลายทาง เพราะฉะนั้น การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่พอดีก็เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้สูงอายุ แล้วการทานอาหารเพิ่มน้ำหนัก ผู้สูงอายุ ทำไมถึงสำคัญ กินอย่างไรให้สุขภาพดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
ทำไม การเพิ่มน้ำหนักสำหรับผู้สูงอายุถึงเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัว บางคนมีน้ำหนักมากก็อาจต้องลดน้ำหนัก และหลายคนก็มีน้ำหนักน้อยจนต้องเพิ่มน้ำหนัก การที่ผู้สูงอายุมีน้ำหนักน้อยก็อาจทำให้เกิดปัจจัยหลาย ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ซึ่งถ้าหากไม่เพิ่มน้ำหนักมาให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ ก็สามารถทำให้ร่างกายขาดสารอาหารหรือเกิดภาวะทุพโภชนาการ และเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน
ปัญหานี้อาจเกิดจากปริมาณแคลอรีในแต่ละวันไม่เพียงพอ อาจเป็นเพราะยิ่งอายุเยอะแล้วทำให้ความอยากอาหารมีไม่เยอะเมื่อเทียบกับอายุที่มากขึ้น การแก้ปัญหาน้ำหนักน้อยในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญและต้องดูแลเป็นพิเศษ วิธีหนึ่งคือการทานอาหารเพิ่มน้ำหนัก ผู้สูงอายุนั่นเอง
เพราะอะไร ที่ทำให้ผู้สูงอายุเพิ่มน้ำหนักได้ยาก
ปัญหาหลัก ๆ ที่ทำให้ผู้สูงอายุมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควร คือ
ประสิทธิภาพในการเผาผลาญที่ลดลง
เมื่ออายุมากขึ้น ระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกายจะเสื่อมลงตามอายุ และระบบการเผาผลาญในร่างกายก็เช่นกัน ซึ่งส่งผลกระทบด้านการดูดซับสารอาหารภายในร่างกาย รวมถึงการทำให้ความรู้สึกหิวลดน้อยลงด้วย เหตุผลนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่พอดีค่อนข้างลำบาก
รับประทานอาหารไม่เพียงพอ แคลอรี่ไม่เพียงพอ
แคลอรี่ไม่เพียงพอในชีวิตประจำวัน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เป็นเพราะรับประทานอาหารไม่เพียงพอ อาจเป็นเพราะอายุที่มากขึ้น ทำให้รู้สึกหิวน้อยลงจนไม่อยากรับประทานอาหาร หรือเลือกที่จะทานน้อยเอง
ประสาทรับรสเสื่อมถอย
การรับรสในผู้สูงอายุก็เสื่อมถอยด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้สูงอายุมีความอยากอาหารน้อยลง อีกปัจจัยหนึ่งคือรสชาติอาหารที่จำเจ เพราะผู้สูงอายุมักจะมีโรคบางอย่างที่ต้องควบคุมโภชนาการ ห้ามรับประทานอาหารบางอย่างที่มีส่วนผสมหรือวัตถุดิบบางอย่างที่เคยทานได้มาก่อน ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่อยากอาหารจนน้ำหนักลงลด
ปัญหาที่มาจากสุขภาพและโรคประจำตัว
ปัญหาสุขภาพและโรคบางโรคก็อาจเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อยหรือต้องควบคุมอาหารเยอะจนทำให้ไม่อยากอาหาร เช่นสุขภาพภายในช่องปากที่อาจส่งผลกระทบด้านการบดเคี้ยวจนทำให้รู้สึกปวดฟัน หรือโรคเบาหวานที่ต้องควบคุมการรับประทานอาหารให้ไม่ส่งผลกระทบต่อโรคอย่างเคร่งครัด
ปัญหาด้านสุขภาพจิต
ความรู้สึกเครียด วิติกกังวลหรือซึมเศร้า ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุอยากอาหารน้อยลง รวมถึงทำให้ผู้สูงอายุ นอนไม่หลับด้วยเช่นกัน
เมื่อผู้สูงอายุต้องเพิ่มน้ำหนัก สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง
ผู้สูงอายุมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ด้วยปัญหาข้างต้นที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหานี้ มีวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้นอย่างไรบ้าง
- จัดเตรียมอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้เหมาะกับโภชานาการของผู้สูงอายุ เน้นไปที่อาหารประเภทต้มเพื่อการบดเคี้ยวและการย่อยอาหารง่ายที่ง่ายขึ้น ร่างกายดูดซับอาหารได้ดียิ่งขึ้น
- แบ่งมื้อการรับประทานอาหารใหม่ อาจเพิ่มเป็น 4 มื้อ แต่ลดจำนวนอาหารลงเพื่อให้ร่างกายสามารถรับปริมาณแคลอรี่ได้อย่างเพียงพอ
- เลือกอาหารที่สะอาด มีแคลอรี่ดีต่อสุขภาพ อาหารที่มีคุณภาพนั้นสำคัญมากในผู้สูงอายุ ควรบริโภคอาหารที่สะอาด ถูกหลักอนามัย
- เลือกเปลี่ยนเมนูอาหาร เปลี่ยนรสชาติของอาหาร เพื่อให้อาหารไม่จำเจจนเกินไป จะทำให้มีความอยากอาหารมากขึ้น แต่ก็ต้องเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบ 5 หมู่เช่นเดียวกัน และต้องคำนึงถึงโรคประจำตัวเป็นอันดับแรกว่าต้องเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้าง
- หากผู้สูงอายุมีอาการหรือปัญหาด้านสุขภาพจิต สิ่งที่ทำได้คือการหากิจกรรมระหว่างรับประทานอาหาร กับครอบครัวหรือกับเพื่อนฝูง ก็สามารถช่วยให้อยากอาหารเพิ่มมากขึ้น
อาหารเพิ่มน้ำหนัก ผู้สูงอายุ 5 ประเภท มีอะไรบ้าง?
1. อาหารประเภทต้ม
อาหารต้ม เป็นอาหารที่ย่อยง่าย เหมาะกับระบบย่อยอาหารของผู้สูงอายุ เช่น ข้าวต้ม (ข้าวต้มปลา) ผักต้ม เกี๊ยวน้ำ ซุปต่าง ๆ ไข่ต้ม โจ๊ก ต้มเลือดหมู
2. อาหารประเภททอด
อาหารทอดสำหรับผู้สูงอายุ ควรใช้วัตถุดิบที่สามารถย่อยได้ง่ายอย่างเนื้อปลา เป็นเนื้อที่สามารถย่อยได้ง่ายและให้โปรตีนที่มีคุณภาพ เช่น ปลาทอด แต่ถ้าหากเป็นไป การเลี่ยงของทอดจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะไขมันที่มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจได้
3. อาหารประเภทแกง
อาหารประเภทแกง ก็เป็นอาหารที่สามารถย่อยได้ง่ายเช่นเดียวกัน อย่างเช่น แกงส้ม แกงจืด แกงจับฉ่าย
4. อาหารประเภทผัด
ในอาหารประเภทผัดจะมีการใช้วัตถุดิบชนิดผักเป็นหลัก อย่างเช่น ผัดผักบุ้ง ผัดกุ้ยช่าย ผัดไข่ ผัดมะเขือ
5. อาหารประเภทอื่น ๆ
เช่น ผลไม้ที่มีกรดยูริกต่ำ ของหวานที่น้ำตาลไม่เยอะจนเกินไป โยเกิร์ตสูตรไม่มีน้ำตาล ขนมปังโฮลวีท นม ข้าวโอ๊ต ไข่ตุ๋น ถั่วเขียวต้ม ฟักทอง กล้วยบวชชี
ผู้สูงอายุอ่อนเพลียไม่มีแรง หรือผู้สูงอายุที่มีปัญหากับการรับประทานอาหารก็มักจะมีปัญหาด้านสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บตามมาด้วย ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ทั้งทางด้านอายุ โรคประจำตัว ที่ทำให้ร่างกายเสื่อมถอย แต่การดูแลน้ำหนักในผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ วิธีการแก้ปัญหาก็มีหลากหลาย การทานอาหารเพิ่มน้ำหนัก ผู้สูงอายุที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น ก็เป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน
อ่านบทความเพิ่มเติม :
ออกกำลังกายลดน้ำหนัก ผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น