ปัญหา ผมบาง ที่วางใจไม่ได้!! ในยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีโรคแปลก ๆ แบบคาดไม่ถึง เกิดขึ้นมากมาย ออกสื่อหนังสือพิมพ์ก็เยอะ ได้ยินจากเพื่อนใกล้เคียงก็แยะ วันก่อนดิฉัน ได้มีโอกาสได้เข้าร่วมสัมมนาในคลาสผู้บริหารระดับสูงคลาสหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นคลาสผู้บริหารจากทั่วประเทศมาอบรมด้วยกันเกือบ 200 ท่าน ทุกครั้งที่ร่วมอบรมสัมมนาหลักสูตรใดก็ตาม สิ่งหนึ่ง ที่เห็นเป็นภาพชินตาคือ ผู้บริหารส่วนใหญ่ที่มีอายุประมาณ 40 ขึ้นมักมีปัญหา “ผมบาง” !
ปัญหาผมร่วงน่าจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับหลายคน ซึ่งแน่นอน ผมร่วงไม่ได้กระทบต่อร่ายกายโดยตรง แต่มีผลกระทบค่อนข้างมากกับสภาพจิตใจ ความเชื่อมั่น บุคลิกภาพ ขาดความมั่นใจ จะออกจากบ้านแต่ละครั้ง สิ่งที่มักทำให้เสียเวลาที่สุด หนีไม่พ้น เรื่อง “ผม” นี่หล่ะ จะเซททรงไหน ก็ไม่มั่นใจสักที ครั้นจะสระผม ผมก็ร่วงอีก แม้สางผมเบาเบา ผมก็ร่วง และถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ดูแลแบบถูกวิธี อาจจะหัวล้านไปเลยก็ได้
แบบไหนถึงเรียกว่า “ ผมบาง ผมร่วง”
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โดยปกติผมของคนเรามีประมาณ 80,000 – 1,200,000 เส้น งอกยาวขึ้นประมาณวันละ 0.35 มิลลิเมตร และมีอายุนาน 2 – 6 ปี ซึ่งปกติจะมีผมร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ไม่เกินวันละ 30-50 เส้น ผมร่วงพบได้ทั้งเพศหญิง และ เพศชาย และส่วนใหญ่มักเกิดจากเพศชายมากกว่า เพราะอะไร ? เนื่องจากรากผมมีความไวต่อฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ทำให้เส้นผมมีอายุสั้นกว่า และปกติเส้นผมที่เกิดใหม่จะมีขนาดเล็ก และบางลง ส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะ ส่วนผู้หญิงมักแสดงอาการช่วงหลังวัยหมดประจำเดือน (ดิฉันเองยังหวั่น ๆ อยู่เหมือนกัน)
แล้ว “ผมบาง” เกิดจากอะไรหล่ะ ?
การที่เราสามารถทราบถึงสาเหตุทำทำให้ ผมร่วงผิดปกติได้ ถือเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะเอาเข้าจริง ๆ แล้ว ผู้ที่มีปัญหานี้ สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของผมบาง และลดการร่วงของเส้นผมได้ เรามาดูพร้อม ๆ กัน สาเหตุเกิดจากอะไร :-
-
ฮอร์โมน
เป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในเพศชาย และเพศหญิง ที่มีการผลิตขึ้นในร่างกายในระดับผิดปกติ
-
พันธุกรรม
ถ้าครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ ศีรษะผมร่วง ล้าน เราจะมีแนวโน้มผมร่วงตามไปด้วย
-
การใช้ยา
ข้อนี้ต้องพึงระวังค่ะ เพราะยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วงชั่วคราว ไม่ว่าจะเป็น ยาเคมีบำบัดใช้รักษาโรคมะเร็ง ยาคุมกำเนิดบางชนิด เป็นต้น
-
การทำผม
อันนี้จะเห็นภาพชัดมาก ไม่ว่าจะเป็นการย้อมผม ดัดผม กัดสีผม หรือการใช้ความร้อนกับผมมากเกินไป หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนยาสระผม (บางยี่ห้อ) ต่างเป็นเหตุผลให้ผมอ่อนแอและหลุดร่วงง่าย จนกลายเป็นสาเหตุของผมร่วงในที่สุด
-
ปัญหาสุขภาพ
ไม่ว่าจะเป็นโรคภูมิคุ้มกันตัวเองบกพร่อง โรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคไทรอยด์ โรคเอสแอลอี โรคตับ โรคไต ฯลฯ
-
ความเครียด
พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด ความเครียดจะกระตุ่นให้อาการผมร่วงมากขึ้น (จริง ๆ แล้วความเครียด เป็นสาเหตุเกือบทุกโรคเลยนะคะ)
-
สาเหตุอื่นๆ
เช่น ภาวะการณ์ตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และความเครียดสะสม อาจทำให้ผมหลุดร่วงจนบาง ลงชั่วระยะเวลาหนึ่ง
เมื่อเราทราบแบบนี้แล้ว แล้วมีทางเลือกอะไรบ้าง ที่ช่วยลดปัญหา “ผมร่วง”
ปัจจุบันมีวิธีการบำรุงรากผม เส้นผม อย่างเป็นธรรมชาติมากมาย (อยู่หลายยี่ห้อ ขออนุญาตไม่เอ่ยแบรนด์) แต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้าม คือ เรื่องอาหาร หรือการรับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยให้บำรุงเส้นผม ลดการขาดหลุดร่วง และยังช่วยให้ผมเงางามอีกด้วย
วิธีช่วยลดปัญหาผมร่วง
-
โปรตีน
จับมาอยู่ข้อต้น ๆ เลย เพราะการได้รับโปรตีนที่เพียงพอมีผลสำคัญอย่างมากกับการหลุดร่วงของเส้นผม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วง จึงควรเลือกทานเนื้อสัตว์ ขอไม่ติดมัน เนื้อปลาต่าง ๆ พร้อมทั้งอาหารจำพวกถั่วเหลือง อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นน้ำเต้าหู้ (ไม่หวาน) เป็นต้น
-
อาหารที่มีโอเมก้า 3
(เมื่อฉบับที่แล้ว ดิฉันได้เขียนเรื่อง 7 ปลาไทยที่มีโอเมก้า 3 สูง สามารถคลิ๊กตามอ่านย้อนหลังได้ค่ะ) เพราะสารอาหารโอเมก้า 3 เป็นส่วนสำคัญต่อเส้นผม เล็บ ผิวหนัง พบได้มากที่ ปลาแซลมอน ปลาทู รวมถึงถั่วอัลมอนด์อีกด้วย
-
อาหารที่มีธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี
ถือเป็นแร่ธาตุที่ดีต่อเส้นผล โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นตับ หอยนางรม เหล่านี้ถือเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก และสังกะสี จำนวนมาก (แต่ทานต้องระวังปริมาณนิดนึง เพราะจะกระทบต่อระดับคอเลสเตอรอล เช่นกัน) ส่วนเจ้าตัวแมกนีเซียม พบได้มากในผักผลไม้ เมล็ดถั่วต่าง ๆ ธัญพืช ข้าวโอ๊ต ถั่วแดง ถั่วอัลมอนด์ เป็นต้น
มาถึงย่อหน้าสุดท้ายกันแล้ว ก็อยากฝากคุณผู้อ่านทุกท่านว่า “ผมร่วง” อาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย (อาจไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น) และหากเกิด ผมร่วง แบบชนิดตกอกตกใจ ระหว่างอาบน้ำสระผม หรือ แปรงผมประจำ ร่วงเป็นกระจุก หรือ ร่วงผิดปกติ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสาเหตุให้แน่ชัด รักษาให้ตรงจุด เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้น ยุคนี้ โรคแปลก ๆ เกิดขึ้นเยอะเชียวค่ะ พบกันฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
(เครดิต : กรมการแพทย์)
#KINN_Biopharma
www.kinn.co.th
ผู้หญิงวัยทอง อาการเข้าวัยทอง ควรเน้นอาหารแบบไหน ต้องเลี่ยงอะไร ?
ผู้สูงอายุกับ โรคความดันโลหิตสูง ควรรับมืออย่างไร ?
คอเลสเตอรอลกับคนผอม รู้มั๊ย..คนผอม ก็คอเลสเตอรอลสูงได้ (นะ) !