วันก่อน ได้มีโอกาสร่วมฟังบรรยายของท่านรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วุฒิศิริ วีรสาร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุมพฏ คัคนาพร จากภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ท่านได้กล่าวถึงการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีรักษา อย่างน่าสนใจทีเดียว เพราะแน่นอน ไม่มีใครอยากเป็นโรคร้ายชนิดนี้ แต่ถ้าแจ๊คพ๊อตเจอกับตัวเองแล้วหล่ะ เราควรดูแลรักษาอย่างไร ?
เพราะเมื่อนึกถึงรังสี คงต้องย้อนกลับไปตอนที่พวกเรายังเด็ก ๆ ถ้ายังจำกันได้ดี เราได้เรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์และเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 มากันบ้าง โดยเฉพาะเมื่อนึกถึงเรื่องราวสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งที่นึกถึงอันดับแรกในความคิดเรา ก็น่าจะเป็นเรื่องระเบิดปรมาณูที่ถล่มเมืองฮิโรชิมา และ เมือง นางาซากิ ซึ่งทำให้ประเทศญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามในครั้งนั้น ผลของระเบิดในครั้งนั้น ส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นหลายแสนคนเสียชีวิตทันที ! และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนอีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังมีผู้เสียชีวิตภายหลังการระเบิด ด้วยเพราะได้รับกัมมันตภาพรังสี และล้มป่วยเป็นมะเร็งอีกเป็นจำนวนมากของประชากรที่อาศัยในบริเวณ 2 เมืองดังกล่าว ซึ่งเกิดมาจากบรรพบุรุษที่ได้รับรังสี ส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันอีกด้วย ! ทำให้ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการศึกษาเกี่ยวกับรังสีมากที่สุดในโลก…
มะเร็ง อยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด
ในยุคนี้ ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีจะล้ำหน้ามากขนาดไหน โรคร้ายต่าง ๆ ดูเหมือนก้าวล้ำเข้าสู่มนุษย์เรามากขึ้นเช่นกัน ไม่ยกเว้นแม้แต่ “โรคมะเร็ง – Cancer” ที่คนวัยทำงานต่างก็ให้ความสนใจกันมากขึ้น อาจจะมีบางท่านยังไม่ทุกข์ร้อน เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่น่าเป็นกันง่าย ๆ แต่ทว่า โรคมะเร็งนั้นอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด
มะเร็ง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง ของคนไทย (มานานหลายปีแล้ว) โดยโรคมะเร็งที่พบบ่อย จัดเป็น 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งรังไข่ และมะเร็งกระเพาะอาหาร สิ่งที่น่าแปลกเกี่ยวกับคนที่เป็นมะเร็ง ก็คือ ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง มักจะถามหมอที่รักษาว่า “เป็นแล้วจะหายไหม” ในขณะที่ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่เคยมีคำถามนี้ เพราะอะไร ? เพราะโรคหัวใจเป็นแล้วรักษา “ไม่หาย” แต่ถ้าป่วยเป็นโรคมะเร็ง ถ้าเป็นแล้ว ไม่รักษา ก็ไม่หายแน่นอน..
มะเร็ง กับ การรักษา
- การผ่าตัด
สมัยก่อน เมื่อป่วยเป็นมะเร็ง หมอมักรักษาด้วยการผ่าตัด และแน่นอนคนไข้ มักจะต้องถามหมอว่า “ผ่าตัดแล้วมะเร็งจะถูกตัดไปหมดไหม ? มีอันตรายจากการผ่าตัดไหม ? อวัยวะที่เหลือหลังการผ่าตัดจะยังคงทำหน้าที่ได้เหมือนเดิมหรือเปล่า ? และจริง ๆ แล้ว การที่แพทย์ใช้วิธีการผ่าตัด นั่นก็คือ การกำจัดมะเร็งออกไปให้หมด และอวัยวะนั้น ๆ ก็ยังคงสามารถทำหน้าที่ได้อย่างปกติ
- การใช้รังสีรักษา
การใช้รังสีรักษา เพื่อทำให้มะเร็งมีขนาดเล็กลง และอาจไม่ต้องผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการใช้รังสีรักษา หรือ การผ่าตัด จะทำก่อน-หลัง แพทย์จะทำการวินิจฉัยอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะใช้รังสีรักษาควบคู่กับการผ่าตัดก็เป็นได้
- การใช้ยามะเร็ง
แพทย์จะวินิจฉัย ใช้กรณีที่มะเร็งแพร่กระจาย แพทย์อาจต้องใช้การให้ยา โดยการใส่สารเข้าไปในร่างกาย วิธีการรักษาแบบนี้ จึงไม่เหมือนกับ 2 ข้อแรก ที่เป็นการรักษาเฉพาะจุด โดยการใช้ยานี้ อาจทำได้โดยวิธีการฉีด หรือรับประทาน
- การใช้ Stem Cell
ถือเป็นวิธีที่ต้องมีการทำลายเซลล์เดิมที่เป็นมะเร็ง และใส่เซลล์ใหม่เข้าไป จึงต้องระมัดระวังในเรื่องการติดเชื้อระหว่างการดำเนินการ
- พรีซิชั่น เมดดิซีน (Precision Medicine)
ถือเป็นวิธีใช้รักษาเฉพาะกับโรค และการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล และในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษายังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยเป็นส่วนใหญ่
การรักษาโดยฉายรังสี
รังสีเอ๊กซเรย์นั้น ได้ถูกค้นพบมากว่า 100 ปี โดยท่าน Wilhelm Conrad Rontgen นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ส่วนนักฟิสิกส์/เคมี ที่เราคุ้นเคยชื่อกัน ก็คือ มาดามคูรี (Marie Curie) ซึ่งเป็นผู้ที่ค้นพบรังสีเรเดียม ซึ่งใช้ในการยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง
รังสีรักษา เป็นวิธิการรักษามะเร็งที่ได้ผลดี ได้ผลดีในการรักษาโรคมะเร็ง ถือเป็นวิธีการที่ถูกใช้ในการวงการแพทย์มานานมาก หลักการของรังสีรักษา คือ การให้รังสีในปริมาณที่มากพอ ที่จะทำลายเซลล์มะเร็งได้หมด และทำลายอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงให้น้อยที่สุด และรังสีที่ใช้คือ รังสีเอ๊กซ์ และ รังสีแกมมา
ในการทำลายเซลล์มะเร็ง สามารถทำลายได้ใน 2 วิธี กล่าวคือ ทำให้เซลล์มะเร็งตายในทันที และ ทำให้เซลล์มะเร็งสูญเสียความสามารถในการแบ่งตัว และด้วยความที่การฉายรังสี เพื่อรักษานั้น เป็นรังสีที่มีความถี่สูง ระดับเมกกะโวลล์ เราจึงไม่รู้สึกอะไร ขณะที่ได้รับรังสีนั้น เทียบกับสมัยยุคก่อน ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสี จะออกอาการดำเกรียม มีแผลผุพองในระยะแรก แต่ในปัจจุบัน วิวัฒนาการล้ำสมัย ความก้าวหน้าเทคโนโลยีช่วยให้การทะลุทะลวงดีขึ้น รังสีสามารถลงลึกใต้ชั้นผิวหนัง จึงทำให้เกิดผลข้างเคียงลดน้อยลงไปมาก…
การปฏิบัติตัวหลังการฉายรังสี
โดยปกติแล้ว จะมีทีมรังสีแพทย์จากโรงพยาบาล มาให้คำแนะนำกับผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังฉายรังสี เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจและคลายความวิตกกังวล เพราะร่างกายคนเรานั้น สามารถจะซ่อมแซมตัวเอง และฟื้นคืนได้ภายใน 1-3 เดือน หรือในผู้ป่วยบางราย อาจใช้เวลาถึง 6 เดือน ถึงกลับมาแข็งแรงตามปกติ ดังนั้น ผู้ป่วยควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เพื่อที่จะได้ไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โดยการรับประทานให้ได้ครบ 5 หมู่ อาหารต้องสุกสะอาด ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสี ควรเลี่ยงอาหารจำพวกหมักดอง เนื่องจากอาจทำให้ท้องเสียได้ และควรดื่มน้ำ 10 – 12 แก้วต่อวัน เพื่อลดอาการเจ็บคอ และช่วยในการขับถ่าย พักผ่อนให้เต็มที่ และไปพบแพทย์ตามที่นัด
อย่างที่มีคำกล่าวว่า “สุขภาพกาย รักษาได้ แต่สุขภาพใจ สำคัญสุด” ถึงแม้การฉายรังสีนั้นสามารถรักษามะเร็งได้ทั้งร่างกาย แต่..ไม่สามารถรักษาสุขภาพใจของเราได้นะคะ ดังนั้น หากป่วยเป็นมะเร็ง และได้รับการฉายแสงรักษาแล้ว อย่าลืม ดูแลสุขภาพจิตใจด้วยนะคะ ต้องไม่เครียด ไม่วิตกกังวล ทำจิตใจให้สบาย นั่งสมาธิ สวดมนต์ จิตใจเราจะได้มีพลัง มีกำลังใจ พร้อมกับร่างกายที่แข็งแรงค่ะ
เย็นวันนั้น ดิฉัน พร้อมผองเพื่อน ๆ ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการฉายแสงรักษาโรคมะเร็งมาแบบเต็มอิ่มครบทุกมิติ รูปภาพ แสงสี (อาจารย์จัดเต็มเหมือนเดิม) ขอขอบพระคุณท่าน รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วุฒิศิริ วีรสาร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุมพฎ คัคนาพร สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องของการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยรังสีรักษา วันนี้ กลางวันนี้ จะทานอะไร คงต้องพิจารณาให้มากขึ้น เพราะ “You Are what you eat” นั่นเอง ดูแลสุขภาพกันนะคะ พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
(เครดิต : ท่าน รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วุฒิศิริ วีรสาร
และผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุมพฎ คัคนาพร ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล,ดร.ปิยวดี โขวิฑูรกิจ)
#KINN_Biopharma
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
มะเร็งคือธรรมชาติ หมายถึงอะไร? และควรดูแลตัวเองอย่างไร
กินผักผลไม้ยังไง ให้ดีต่อ (หัว) ใจ
5 ปัจจัยเสี่ยง โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งร้ายที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย