การเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ อาจจะไม่นานเกินวัย … เนื่องจากวันก่อนดิฉัน ได้เคยลงโพสในเฟสบุคเพจ www.kinn.co.th ไว้ว่าอีกไม่เกิน 2 ปี สังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยสมบูรณ์ ปัจจุบันนี้ เรามีผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป อยู่ประมาณ 10.3 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 15.5% และแน่นอน ด้วยสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคโดยภาพรวมเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค ผู้ผลิตสินค้า การทำธุรกิจ ที่ต่างมุ่งเน้นไปที่ Aging Society
สังคมผู้สูงอายุ ต้องกังวลเรื่องอะไร?
ปัญหาที่น่าจะเป็นห่วงมากที่สุด หนีไม่พ้นปัญหาในเรื่องการเงิน เพราะอะไร ? เพราะโดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีเงินออมไม่พอใช้ในวัยเกษียณ ไหนจะค่ากินอยู่ ไหนจะค่าหยูกยา ซึ่งมีผลสำรวจวิจัยจากหลายแหล่งแสดงถึงตัวเลขตั้งแต่ 60-80% จากกลุ่มตัวอย่าง ถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก และด้วยอายุที่มากขึ้น การรับความเสี่ยงในการลงทุนต่าง ๆ ย่อมลดน้อยลง ครั้นเงินฝากที่เก็บในธนาคารตั้งแต่สมัยหนุ่มสาวในรูปแบบเงินฝากธนาคารเป็นหลัก ก็ดูเหมือนจะมีมูลค่าลดลงด้วยสาเหตุเงินเฟ้อ !
เมื่อเราทราบกันอย่างนี้ แน่นอนค่ะ ถ้าผู้สูงอายุเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยา การดูแล การรักษา ย่อมต้องพึ่งพาเงินจากลูกหลานเป็นหลัก ฉะนั้น การออมเงินโดยการลงทุนในสินทรัพย์ตามความเสี่ยงที่เหมาะสมกับสถานะของผู้สูงอายุ ด้วยช่องทางของกองทุนรวม ตราสารหนี้ ดูเหมือนจะเข้ามามีบทบาทในการบริหารเงินในวัยเกษียณ ดังนั้น ถ้าผู้สูงอายุ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในกองทุนนั้น ๆ ได้ นั่นหมายความว่า โอกาสที่จะมีเงินออมเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายย่อมจะดีขึ้นตามมาด้วย
แล้วปัจจัยอะไรบ้างหล่ะ ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ
องค์ประกอบที่จะมีผลต่อสุขภาพของวัยผู้ใหญ่มีมากมายและซับซ้อน แต่สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ง่าย ๆ 4 องค์ประกอบ ด้วยกัน คือ
1) อาหาร – โภชนาการ (Diet)
1.1 การรับประทานสารอาหารมากเกินไป การรับประทานอาหารที่มีไขมัน คลอเลสเตอรอล น้ําตาล และน้ําเกลือมากเกินไป มักนำไปสู่ความอ้วน ความดันโลหิตสูง โครงสร้างไขมันสูง ทําให้เกิด ภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นลม และโรคอื่นๆ
1.2 การขาดแคลนสารอาหาร การรับประทานอาหารแปรรูป อาหารไม่สด การกินจุบกินจิบ ผู้ที่ดื่มกาแฟหรือชามากเกินไป จะมักมีอาการขาดวิตามิน และเกลือแร่ ตลอดจนกากใยอาหาร ซึ่งส่งผล ให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โลหิตจาง เป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย เป็นต้น ซึ่งจะ ค่อยๆ บั่นทอนสุขภาพของเราให้แย่ลง
1.3 การปรุงอาหารที่ผิดวิธี อาหารหลายชนิดที่มีประโยชนต์ต่อสุขภาพ แต่ว่ามีการปรุงอาหาร ไม่ถูกหลัก หรือไม่ถูกวิธีเช่น การย่างเกรียม ทอด หรือการย่าง จะก่อให้เกิดสารอันตราย ทําให้คุณค่า ของสารอาหารถูกทําลายไป เช่น อาหารที่ทอดจะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งส่งผลให้ เกิดปฏิกิริยาออกซิไดซ์ ไขมัน และสารก่อมะเร็ง ซึ่งจะทําให้เกิดอาการอุดตันของเส้นเลือดและทําให้อวัยวะเกิดการเสื่อมถอย หรือแม้กระทั่งก่อให้เกิดมะเร็งได้
2) วิถีชีวิต (Lifestyle)
2.1 ขาดการออกกําลังกาย
การออกกําลังกาย จะกระตุ้นการตื่นตัวและส่งผลดีต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น ทําให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ช่วยพาออกซิเจนและสารอาหารไปสู่เนื้อเยื่อ ทําให้ การขับสารพิษจากร่างกาย ใช้เวลาน้อยลง เพิ่มพูนความแข็งแกร็ง และช่วยควบคุมน้ําหนัก การขาดการออกกําลังกาย ทําให้การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ เชื่องช้าลง และทําให้ร่างกายอ่อนเพลีย ขาดพลังงาน และความแข็งแกร่ง ทําให้น้ําหนักตัวเพิ่มง่ายขึ้น
2.2 วิถีชีวิตที่ไม่สม่ำเสมอ
การนอนดึก นอนหลับไม่เพียงพอ นอนไม่หลับ การดื่มน้ําน้อย การรับประทานอาหาร หรือการขับถ่าย ไม่เป็นเวลา และความเครียด เป็นวิถีชีวิตของคนสมัยใหม่ ดังนั้น การพักผ่อนให้เต็มที่ นอนหลับให้เต็มอิ่ม ตลอดจนการดํารงชีวิตที่ดีจึงเป็นพื้นฐานในการรักษาสุขภาพที่ถูกต้อง เพราะร่างกายของเราจําเป็นต้องใช้เวลา ที่เพียงพอในการซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ที่สึกหรอจาก การดํารงชีวิตประจําวัน
3) สุขภาพจิต (Mental Health)
ความเครียด เมื่อเราอยู่ภายใต้ความกดดัน หรือความเครียด ไม่ว่าจะเกิดจากการเงิน การศึกษา หรือการสมรส ก็จะทําให้เราต้องการสารอาหารเพิ่มมากขึ้น ถ้าหากไม่ได้รับใน ปริมาณที่เพียงพอในเวลาที่เหมาะสม ก็จะทําให้มีปัญหาสุขภาพตามมา
4) สภาวะสิ่งแวดล้อม (Environmental Factor)
เกือบจะทุกพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่เต็มไปด้วยมลภาวะ เช่น ควันเสียจากรถยนต์ โรงงาน อุตสาหกรรม สารโลหะหนักในอาหารทะเล หรือยาฆ่าแมลงในผักและผลไม้ จะเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของเรา ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม และการที่เรานิยมใช้ภาชนะพลาสติก น้ํายาทํา ความสะอาด และเครื่องสําอาง อาจจะทําลายความสมดุลของฮอรโมนในร่างกายได้
แน่นอน การมาของสังคมผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวที่จะเกิดขึ้นแน่นอน เราควรมีการวางแผนครอบคลุมอนาคตทั้งในส่วนตัวเราเอง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้
พบกันใหม่ ในฉบับหน้านะคะ
#คินน์เพื่อชีวิตยืนยาวและยั่งยืน
#KINN_Biopharma
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
5 สมุนไพรจีน ยอดฮิต แนะวิธีเลือกยาจีนอย่างไร ให้ได้ผลดีที่สุด ?