นิสัยใดที่ เสี่ยงมะเร็งเต้านม ที่หลายคนต้องรู้ … วันก่อนดิฉันได้อ่านบทความของท่านรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ นรินทร์ วรวุฒิ (อาจารย์พิเศษคณะแพทย์ศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ท่านได้เขียนถึง การใช้ชีวิตไลฟ์สไตล์ของผู้หญิงในสังคมปัจจุบัน ที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว เป็นที่รับทราบกันว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านม ยังคงติดอันดับ หนึ่งในสาม ของโรคมะเร็งร้ายที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก ซึ่งมีข้อมูลประกอบ ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม มากถึงร้อยละ 39 โดยพบในช่วงอายุ 50-55 ปี มากที่สุด อีกทั้งยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลของการใช้ชีวิตของผู้หญิงในยุคปัจจุบัน เป็นตัวเร่งสำคัญ ในการเพิ่มความเสี่ยง !
ความ เสี่ยงมะเร็งเต้านม เกิดจากอะไร?
มะเร็งเต้านม เกิดจากเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติภายในเต้านม แล้วกลายเป็นเซลล์มะเร็งที่ค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น ๆ จนกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย ! จากการศึกษาพบว่า จำนวนมากกว่าร้อยละ 95 ของผู้ป่วย เป็นโรคมะเร็งเต้านม ที่สาเหตุมาจากท่อน้ำนม โดยอาจเกิดจากหลายปัจจัยเสี่ยง เช่น ฮอร์โมนเพศหญิง พันธุกรรม โดยยังมีข้อบ่งชี้ว่า ถ้าครอบครัวใดเคยเป็นมะเร็งเต้านม มาก่อน ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
อีกสาเหตุ ที่ไม่สามารถมองข้ามได้ คือ รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้หญิงยุคปัจจุบัน แต่เน้นมุ่งทำแต่งาน เพื่อตามล่าเป้าหมายในชีวิต จนลืมที่จะใส่ใจในสุขภาพตัวเอง ปล่อยปละละเลยการดูแลตัวเอง ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยง ! โดยมีดังต่อไปนี้ :-
นิสัย เสี่ยงที่ต้องเลี่ยง
1.ขาดการออกกำลังกาย
ซึ่งได้มีงานวิจัยศึกษามาแล้วว่า การออกกำลังกายอย่างน้อย อาทิตย์ละ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม ได้อีกด้วย
2.รับแรงกดดันเผชิญความเครียด
ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจที่ต้องปรับตัวตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ Disrupt ธุรกิจ, ภาวการณ์ตกงาน ล้วนแล้วแต่เป็นความกดดัน เพิ่มความวิตกกังวล จนลามไปส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และสภาพจิตใจด้วย
3.ขาดการพักผ่อน
เร่งทำงานจะดึกดื่น เพื่อให้งานเสร็จลุล่วงตามเป้าหมาย หรือ พยายามสร้างยอดขาย ปั่นยอดขายจนหามรุ่งหามค่ำ แทบจะไม่มีเวลาพักผ่อน จึงขาดการพักผ่อนที่เต็มที่
4.เน้นอาหารจานด่วน
ด้วยความเร่งรีบทุกวัน ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา อาหารจานด่วน จึงเป็นอาหารที่ตอบโจทย์ แต่ถ้าหากเรารับประทานมากเกินไป แน่นอน สิ่งที่ได้จะไม่ได้รับ คือ สารอาหารที่ไม่ครบ อีกทั้งการปรุงอาหารเน้นด้วยวิธีการทอด ใช้น้ำมันเป็นหลัก อาจทำให้ได้รับปริมาณโซเดียมสูงมาก
5.ออฟฟิศซินโดรม
นั่งทำงานท่าไหน ท่านั้นอยู่เป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ จนเริ่มเกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอ ตามมา
วิธีการตรวจเต้านมอย่างง่าย ๆ
สามารถตรวจได้ด้วยตัวเอง ด้วยการคลำเต้านมอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง คลำสลับกันขึ้นลงและไปมาทั่วทั้งเต้านม ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการคลำเต้านมคือ ช่วงหลังหมดประจำเดือน ประมาณ 2 อาทิตย์ เพราะเป็นช่วงที่เต้านมจะอยู่ในสภาวะปกติมากที่สุด และถ้าสังเกตถึงความผิดปกติของตนเองได้อย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้ผลการรักษาเป็นไปได้สูงมากที่สุดเช่นกัน
#KINN_Biopharma
#คินน์เพื่อชีวิตยืนยาวและยั่งยืน