สัญญาณโรคความดันโลหิตสูง มีอาการอย่างไร? และควรป้องกันอย่างไร ? ในทางการแพทย์ โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มคนทำงานและผู้สูงอายุ และจากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า โรคความดันโลหิตสูง เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตทั่วโลก สูงถึง 7.5 ล้านคน หรือ ร้อยละ 12.8 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด และมีการคาดการณ์ว่า จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นของโรคความดันโลหิตสูงทั่วโลก เพิ่มขึ้นถึงเป็น 1.56 พันล้านคน ในปี พ.ศ. 2568 ด้วยเพราะโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่มีการแสดงอาการให้เห็นโดยชัดเจน จึงมักถูกเรียกว่า ฆาตกรเงียบ (Silen Killer) หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และความเสี่ยงของหลอดเลือดสมอง เพิ่มขึ้นอีกเป็นสี่เท่า
เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า อัตราปกติหัวใจของคนเรา จะเต้นอยู่ประมาณ 60-80 ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ทั้งนี้ โดยปกติคนเราจะมีอัตราความดันโลหิต อยู่ที่ 120/80 – 139/89 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้น เราควรหมั่นสังเกตทั้งตัวเราเอง และผู้สูงอายุในความดูแล ว่าเข้าข่ายอาการโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ โดยสังเกตจาก 5 สัญญาณที่ควรระวัง :-
อาการของ สัญญาณโรคความดันโลหิตสูง มีอะไรบ้าง?
-
เหนื่อยง่าย หายใจหอบ
ถือเป็นหนึ่งสัญญาณที่สังเกตง่ายสุด อาการเหนื่อยหอบ คืออาการที่หัวใจเต้นแรงผิดปกติ มีการหายใจเข้าออกเร็ว ๆ ถี่ ๆ บางครั้งอาจจะมีอาการเพลียร่วมอยู่ด้วย อาจเกิดขณะทำงาน หรือ ออกกำลังกายหนัก ๆ จนร่างกายเกิดการเหนื่อยล้า และนำไปสู่อาการหัวใจล้มเหลว เพราะเหนื่อยเกินมากนั่นเอง หรือแม้กระทั่ง เราเคยได้ยินว่า แม้แต่ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ บางทีเกิดอาการเฉียบพลัน แล้วเกิดเส้นเลือดในสมองแตก เนื่องจากโดยพื้นฐานเป็นโรคความดันโลหิตสูง
-
ปวดหัว
ลักษณะอาการปวดหัว เป็นอาการปวดหัวแบบมึน ๆ และปวดหัวตลอดเวลา บางครั้งปวดมาก ถึงขั้นขนาดอาเจียนก็เป็นได้ นั่นคือ ภาวะ Hypertensive Crisis เป็นภาวะความดันขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว คือมากกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท ฉะนั้น ถ้ามีอาการแบบนี้ อย่าเพิ่งชะล่าใจ ต้องรีบตรวจความดันโลหิตตัวเอง จะดีที่สุด
-
ตามัว
ถือเป็นอาการเปลี่ยนแปลงจอรับภาพของผู้ป่วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่ คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มักมีปัญหาทางสายตา อาการตามัว ปัญหาในการมองเห็น ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้นึกถึงโรคความดันโลหิตสูงเป็นลำดับแรก
-
เลือดกำเดาไหล
เลือดกำเดาไหล เกิดจากเส้นเลือดฝอยในจมูกแตก อาจเกิดจากภาวะร่างกายต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ร้อนไป หนาวไป แต่ถ้าเลือดกำเดาไหล โดยไร้สาเหตุ โดยมีการอาการปวดศีรษะควบคู่ไปด้วย ก็อาจจะเป็นไปได้ในภาวะความดันโลหิตสูง
-
มึนงง
ถือเป็นหนึ่งอาการที่อาจสืบเนื่องมาจาการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนไม่พอ สมองตื้อ น้ำตาลในเลือดสูง ถือเป็นอาการบ่งชี้อย่างหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูง
จะเห็นว่า ถ้าเราสังเกตจากตัวเราเอง พร้อมใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน รวมทั้งเรียนรู้การป้องกันเพื่อป้องกันการเสี่ยงเกิดโรคความดันโลหิตสูง ที่มีส่วนต่อการทำให้เกิดโรคภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายและมีผลต่อชีวิตได้
(อ้างอิง : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2561, กลุ่มรายงานมาตรฐาน การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ)
#KINN_Biopharma
#คินน์เพื่อชีวิตยืนยาวและยั่งยืน
บทความที่น่าสนใจ
กินผักผลไม้ยังไง ให้ดีต่อ (หัว) ใจ