“กลัวก็กลัว ตับจะพัง ทำให้กินยาบ้าง เว้นบ้าง หมอบอกว่าไขมันในเลือดสูง ไม่อยากกินยา แค่คุมอาหารได้หรือเปล่า ? “
ไม่อยากกินยาไปตลอดชีวิต มีวิธีอื่นไหม ? ถือเป็นคำถามที่พบบ่อย แม้บางท่านไขมันในเลือดสูงมาก กินทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเดิม ไม่ควบคุมอาหารเลย เพราะมั่นใจว่ากินยาอยู่ ถือเป็นพฤติกรรมที่พบบ่อยเช่นกัน ไขมันในเลือดสูง ถือเป็นภาวะที่พบบ่อยในช่วงวัยกลางคน (แต่จริง ๆ วัยรุ่นราว 30 ปีขึ้นไป ก็มีเยอะ) หรือคนที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ไขมันเยอะ เช่น ข้าวขาหมู ต้มยำเครื่องใน เกาเหลาเอ็นหมู หมูหัน เหล่านี้เป็นต้น จะเห็นว่ารสชาติอร่อยลิ้น แต่ทราบไหมว่า พอไปตรวจร่างกาย กลับพบว่าตัวเองอยู่ในภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดสูง และแน่นอน สิ่งที่ตามมาเป็นของแถมคือ ความดันเลือดสูง เพราะอะไร? เพราะไขมันในเลือดสูงไปทำให้เส้นเลือดตีบ ยกตัวอย่างเห็นภาพชัด ๆ เหมือนสายยางรถน้ำต้นไม้ ลองบีบสายยางดู น้ำจะพุ่งแรงขึ้นอย่างไร แต่ถ้าสายยางเส้นนั้น มีอะไรไปอุดตัน เราต้องเพิ่มแรงบีบเพื่อให้น้ำออกมา ฉันท์ใดฉันท์นั้นเลยค่ะ
มาทำความรู้จัก ประเภทไขมันในร่างกาย
ไขมันในเลือดมีหลายชนิด ที่รู้จักกันดีคือ คอเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) นอกจากนี้ คอเลสเตอรอลยังแบ่งออกเป็น ไขมันดี HDL และไขมันเลว LDL ซึ่งไขมันเลว ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้มากมาย เพราะฉะนั้น เวลาเราไปตรวจค่าไขมัน ผลจะออกมาเป็น 3 ค่า
- LDL (ไขมันเลว) หรือไขมันไม่ดี ถือเป็นไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง สาเหตุของโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โดยปกติไม่ควรเกิน 130 mg/dl
- HDL (ไขมันดี) ถือเป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูง เป็นไขมันดีต่อหลอดเลือดในร่างกาย เป็นตัวช่วยไม่ให้ไขมันเลวไปสะสมที่หลอดเลือดแดง โดยปกติ ไม่ควรน้อยกว่า 40mg/dl
- Triglycerine (ไตรกลีเซอไรด์) เป็นไขมันซึ่งเกิดจากทั้งการสังเคราะห์ในร่างกายของเรา แต่ถ้าสะสมมากเกินไป จะเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง โดยปกติ ไม่ควรเกิน 150mg/dl
นอกจากนี้ ยังมีค่าที่สำคัญอีกค่าหนึ่งคือ Total Cholesterol หรือระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม โดยปกติไม่ควรเกิน 200mg/dl
ค่าไขมันเลว LDL สูง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ได้อย่างไร ?
เนื่องจาก LDL ทำหน้าที่เป็นตัวนำคอเลสเตอรอลทั้งหลายออกจากตับ เข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเซลล์ใช้คอเลสเตอรอลที่ต้องการไปแล้ว คอเลสเตอรอลที่เหลืออยู่ในกระแสเลือด จะเกาะเป็นก้อนอยู่ที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ และนาน ๆ ไปก้อนเลือดเหล่านี้ จะแตกออก ทำให้เกิดลิ่มเลือดเข้ามาพอกจนอุดตันหลอดเลือด ผลที่ตามมาคือ อวัยวะสำคัญที่ต้องอาศัยเลือดจากหลอดเลือด เช่น หัวใจ สมอง ไต เกิดขาดเลือดไปเลี้ยง กลายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ ไตวาย เป็นต้น
แต่คอเลสเตอรอล มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยนะ
เราเข้าใจกันแล้วว่า ระดับคอเลสเตอรอลปกติ ต้องไม่ควรเกิน 200 mg/dl เพราะตัวคอเลสเตอรอล ก็มีประโยชน์ต่อร่ายกายเช่นกัน คอเลสเตอรอล เป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ ถ้าเรากลัวคอเลสเตอรอล และไปลดปริมาณของมันจนเหลือเลย ก็จะส่งผลให้ผนังเซลล์ของเราไม่แข็งแรง และคอเลสเตอรอล ยังเป็นตัวตั้งต้นที่สำคัญในการสร้างฮอร์โมนหลายชนิด เช่นฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนต้านความเครียด หากคอเลสเตอรอลของเราน้อย และฮอร์โมนไม่ถูกสร้าง ก็อาจทำให้เราไม่สามารถอดทนต่อความเครียดได้ อีกอย่างที่สำคัญคือ ฮอร์โมนเพศหญิง และเพศชาย ก็ถูกสร้างมาจากคอเลสเตอรอลเช่นกัน ฮอร์โมนเพศชาย จะทำหน้าที่ควบคุมความเป็นชาย ทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี และควบคุมระบบสืบพันธ์ของเพศชาย ฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยสร้างความเป็นหญิง ให้ผู้หญิงมีหน้าอก สะโพก และยังช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด ปกป้องกระดูก และกล้ามเนื้อ
ยารักษา “ไขมันในเลือดสูง”
ยาที่มีฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือดมีหลายกลุ่ม แต่กลุ่มที่ได้รับความนิยมและมีมูลค่าการใช้มากที่สุดคือ ยากลุ่ม HMGCoa Reductase ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่มีผลข้างเคียงน้อย ตัวอย่างยากลุ่มนี้ ได้แก่ Atorvastain, Fluvastatin, pravastatin, Simvastatin เป็นต้น จากชื่อยากลุ่มนี้ทุกตัวมีเอกลักษณ์ร่วมกันคือ มักลงท้ายด้วยคำว่า “Statin” จึงทำให้นิยมเรียกยากลุ่มนี้อีกชื่อหนึ่งว่า ยากลุ่มสแตนติน (stain) การเลือกใช้ยาควรจะต้องพิจารณาคุณสมบัติด้านต่าง ๆ ของยามาประกอบกัน เช่นประสิทธิภาพของยา ผลเสียหรือผลข้างเคียง เรียกว่าต้องพิจารณาให้ครบถ้วน ก่อนตัดสินใจ
ทานยาลดไขมันในเลือด แล้วเกิดอาการข้างเคียง ค่าตับสูง
ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง มักได้รับยาลดไขมันในเลือด และยาลดไขมันในเลือด ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม สตาติน (Statin) เช่น Simvastatin, Atorvastatin, Rosuvastatin, Pravastatin, Pitavastatin เป็นต้น ยาในกลุ่ม Statin อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง คือ ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ หรือมีปัญหาเอ็มไซม์ในตับสูง เกิดจากการทานยามาเป็นระยะเวลาหลายปี จึงเกิดการเลี่ยงไม่อยากทานยา หลายท่านจึงเลือกใช้ อาหารเสริมกลุ่มลดไขมันในเลือดทดแทน
อาหารเสริมสำหรับลดไขมันในเลือดสูง
-
ถั่วนัตโตะ (Natto)
ถั่วนัตโตะ เป็นอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ทำมาจากถั่วเหลือง หมักด้วยแบคทีเรียบาซิลลัลซับทิลิส (Bacteris Bacillus Subtilis) ถั่วหมักญี่ปุ่น มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สารในถั่วนัตโตะ เรียกว่า Nattokinase ออกฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในเลือด ด้วยการยับยั้งการทำงานผ่านเอนไซม์ HMG Co-A Reductase ซึ่งเป็นกลไกเดียวกันกับการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่ม Statin ช่วยลดไขมันในเลือด, ลดคอเลสเตอรอล,ลดไตรกลีเซอไรด์ ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก เพราะในถั่วนัตโตะ มีวิตามิน เค 2 ที่มีส่วนช่วยชะลอการสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูก และช่วยลดความเสี่ยงของกระดูกพรุนได้ ปัจจุบัน มีอาหารเสริมสกัดถั่วนัตโตะ ที่สกัดมาเข้มข้นมาก สามารถหาซื้อได้สะดวก
-
ขมิ้นชัน
มีสารที่เรียกว่า Curcumin ออกฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในเลือด จากการศึกษายังพบว่า ขมิ้นชัน ยังช่วยป้องกันการเปลี่ยนไขมันเลว ให้กลายเป็น Oxidizied LDL ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด
-
สารสกัดส้มแขก
สารสกัดส้มแขก เรียกว่า Garcinia Cambogia Extract) เป็นสารสกัดจากผลส้มแขก มีคุณสมบัติในการขัดขวางการเปลี่ยนแปลงสารอาหารจำพวกน้ำตาลกลูโคส เป็นสารอาหารพวกไขมัน สามารถยับยั้งเอนไซม์ ATP Citrate Lyase ลดการสะสมของไขมันจากอาหารที่ทานเข้าไป
สรุป ไขมันในเลือดสูง ต้องกินยาไปตลอดชีวิต มั๊ย
คำตอบคือ ไม่ต้อง หากเราสามารถควบคุมพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันได้ดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารที่ทอดแบบจมน้ำมัน ของหวาน ของมัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่เครียด เน้นเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผู้เขียนเคยมีเพื่อนกินยาลดไขมันในเลือดมาตลอด 6 เดือนเต็ม และมีความคิดว่าไม่อยากกินยาเคมีอีกต่อไป จึงเริ่มใช้วิธีควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด และออกกำลังกาย ปัจจุบันเลิกกินยาได้เลยค่ะ แต่สำหรับคนที่มีไขมันในเลือดแบบกรรมพันธุ์ อาจต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อติดตามการรักษา และปัจจุบัน ก็มีอาหารเสริม ถั่วนัตโตะสกัดเข้มข้น เป็นสมุนไพรธรรมชาติ 100% (หมดห่วงเรื่องเคมียา) ตอบโจทย์ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงแบบเป็นกรรมพันธุ์ได้ผลดีมากเช่นกัน พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
………………………
(เครดิต : High Cholesterol – Symptoms and cause, www.healthline.com, Medications to Lower LDL Cholesterol , www.webmed.com, thaiheartfoud.org/category/details, มูลนิธิโรคหัวใจ, safeandsavepharmacy.com, www.kinndelivery.com, www.i-kinn.com)
===================================================================================
บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง