เชื่อว่าหลายคนที่รักสุขภาพ คงจะต้องเคยได้ยินคำว่า “โปรไบโอติก” (Probiotic) กันมาบ้าง ผู้อ่านบางอ่าน อาจมีสงสัยว่า เจ้าตัวโปรไบโอติก มันคืออะไร และมีประโยชน์อะไรกับร่างกายบ้าง ป้องกันโรคอะไรได้บ้าง ? อาหารที่มีโปรไบโอติก ส่วนใหญ่เรามักคิดถึงพวกโยเกิร์ต ถั่วเหลือง แต่ก็ยังมีอาหารอีกมากที่มีโปรไบโอติกสูง (แถมราคาไม่แพงอีกด้วย) ทราบหรือไม่ว่า ในวงการแพทย์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เชื่อกันว่า การรับประทานโปรไบโอติก (Probiotic) ถือเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงจากภายในร่างกายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน หลายท่านคงเคยได้ยินว่า ทานโปรไบโอติก ช่วยลดปัญหาท้องผูก ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย แม้กระทั่ง ลดความรุนแรงของโรคเรื้อรังบางชนิดอีกด้วย
โปรไบโอติกส์ คืออะไร ?
ทราบหรือไหมว่า ร่างกายมนุษย์เราเต็มไปด้วยจุลินทรีย์มากถึง 100 ล้านล้านตัว ในขณะที่เซลล์มนุษย์มีเพียงแค่ 10 ล้านล้านเซลล์เท่านั้น ซึ่งจุลินทรีย์จะอยู่รวมกันเป็นสังคมจุลินทรีย์ขนาดใหญ่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ในกระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ โดยจะมีจุลินทรีย์อยู่มากถึงกว่า 100,000 ล้านตัวทีเดียว และมีอยู่หลายสายพันธ์เลยทีเดียว โดยจุลินทรีย์ทั้งหมดนี้ 85% จัดเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งเราเรียกเจ้าตัวจุลินทรีย์เหล่านี้ว่า “โปรไบโอติก” นั่นเอง
ประเภทของโปรไบโอติกส์ ?
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้จำแนกโปรไบโอติก ออกเป็น 3 ประเภท
-
แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)
ถือเป็นกลุ่มแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดดีในกลุ่มของโปรไบโอติก ที่พบได้มากที่สุด สามารถพบได้ในอาหารธรรมชาติ เช่น โยเกิรต์ นมเปรี้ยว อาหารหมักดองบางชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาไม่สามารถย่อยแลคโคสในนมได้
-
บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)
เป็นโปรไบโอติกที่พบมากในอาหารที่ทำจากนม ช่วยในการบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน และมีประโยชน์ต่อร่างกายที่ช่วยผลิตสารตั้งต้นของภูมิต้านทานในร่างกายได้
-
แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces Boulardii)
เป็นยีสต์ที่พบได้ในกลุ่มของโปรไบโอติก สามารถช่วยบรรเทาอาหารท้องเสีย และปัญหาที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
สิ่งที่ควรเลี่ยง เพราะจะทำให้โปรไบโอติกส์ลดลง
- ชอบทานของหวาน น้ำตาล เครื่องดื่ม ที่มีรสหวาน เป็นประจำ
- ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นประจำ
- ชอบการกินอาหารประเภทแป้งเยอะ และแป้งที่ผ่านการขัดสี
- การกินยาบางชนิด
- ภาวะเครียด
- ไม่ชอบออกกำลังกาย
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
อาหารที่มีโปรไบโอติกส์สูง
- โยเกิร์ต
- ถั่วนัตโตะ (ถั่วเหลืองหมักญี่ปุ่น)
- นมเปรี้ยว
- เครื่องดื่มจากถั่วเหลือง
- น้ำผลไม้
- เต้าเจี้ยวหมัก (Soybean paste)
- กิมจิ
- กะหล่ำปลีดอง หรือ ซาวเคราท์
โปรไบโอติกส์ กับผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน
มีการวิจัยที่ใช้ Lactobacillus Acidophilus NCFM หนึ่งพันล้านตัว ร่วมกัย Bifidobacterium Lactis BL-04 สองพันล้านตัว ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการแพ้อากาศ พบว่า ลดการใช้ยาฆ่าเชื้อลง 16% อาการน้ำมูกไหล และมีไข้น้อยลง 19% คัดจมูกน้อยลง 22%
6 ประโยชน์โปรไบโอติก ดีต่อสุขภาพ
-
ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค
ทั้งที่อยู่ในร่างกายและที่ร่างกายรับเข้ามาใหม่จากภายนอก โดยการที่โปรไบโอติกส์ จะเข้าไปแย่งอาหารของจุลินทรีย์ก่อโรคไปจนหมด ทำให้จุลินทรีย์ก่อโรคขาดอาหารส่งผลให้จุลินทรีย์ก่อโรค หยุดการเจริญเติบโต และตายในที่สุด และนอกจากแย่งอาหารจุลินทรีย์ก่อโรคแล้ว โปรไบโอติกส์ ยังผลิตกรดอะซิติก และ แลคติก ช่วยควบคุมระดับความเป็นกรด – ด่างภายในลำไส้เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค
-
ป้องกัน และบรรเทาอาการท้องเสีย
ทุกคนย่อมเคยมีอาการท้องเสีย ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งพบบ่อยในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร (ท้องเสียเรื้อรัง) โดยการนำเอาโปรไบโอติก ในกลุ่แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) มาใช้ป้องกันภาวะท้องเสียในเด็กขาดสารอาหาร นอกจากนี้ โปรไบโอติก ยังช่วยลดอาการท้องเสียโดยฉับพลัน ในผู้สูงอายุจากการติดเชื้อ Clostidium difficile ในลำไส้ใหญ่
-
แก้ปัญหาท้องผูก และช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
โปรโบโอติก (Probiotic) กลุ่มแลคโตบาซิลลัส สามารถช่วยลดภาวะอักเสบของลำไส้ โดยการปรับสภาพของระบบทางเดินอาหาร และลำไส้ใหญ่ให้กลับมาสู่ภาวะปกติ ทำให้เยื่อบุลำไส้ หลั่งสารพิษออกมาน้อยลง นอกจากนี้ ยังช่วยปรับปริมาณจุลชีพในลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุการอักเสบ ทำให้ช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี
-
ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
แบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ มีส่วนของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการสร้างสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการกินอาหารประเภทไขมัน และเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก จะยิ่งทำให้การเพิ่มสารในกลุ่มไนโตรเจน และอะโรมาติคเอมีน ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น แต่ถ้าร่างกายมีโปรไบโอติกที่เพียงพอ ก็จะช่วยเปลี่ยนสภาพแบคทีเรียในลำไส้ ป้องกันไม่ให้เกิดสารพิษเหล่านี้ได้
-
ลดระดับคอเลสเตอรอล
โปรไบโอติก ชนิด Lactobacillus Acidophilus ที่อยู่ในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) จะเข้าไปช่วยย่อยคอเลสเตอรอล และยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลที่อยู่ในลำไส้ และทำการขับเอาคอเลสเตอรอล ออกมากับอุจจาระ จึงช่วยลดคอเลสเตอรอลได้
-
เสริมภูมิคุ้มกัน
โปรไบโอติก ที่ยึดเกาะอยู่กับเนื้อเยื่อของผนังลำไส้ จะเข้าไปกระตุ้นต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ในชั้นใต้ผิวของผนังลำไส้ ทำให้ต่อมน้ำเหลือง มีการสร้างสารป้องกัน หรือสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ให้อยู่ในระดับที่ความสมดุล ส่งผลให้เมื่อมีเชื้อโรคเข้ามาในระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าไปกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาว ทำการจับตัวเชื้อโรคได้ดีขึ้น
………………………………………….
(credit : www.thelancet.com/journals/langas/article/PIIS2468-1258(20)301965/fulltext, www.megawecare.co.th, www.bumrungrad.com, www.i-kinn.com)
บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
EP. 189 : เป็นเบาหวานอยู่ กินน้ำตาลเทียม ได้มั๊ย ?