ในบทความก่อนหน้านี้เราได้รู้พื้นฐานของการสื่อสาร หรือการนำเสนอ นั่นคือ 3E
ที่เป็นแรงขับเคลื่อนภายในที่เราต้องมี คือแรงจูงใจในการอยากจะเล่า อยากจะแชร์
เรื่องที่เรารู้จริง หรืออ่านมาแล้วเราอิน หรือเชื่อในเรื่องนั้นๆ
ในบทความนี้เราจะเริ่มต้นไปด้วยกันทีละขั้นตอน
1. การวางแผน และลำดับเนื้อหาข้อมูล ประเด็นสำคัญ
จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญมากๆ เพราะหากเราติดกระดุมเม็ดแรกถูกแล้ว
การไปต่อจุดอื่นๆจะง่ายขึ้นมาก
แต่อย่างไรก็ดีทุกการวางแผนย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ดังนั้น
การตั้งโครงร่างสำคัญไว้ก่อนนอกจากจะช่วยเราเป็นแนวทางในการค้นหาข้อมูลที่เกี่
ยวข้องตลอดระยะเวลาในการเตรียมตัวแล้ว เมื่อต้องปรับเปลี่ยนเรื่องราว
เราก็จะไม่ลืมโครงร่างประเด็นสำคัญเหล่านี้ :-
1.1 การเปิด (Opening)เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำสร้างความน่าสนใจ น่าติดตามในครั้งแรก
และการปิด (Closing) เป็นการสร้างความประทับใจในครั้งสุดท้ายเพื่อให้คนจดจำ
1.2 โครงร่างหัวข้อ ประเด็นสำคัญของการนำเสนอทั้งหมด
1.3 การนำเสนอที่น่าเชื่อถือ โดยการใช้ข้อมูล หลักฐานมาสนับสนุน เรื่องราว
ความคิด ของเรา
1.4 การวิเคราะห์ผู้ฟัง และรู้ว่าสิ่งที่เขาสนใจคืออะไร
2. การสร้างความประทับใจแรก
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เราอยากจะคุยกับใครต่อ คนคนนั้นต้องน่าสนใจ
และต้องดูน่าติดตามมีอะไรให้เราได้เรียนรู้ น่าค้นหา การพูดที่ดีก็เช่นกัน
ที่ควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้
2.1 การใช้น้ำเสียงและ ภาษากายที่เป็นมิตร ในการบรรยาย
การสื่อสารส่วนมากหากเราไม่ได้จะไปชวนใครทะเลาะ
เราเชื่อว่าการเริ่มต้นด้วยความเป็นมิตร สามารถเป็นใจ
และการรับฟังของผู้อื่นได้
2.2 การผูกสัมพันธ์ การพูดคุยแบบเป็นกันเอง แต่ให้เกียรติ
การสนทนาอย่างเป็นธรรมชาติแต่มีความน่าเชื่อถือ
และการพูดในเรื่องที่เขาสนใจจะเป็นการสร้างความประทับใจแรกที่ดี
2.3 การเตรียมมือรับคำถามยากๆ และคนที่อาจไม่ชอบคุณ
เราไม่ได้อยากให้มองโลกในแง่ร้ายแต่การเตรียมตัวไว้จะช่วยให้เราไม่ตระหนกเ
มื่อถึงเวลาสำคัญ แบะยังรักษาความเป็นมืออาชีพไว้ได้ด้วย
สัปดาห์หน้ามาเตรียมตัวในเรื่องของการสื่อสารในมุมอื่นๆกันต่อค่ะ
เพราะการวางแผนเป็นจุดเริ่มต้น แต่ของจริงต้องลงมือทำ