Y
ou are what you eatวันก่อนผู้เขียนได้อ่านบทความสุขภาพน่าสนใจอันนึง เขียนเกี่ยวกับลำไส้ไว้อย่างกะชับ เข้าใจง่ายมาก ขออนุญาติแชร์บทความดังนี้ค่ะ
ลำไส้ของเรา มีเซลล์ประสาทหลายล้านเซลล์ และนั่นคือเหตุผลที่ลำไส้ได้ฉายาว่าเป็น “สมองที่สอง” ของมนุษย์ ระบบย่อยอาหารของเรา มีหน้าที่มากกว่าการย่อยอาหารที่เรากิน จำนวนจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้
สุขภาพลำไส้ที่ดีขึ้นของเรามีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น และช่วยแก้ปัญหาสุขภาพจิต ได้อีกด้วย เพราะ :-
1. ลำไส้ มันเป็นระบบประสาทอัตโนมัติ
ดร. เมแกน รอสซี นักโภชนาการ ซึ่งได้ปริญาญาเอกสาขาสุขภาพลำไส้ กล่าวว่า “ระบบลำไส้ของเรา ต่างไปจากอวัยวะอื่นในร่างกาย ตรงที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง มันตัดสินใจเองได้โดยอัตโนมัติ และไม่ต้องรอให้สมองสั่งการว่าจะต้องทำอะไร” การทำงานที่เป็นอิสระของลำไส้ เรียกว่า ระบบประสาทลำไส้ (enteric nervous system — ENS) ซึ่งเป็นระบบย่อยในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system — CNS) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะอาหารและ…ลำไส้เพียงอย่างเดียว ระบบนี้จะคล้ายกับเครือข่ายของเซลล์ประสาท ที่โยงใยกันเป็นร่างแหอยู่ในกระเพาะ และระบบย่อยอาหาร
2. ราว 70% ของเซลล์ภูมิคุ้มกันร่างกายของเรา อาศัยอยู่ในลำไส้
ดร. รอสซี บอกว่า นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมสุขภาพลำไส้จึงมีความสำคัญในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเรา เพื่อต่อสู้กับโรคต่าง ๆ การมีปัญหากระเพาะและลำไส้ ทำให้มีโอกาสที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ง่ายขึ้นอีกด้วย
3. 50% ของอุจจาระ คือ แบคทีเรีย
ของเสียจากร่างกายเรา ไม่ใช่มีแค่กากอาหารเท่านั้น แต่ยังมีแบคทีเรียจำนวนมาก ที่ส่งผลดีต่อร่างกาย จากการวิจัยพบว่าการขับถ่าย 3 ครั้งต่อวันในแต่ละคนไปจนถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในแต่ละคนถือว่าเป็นเรื่องปกติของแต่ละคน เพราะระบบย่อยอาหารที่เป็นปกติ ของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน แต่ อย่างไรก็ตาม ถ้าขับถ่ายได้อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง น่าจะมีความปลอดภัยสูงกว่า
4. อาหารที่หลากหลาย…เป็นผลดีต่อจุลินทรีย์ในลำไส้
ลำไส้ของเรา เป็นแหล่งจุลินทรีย์นับล้านล้านตัว พวกมันมีความสำคัญในการช่วยย่อยสารอาหารบางชนิด จุลินทรีย์แต่ละกลุ่ม กินอาหารที่แตกต่างกัน ดังนั้น การกินอาหารที่หลากหลาย จึงช่วยทำให้สุขภาพลำไส้ดีขึ้น และทำให้สุขภาพทั่วไปดีขึ้นไปด้วย ผู้คนซึ่งกินอาหารเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ก็จะทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่หลากหลาย และไม่แข็งแรง สุขภาพจึงมักมีปัญหาในระยะยาว
5. ลำไส้มีความเชื่อมโยง…กับอารมณ์
ดร. รอสซี กล่าวว่า ความเครียด มีผลกระทบต่อลำไส้ : “วิธีที่ฉันใช้อยู่ คือ ฉันจะแนะนำให้คนไข้ของฉันทำสมาธิ 15–20 นาทีต่อวัน หลังจากที่พวกเขาทำต่อเนื่องทุกวัน เป็นเวลา 3–4 สัปดาห์ จนกลายเป็นนิสัย ฉันสังเกตเห็นว่า พวกเขามีสุขภาพดีขึ้นเพียงเพราะทำสมาธิเช่นนั้น” “การบรรเทาความเครียด จึงเป็นเรื่องที่สำคัญต่อลำไส้มาก” เพราะสารเซโรโทนิน (serotonin) ประมาณ 80–90% เกิดขึ้นจากบริเวณทางเดินอาหาร สารเซโรโทนิน เป็นสารสื่อประสาททางเคมี ที่ส่งผลต่อการทำงานหลายอย่างของร่างกาย รวมถึงการเคลื่อนไหวของลำไส้ นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติทางจิตใจด้วย การมีความเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน จะลดระดับของสารเซโรโทนินลง และส่งผลต่อสภาวะอารมณ์ของเราได้ รวมถึงความสุขระดับความกังวล และ อารมณ์ ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้
6. ถ้าคุณเชื่อว่า อาหารบางชนิดไม่ดีต่อตัวคุณ คุณก็จะมีอาการผิดปกติขึ้น
คนบางคนมีอาการปวดท้องง่าย แต่ ดร. รอสซี ระบุว่า การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่า ถ้าคุณเริ่มกลัวอาหารบางชนิด คุณก็จะป่วย ถ้าคุณกินมันเข้าไป ความเชื่อนั้น…ทำให้เกิดปัญหาลำไส้ได้มาก แม้อาหารนั้น ไม่เป็นพิษ แต่ มีคนมาบอกว่า มันเป็นพิษ แล้วคุณคิดว่า มันเป็นพิษจริง คนที่คิดว่าเป็นพิษ เมื่อกินเข้าไป ก็ป่วยได้ โดยอาหารหม้อเดียวกันนั้น อีกคนเชื่อว่า ไม่เป็นพิษ ไม่ปรากฏอาการอะไร เพราะ ในอาหารหม้อนั้น ไม่เป็นพิษจริง ความเชื่อ จึงเป็นตัวแปรสำคัญอีกตัวหนึ่ง
7. คุณพัฒนาสุขภาพลำไส้ของคุณให้แข็งแรงได้
คุณพัฒนาสุขภาพลำไส้ของคุณ ให้แข็งแรงได้ ดังต่อไปนี้ :-
- กินอาหารที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มความหลากหลายของกลุ่มจุลินทรีย์ในลำไส้ อย่ากินซำ้ๆ กินผลลไม้ก่อนอาหาร ลดเนื้อสัตว์ทานถั่ว เต้าหู้แทนโปรตีน
- จัดการกับความเครียด…ในแบบของคุณ เช่น การทำสมาธิ, การพักผ่อน, ออกกำลังกาย การฝึกจิต หรือ ฝึกโยคะ อ่านธรรมะ ฟัง/ร้องเพลง ปล่อยวาง เป็นต้น
- ถ้าคุณมีปัญหาลำไส้อยู่แล้ว ให้หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ คาเฟอีน นำ้อัดลม และอาหารรสเผ็ด …เพราะการรับประทานอาหารเหล่านี้…จะช่วยทำให้ปัญหาแย่ลง มื้อคำ่อย่าทานหนัก ตื่นนอนดื่มนำ้1–2แก้ว
- พยายามปรับปรุงการนอน การวิจัยพบว่าการนอนดึกเลย5ทุ่ม เป็นการรบกวนวงจรของจุลินทรีย์ในลำไส้ไปด้วย
รู้ว่าลำไส้สำคัญอย่างไรต่อร่างกายแล้ว เราควรจะดูแลลำไส้ของเราด้วยนะคะ พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
(credit : https://www.bbc.com/thai/international-45709419) , photo by : webmedi.com