โรคไตกินปลาอะไรได้บ้าง เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ป่วยค่ะที่อยากรับประทานอะไรก็ได้ตามที่ตนเองต้องการ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ต้องดูแลเรื่องการรับประทานอาหารโดยตรงนั้น อาจจะต้องมีการคัดสรรและเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่อง “ปลา” ที่ถือเป็นอาหารต้องห้ามของผู้ป่วยเป็นโรคนี้เลยก็ว่าได้ อย่างไรก็ตามค่ะ หลาย ๆ ท่านอาจกำลังคิดว่าผู้ป่วยโรคไตไม่ควรทานปลา แต่ที่จริงแล้วสามารถทานได้ค่ะ เพียงแต่อาจจะต้องเลือกอย่างละเอียดเท่านั้น ในบทความนี้ I-Kinn จึงนำข้อมูลปลาต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยโรคไตทานได้มานำเสนอเพื่อการพิจารณาในการนำไปทานในชีวิตประจำวันค่ะ
โรคไตกินปลาอะไรได้บ้าง กินอย่างไรให้ปลอดภัยและไม่เบื่อ
หลายคนอาจจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า การควบคุมอาหาร เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคไตจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะโซเดียม (Sodium) ตัวร้าย ที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงกันให้ดี เนื่องจากในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังนั้น ไตจะไม่สามารถควบคุมปริมาณเกลือแร่ให้สมดุลได้ ทำให้ไม่สามารถขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกายได้ จึงเกิดโซเดียมสะสมในเลือดสูง ทำให้มีอาการบวม เป็นความดันโลหิตสูงและโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้ป่วยโรคไตจึงต้องระมัดระวังในเรื่องของอาหารให้ดีค่ะ
ปลาอะไรบ้างที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถทานได้?
ปลาที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถทานได้นั้น ควรเป็นปลาที่มีโปรตีนสูง และมีไขมันดีค่ะ เช่น
ปลาทู
ปลาทูเป็นปลาที่ได้รับความนิยมในการประกอบอาหารหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นทอด นึ่ง หรือต้ม อีกทั้งยังอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุ อีทั้งยังมีกรดไขมันชนิดที่มีประโยชน์ต่อสมอง ดวงตา หัวใจ และสุขภาพในหลากหลายด้านค่ะ
ปลาทูน่า
อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 โพแทสเซียม และธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างความสมดุลให้หลอดเลือด ลดคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง และบำรุงเลือด เมื่อเรากินทูน่าเข้าไป คราวนี้หัวใจก็จะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มที่ด้วยค่ะ
ปลานิล
ปลานิล เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายและมีไขมันน้อยมาก ใครก็ตามที่อยากกินคลีน เพื่อลดน้ำหนัก หรือเพื่อสุขภาพ เช่น ผู้ป่วยไขมันอุดตันเส้นเลือด ไขมันพอกตับ สามารถทานปลานิลเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกายได้ แถมยังให้แคลอรี่ต่ำอีกด้วย
ปลาทับทิม
ปลาทับทิมนั้น เป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อแน่น หวานหอม อีกทั้งยังมีโภชนาการสูง อุดมด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว ตรงนี้เองไขมันอิ่มตัวจากสัตว์บก อาจก่อให้เกิดการสะสมของไขมันซึ่งเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน และทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต จึงเป็นการดีที่จะบริโภคเนื้อสัตว์น้ำให้มากขึ้น โดยเฉพาะเนื้อปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวทำให้ไม่เกิดการสะสมในผนังหลอดเลือด ลดความเสี่ยงจากโรคเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตด้วยค่ะ
ปลาแซลมอน
เชื่อว่าน่าจะเป็นอาหารสุดโปรดของใครหลาย ๆ คนเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นอาหารที่มีประโยชน์ทางโภชนาการที่หลากหลาย สามารถกินได้ทั้งแบบดิบและแบบสุก โดยเนื้อของแซลมอนอุดมไปด้วย กรดไขมันโอเมก้า3 , โปรตีน , วิตามิน เอ, วิตามิน บี6 และวิตามิน บี12 ที่มีประโยชน์และมีส่วนช่วยในการบำรุงระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ดี จากคุณสมบัตินี้จึงทำให้แซลมอนเป็นปลาอีกหนึ่งชนิดที่เหมาะกับผู้ป่วยค่ะ
รู้หรือไม่? แซลมอนซาชิมิ ที่เราทาน อาจไม่ใช่แซลมอนแท้!!?
ทั้งนี้ ปลาชนิดต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ ยังมีปลาอีกหลายชนิดที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถทานได้ ซึ่งอาจจะสอบถามจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติมที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือค่ะ
นอกจาก “โซเดียม” แล้ว ต้องระวังอะไรอีกบ้าง?
การระมัดระวังปริมาณโซเดียมของผู้ป่วยโรคไตเป็นเรื่องที่ดีค่ะ แต่ทุกคนทราบหรือไม่คะว่าโซเดียมไม่ได้เป็นสารชนิดเดียวที่ควรระวัง แต่ยังมี “ฟอสฟอรัส” ที่เป็นอีกหนึ่งตัวร้ายต่อผู้ป่วยโรคไตเช่นเดียวกัน
โดย ฟอสฟอรัส (Phosphorus) เป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นสารอาหารที่สามารถพบได้ทั่วไปในอาหารต่าง ๆ รวมไปจนถึงอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง หรือเครื่องดื่ม ที่อาจจะมีการใส่สารฟอสฟอรัสในรูปแบบของสารปรุงแต่งหรือสารกันบูด เพื่อช่วยยืดอายุของอาหารให้อยู่ได้นานขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่เราจะบริโภคฟอสฟอรัสมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และทำให้เกิดฟอสฟอรัสสะสมอยู่ในเลือด
สำหรับคนปกตินั้น การบริโภคฟอสฟอรัสมากเกินไปนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่อันตรายอะไร เพราะไตของเราสามารถช่วยขับฟอสฟอรัสส่วนเกินออกไปจากร่างกายได้ผ่านทางปัสสาวะ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไต ที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกายได้ดีตามปกติ ก็อาจทำให้มีฟอสฟอรัสปริมาณมากสะสมอยู่ในร่างกาย และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ค่ะ ดังนั้นต้องระวังในการทานอาหารด้วยนะคะ
ท้ายที่สุด การเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่ต้องทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยต้องเริ่มปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ตั้งแต่ตรวจพบว่าเป็นโรค โดยอาจให้คนในครอบครัวมีส่วนร่วมในการควบคุมอาหารเพื่อให้รับประทานอาหารที่เหมาะสมค่ะ ทั้งนี้ในเรื่องของการเลือกทานปลา ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถนำไปประกอบอาหารเพื่อทำการเปลี่ยนเมนูได้เรื่อย ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อที่จะได้ไม่เบื่อและทำให้อาหารมีสีสันขึ้นได้ค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
ปลาทูกับปลาทูน่า ปลาแมกเคอเรล ต่างกันอย่างไร แบบไหนมีประโยชน์กว่ากัน
กินปลาอะไรดีที่สุด ควรเลือกปลาทะเลหรือปลาน้ำจืดดีกว่ากัน
กินปลาทำไมอ้วน เนื้อปลาเป็นโปรตีนที่ดี ไขมันต่ำ จริงหรือ?