แม้ว่าโซเดียมจะเป็นสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาในระยะยาวได้ หากคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการได้รับโซเดียมจนเสี่ยงต่อโรคไตถามหา วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีขับโซเดียมออกจากร่างกายอย่างไรให้พ้นจากโรคไตเสื่อมกันค่ะ
มาทำความรู้จักกับโซเดียมกันก่อน
โซเดียม (Sodium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ช่วยรักษาความสมดุลของน้ำและความดันโลหิตในร่างกาย โดยทั่วไปร่างกายต้องการโซเดียมในปริมาณ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน และควรได้รับปริมาณโซเดียมสูงสุดไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน (หากเทียบสัดส่วนแล้วจะเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา) แต่หากร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด และอื่น ๆ อีกมาก แต่ด้วยวิถีชีวิตประจำวันที่ทำให้ผู้ผลิตอาหารใส่โซเดียมเข้าไปในอาหารที่เราทานเพื่อเพิ่มความอร่อย ยกตัวอย่างเช่น ผงชูรส ผงปรุงรส และซุปก้อน รวมถึงผงฟูสำหรับทำขนมปังและสารกันบูดที่พบได้ในอาหารและเครื่องดื่มที่ต้องเก็บไว้เป็นเวลานาน
หากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคไตเสื่อม เมื่อไตทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะเกิดการคั่งของเกลือและน้ำภายในอวัยวะต่าง ๆ ทำให้มีน้ำคั่งในปอดและเกิดการบวมน้ำตามมา ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงอันเป็นต้นตอของโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด สังเกตอาการเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง หากพบอาการดังต่อไปนี้แสดงว่าร่างกายของคุณเริ่มเข้าสู่ภาวะไตเสื่อมถามหาแน่นอน
- ผิวหนังซีดหรือคล้ำขึ้น หรือรู้สึกคันด้วย
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ขี้หลงขี้ลืม ความจำไม่ดีดังเดิม ปวดศีรษะง่าย
- คัดจมูก จามง่าย เป็นหวัดง่าย
- กล้ามเนื้อกระตุก รู้สึกปวดไปทั่วร่างกาย
- ปลายประสาทอักเสบ ทำให้ปลายมือปลายเท้าชา
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
- เลือดออกบริเวณทางเดินอาหาร
- ปัสสาวะมีสีแดงหรือมีสีเข้ม
- ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยขึ้น ทำให้นอนไม่ค่อยหลับหรือหลับได้ไม่สนิท
แนะนำวิธีขับโซเดียมออกจากร่างกายด้วยตัวเอง
1. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะช่วยเผาผลาญพลังงานจากโซเดียมออกไป ช่วยลดโซเดียมและขับออกผ่านทางเหงื่อระหว่างออกกำลังกาย ทั้งนี้อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำในช่วงก่อนและระหว่างออกกำลังกายอีกด้วย
2. กินกล้วย
ในกล้วยมีโพแทสเซียมที่ช่วยกำจัดโซเดียมส่วนเกินในร่างกาย หากคุณไม่ชอบกินกล้วย แนะนำให้กินผักใบเขียว ถั่วเขียว หรือมันฝรั่งแทนก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยโรคไตก็ควรระมัดระวังอาหารที่มีโพสแทสเซียม เพราะอาจรบกวนการทำงานของไต ทั้งนี้อย่าลืมปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนกินด้วยนะคะ
3. กินกีวี
ในกีวีมีโพแทสเซียมที่ช่วยปรับสมดุลของโซเดียมส่วนเกินในร่างกาย ลดความดันโลหิต ลดระดับคอเลสเตอรอล ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด นอกจากนี้ยังมีวิตามินสูงแต่มีแคลอรี่เพียง 25 แคลอรี่เท่านั้น
4. กินหน่อไม้ฝรั่ง
หน่อไม้มีฤทธิ์ช่วยลดอาการบวมน้ำ และขับปัสสาวะได้ดี นอกจากนี้ยังมีโพรไบโอติกช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แถมยังย่อยกากอาหารได้ดี ขับถ่ายง่ายขึ้นด้วย
5. ดื่มน้ำตามมาก ๆ
Brierley Horton ผู้อำนวยการศูนย์โภชนาการเว็บไซต์ Cooking Light.com แนะนำว่าหากคุณทานอาหารรสเค็มหรือรสจัด จะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น การดื่มน้ำเข้าไปในร่างกายมากกว่าเดิมเล็กน้อยจะช่วยให้ไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมของเหลวที่เพิ่มขึ้นในร่างกายยังช่วยไม่ให้ร่างกายของคุณบวมขึ้นด้วย
6. กินสับปะรด
สับปะรดช่วยขับโซเดียมออกมาทางปัสสาวะ ป้องกันการเกิดโรคนิ่ว และลดอาการบวมน้ำ
7. กินมะเขือเทศ
มะเขือเทศอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากจะช่วยขับปัสสาวะแล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอริ้วรอยก่อนวัยได้ดี
8. ปรึกษาแพทย์
หากมีปัญหาบวมน้ำจากปริมาณโซเดียมที่มากเกินไปในร่างกาย แนะนำให้ไปขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะนอกจากจะได้คำแนะนำที่เหมาะสมตามแต่ละบุคคลแล้วยังช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวอีกด้วย
บทความที่น่าสนใจ
โรคไตกินปลาอะไรได้บ้าง และรับประทานอย่างไรให้ปลอดภัย
ขนมสำหรับผู้ป่วยโรคไต มีขนมชนิดไหนบ้างที่ทานได้อย่างปลอดภัย