รู้หรือไม่? ถั่วฝักยาวเป็นหนึ่งใน 10 ของอาหารที่มีประโยชน์ที่สุดในโลก เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี โฟเลต แมกนีเซียม วิตามินเอ วิตามินบี ธาตุเหล็ก ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแมงกานีส และยังเป็นผักที่หาทานได้ทั่วไป ทานง่ายทุกเพศทุกวัย วันนี้เราถึงจะมาบอกประโยชน์ของถั่วฝักยาวที่ควรรู้ให้ฟังค่ะ รับรองว่าอ่านแล้วต้องไปหาถั่วฝักยาวมาทานอย่างแน่นอน
ประโยชน์ถั่วฝักยาวที่ควรรู้
1.ถั่วฝักยาวช่วยบำรุงกระดูก
เนื่องจากในถั่วฝักยาวนั้นอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ ธาตุซิลิคอน (Silicon) และแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยลดการกัดกร่อนของกระดูกและข้อเข่าเสื่อมก่อนเวลา และยังอุดมไปด้วยวิตามินเคที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้ดีขึ้นอีกด้วย
ดื่มนมตามเวลาชีวิต กินเวลาไหนได้รับประโยชน์สูงสุด
2.ถั่วฝักยาวช่วยควบคุมน้ำหนัก
การทานถั่วฝักยาวเป็นประจำ หรือทานในมื้อเย็นมีแนวโน้มว่าจะสามารถควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของโรคน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้ เพราะว่าถั่วฝักยาวนั้นเป็นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล และยังมีไฟเบอร์สูงมากช่วยให้อิ่มนาน ลดความอยากอาหารได้
3.ถั่วฝักยาวช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
ในถั่วฝักยาวมีสารที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมการหลั่งของอินซูลิน ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ป่วยโรคเบาหวานเองหากทานถั่วฝักยาวเป็นประจำจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ และยังช่วยลดการฉีดอินซูลินลงประมาณ 40% ด้วยค่ะ
4.ถั่วฝักยาวช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ถั่วฝักยาวช่วยลดการสร้างไขมันเลว (LDL) มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง มีสารต้านการอักเสบ ลดความดัน ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลได้ดี
เมนูเด็ดจากถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาวสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น แกงส้มถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาวผัดกะปิกุ้ง ถั่วฝักยาวผัดกุ้ง หมูผัดพริกแกงถั่วฝักยาว ผัดเป็ดถั่วฝักยาวหมูสับ หมูผัดเต้าเจี้ยวถั่วฝักยาว ผัดพริกขิงหมูใส่ถั่วฝักยาว กะเพราหมูใส่ถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาวผัดเต้าหู้ยี้ ฯลฯ
ข้อควรระวังของการทานถั่วฝักยาว
- ไม่ควรทานถั่วฝักยาวดิบเพราะว่าในถั่วฝักยาวมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมีเทนอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้เกิดกรดเกินในกระเพาะอาหารทำให้อาการท้องอืด ในบางรายอาจเกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และเวียนหัวร่วมด้วยได้ และหากทานแบบเคี้ยวไม่ละเอียดก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาอุดตันในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้
- คนที่มีอาการแพ้ถั่วไม่ควรทานเพราะเสี่ยงต่อการแพ้สูง
- ผู้ป่วยที่ต้องทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดเป็นประจำ ควรหลีกเลี่ยงการทานถั่วฝักยาวเพราะอาจส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน
- ไม่ควรทานถั่วฝักยาวมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการดูดซึมแร่ธาตุ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนทาน
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาท้องผูก ไม่ควรทานถั่วฝักยาว
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เตือนแล้วนะ! ผักห้ามกินดิบ ฝืนกินอาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
ผักไฮโดรโปนิกส์ VS ผักออแกนิค แบบไหนปลอดภัยกว่ากัน
ผักต้มมีประโยชน์อย่างไร ต้มผักยังไงไม่ให้เสียวิตามินหลังโดนความร้อน