ภาวะวัยทองก่อนวัยคืออะไร
สาเหตุของวัยทองก่อนวัย
-
กรรมพันธุ์จากคนในครอบครัว
-
ต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนทำงานผิดปกติ
-
พักผ่อนไม่เพียงพอ หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่เต็มอิ่ม
-
ละเลยการออกกำลังกาย ส่งผลให้ต่อมไฮโปธาลามัสซึ่งควบคุมการหลั่งฮอร์โมนทำงานผิดปกติไป สมองจึงหลั่งฮอร์โมนน้อยลง ส่งผลให้รังไข่หยุดทำงาน
-
ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ไทรอยด์, SLE, โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
-
ผ่านการผ่าตัดมดลูก หรือผ่าตัดรังไข่มาก่อน
-
วิธีการรักษาโรคด้วยการฉายแสงหรือทำเคมีบำบัด
วิธีสังเกตอาการวัยทองก่อนวัยด้วยตัวเอง
1.สังเกตด้วยตัวเอง
หากคุณมีอาการต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังเข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนวัย
-
ประจำเดือนผิดปกติ มาไม่สม่ำเสมอ ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน
-
นอนไม่หลับ อันเนื่องมาจากอาการร้อน ๆ หนาว ๆ ไม่สบายตัว
-
รู้สึกเหนื่อยง่าย อันเป็นผลพวงมาจากการนอนหลับไม่เพียงพอ
-
อารมณ์แปรปรวนง่ายขึ้น หงุดหงิดง่าย หรืออยู่ดี ๆ ก็รู้สึกหดหู่โดยไม่ทราบสาเหตุ
-
หลงลืมง่าย เนื่องจากภาวะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล
-
ช่องคลอดแห้ง ความต้องการทางเพศลดลง อันเนื่องมาจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
-
ผิวพรรรแห้งกราน ริ้วรอยมากขึ้นแต่ก่อนแบบเห็นได้ชัด
2.ตรวจฮอร์โมน
การตรวจประเมินวัยหมดประจำเดือนสามารถตรวจดูจากฮอร์โมนแอนตี้มูลเลอเรียน (Anti-Mullerian Hormone AMH) และ FSH (Follicle Stimulating Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นจากรังไข่ ซึ่งจะช่วยบอกประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่หรือบอกจำนวนไข่ที่ผลิตขึ้นมาได้ สำหรับใครที่มีระดับฮอร์โมน AMH และ FSH อยู่ในระดับปกติ หมายความว่า คุณจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนตามเกณฑ์ปกติ (อายุ 46-52 ปี)
ส่วนค่า AMF ตามเกณฑ์ปกติสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 31-35 ปี คือ 0.07 – 7.35 (ng/mL) ซึ่งค่าผลตรวจของเราอยู่ในระดับ 0.60 (ng/mL) ส่วน FSH จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง หากตรวจในช่วงแรกที่มีประจำเดือนก่อนถึงวันตกไข่ (Mid Follicular) จะมีเกณฑ์ปกติอยู่ที่ประมาณ 3.85-8.78 (mlU/mL) และค่าผลตรวจจะอยู่ที่ 8.00 (mlU/mL) สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสิ้นสุดภาวะเจริญพันธุ์ จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลัก ๆ หลายชนิด ส่งผลให้ไม่ตกไข่ และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกต่อไป