ช่วงหลังมานี้มีการพูดถึงเนื้อจากพืชกันอย่างกว้างขวางขึ้น จนเกิดเป็นกระแสต่าง ๆ ตามโลกออนไลน์ วันนี้เราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับเนื้อชนิดนี้กันว่ามีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร เพื่อให้เป็นหนึ่งทางเลือกในการบริโภคของคุณมากขึ้น
เนื้อจากพืชคืออะไร
หรือที่ใครหลายคนรู้จักกันในชื่อ แพลนต์เบส (Plant-Based) เป็นเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช 95% โดยใช้กระบวนการแปรรูปพืชและใช้สารฮีม (Heme) ช่วยให้แพลนต์เบสมีรสชาติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จริง ๆ ทั้งผิวสัมผัสและรสชาติ โดยแพลนต์เบสจะถูกแปรรูปออกมาเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ไส้กรอก สเต๊ก นักเก็ต ปลา ฯลฯ ในด้านของคุณค่าทางโภชนาการแพลนต์เบสมีคุณค่าทางอาหารสูงเนื่องจากมีโปรตีนเทียบเท่าเนื้อสัตว์ (มีไฟเบอร์และสารอาหารอื่น) แถมยังไม่มีคอเลสเตอรอล ไขมันต่ำ
ส่วนประกอบของแพลนต์เบสมีอะไรบ้าง
อัตราส่วน 95% แรกประกอบด้วยพืชตระกูลถั่ว และพืชชนิดอื่น ๆ เช่น เห็ด บีทรูท ที่มีโปรตีน เส้นใย และแป้ง จากนั้นนำไปผสมกับน้ำมันทานตะวันหรือน้ำมันมะพร้าว และทำการขึ้นรูป ส่วนอีก 5% จะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ เพื่อให้มีรูปร่าง หน้าตา กลิ่นสี รสสัมผัส และสารอาหารเหมือนเนื้อสัตว์ทั่วไปนั่นเอง
แพลนต์เบสมีกี่ประเภท
ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
- Restructured Plant-Based Meat ผลิตโดยนำพืชหลากหลายชนิดมาผสมแล้วนำมาขึ้นรูปและแต่งกลิ่นให้เหมือนเนื้อสัตว์
- Whole Muscle Plant-Based Meat ผลิตโดยนำเทคโนโลยี 3D Printing มาใช้ขึ้นรูปโปรตีนพืชเพื่อสร้างกล้ามเนื้อเสมือนสัตว์
ข้อดีของแพลนต์เบส
- ไม่มีคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งและโรคหลอดเลือด
- ไม่เสี่ยงต่อการมียาปฏิชีวนะในกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าเนื้อสัตว์จริง 30%-90%
- ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อยกว่าเนื้อสัตว์จริง 47%-99%
- ใช้น้ำน้อยกว่าเนื้อสัตว์จริงถึง 72-99%
- ลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อผู้บริโภคโดยตรง
แพลนต์เบสเหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ เพราะแพลนต์เบสทำมาจากพืชจึงลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งได้
- ผู้ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยกว่าเนื้อสัตว์จริง
- ผู้บริโภคที่ต้องการความแปลกใหม่ในการทานอาหาร ซึ่งปัจจุบันมีเมนูแพลนต์เบสใหม่ ๆ ออกมารองรับตลาดอย่างต่อเนื่อง
ข้อควรระวังในการทานแพลนต์เบส
- อาจมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าเนื้อสัตว์ทั่วไป ทั้งนี้ควรดูข้อมูลโภชนาการข้างห่อก่อนซื้อ
ปรุงแพลนต์เบสอย่างไรให้อร่อยทุกมื้อ
- อย่าปรุงแพลนต์เบสให้สุกจนไหม้ เพราะแพลนต์เบสผ่านการปรุงสุกมาแล้ว
- ระวังแพลนต์เบสแห้ง เนื่องจากแพลนต์เบสมีไขมันพืชซึ่งระเหยเร็วกว่าไขมันสัตว์
- จับคู่แพลนต์เบสกับเมนูที่ถูกต้อง เช่น แพลนต์เบสบดเหมาะกับซอสสปาเก็ตตี้ผัดกะเพรา ส่วนแพลนต์เบสแบบชิ้นเหมาะกับเมนูสเต็ก
- หากไม่อยากรู้สึกเลี่ยนเนื้อมากเกินไป ควรเติมผักหรือเห็ดลงไปในเมนูแพลนต์เบส เพื่อให้มีรสสัมผัสตัดกันอย่างลงตัว
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เมนู-อาหารผู้ป่วยโรคไต เมนูไหนทานได้ เมนูไหนทานไม่ได้
ผลไม้น้ำตาลสูง ยิ่งกินยิ่งอ้วน ลดน้ำหนัก เบาหวานต้องหลีกเลี่ยง
EP.163 : กินสลัด แล้วทำไมยัง..อ้วน ส่องแคลอรี่น้ำสลัดแบบไหนอ้วนสุด!!