“กินโปรตีนจากสัตว์” ถือเป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนได้ดี โดยบริโภคได้จาก เนื้อของสัตว์ชนิดนั้นๆ นม ผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ และไข่ เป็นต้น โดยนอกจากโปรตีนแล้วก็ยังสามารถพบเจอสารอาหารประเภทอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราได้ด้วยเช่นกัน ส่วน “เวย์โปรตีน” ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มและเสริมโปรตีนให้กับร่างกาย หรือหากเรียกง่ายๆ คือ แหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่สกัดจากนมวัว ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนครบถ้วนและปริมาณสูงที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของผงคล้ายๆ นมผงของเด็ก ชงดื่มกับน้ำ และสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป
โดยเมื่อทั้งทาน โปรตีนจากสัตว์ ก็ดี และ เวย์โปรตีนก็ดี แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนดีกว่ากัน?
“กินโปรตีนจากสัตว์” ข้อดี-ข้อเสีย
-
ข้อดี
เนื้อสัตว์ ประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายที่นอกเหนือไปจากโปรตีนที่เป็นสัดส่วนของสารอาหารที่มากที่สุด โดยเรียกว่าเป็น “โปรตีนสมบูรณ์” เพราะเป็นโปรตีนที่มาพร้อมกับกรดอะมิโน 9 ชนิด
- ฮีสทิดีน : ใช้ในการผลิต “ฮีสตามีน” ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญมากในการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกัน การย่อยอาหาร การทำหน้าที่ทางเพศ รวมถึงวงจรการนอนหลับและตื่นนอน
- ไอโซลิวซีน: ช่วยในการรักษาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การผลิตฮีโมโกลบิน
- ลิวซีน: เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการรักษาบาดแผล และการผลิตโกรทฮอร์โมน
- ไลซีน: มีหน้าที่สำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน การดูดซึมแคลเซียม การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การผลิตฮอร์โมน เอนไซม์ พลังงาน คอลลาเจน
- เมไธโอนีน: มีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันการสะสมของไขมันในตับ และช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า
- ฟีนิละลานีน: คือกรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็น เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่รับประทาน เป็นสารสื่อประสาทหรือสารเคมีที่ช่วยส่งผ่านสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทและสมองทำหน้าที่เพิ่มความตื่นตัวและความกระฉับกระเฉง
- ธรีโอนีน: มีส่วนช่วยในการป้องกันการสร้างไขมันในเลือด ช่วยให้เอนไซม์ในระบบย่อยอาหารทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการเผาผลาญอาหารในร่างกายและยังช่วยส่งเสริมการดูดซึมอาหารอีกด้วย
- ทริปโทแฟน: มีหน้าที่ในการสร้างความสมดุลของไนโตรเจนในผู้ใหญ่ และมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตในทารกและมีส่วนสร้างกรดอะมิโนที่ช่วยควบคุมอารมณ์ด้วย
- วาลีน: ช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการผลิตพลังงาน
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เนื้อสัตว์เป็นแหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนและคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์อยู่พอควรเลยทีเดียว
-
ข้อเสีย
แม้ว่าคุณค่าทางสารอาหารจะมากกว่า แต่โปรตีนจากสัตว์มีข้อควรระวัง เพราะมักมาพร้อมกับไขมันและคอเรสเตอรอล ที่หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจเสี่ยงโรคอันตรายต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันพอกตับ เป็นต้น ดังนั้นควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะไม่เช่นนั้นก็อาจส่งผลเสียเอาได้
“เวย์โปรตีน” ข้อดี-ข้อเสีย
-
ข้อดี
เวย์โปรตีนนั้นถือเป็นอาหารเสริมอย่างหนึ่งที่ ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ออกกำลังกาย เพราะการบริโภคเวย์โปรตีนจะช่วยให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันง่ายขึ้น โดยมีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่สึกหรอจากการออกกำลังกาย ทำให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะมีข้อดีกับผู้ที่ดื่มมากมาย เช่น ช่วยลดการเจ็บในการออกกำลังกาย มีส่วนทำให้สัดส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น
-
ข้อเสีย
แม้จะเป็นโปรตีนที่เข้ามาเสริมในการสร้างหุ่น กล้ามเนื้อ และการออกกำลังกาย แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างสำหรับการบริโภคเวย์โปรตีน เช่น
- อาจทำให้อ้วนง่ายขึ้น เนื่องจากร่างกายได้รับโปรตีนจากเวย์มากขึ้น ร่างกายจึงอาจเผาผลาญได้ไม่หมด
- รับประทานมากไปอาจทำให้เกิดผลเสีย เพราะร่างกายได้รับโปรตีนที่มากเกินไปอาจทำให้ไตทำงานหนัก
- ไม่เหมาะกับผู้ที่แพ้นมวัว เนื่องจากนมวัวเป็นส่วนประกอบหลักในการสกัดเวย์โปรตีน ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับผู้ที่รับประทานผลิตภัณฑ์จากวัวไม่ได้โดยเฉพาะนม
ข้อสรุป เวย์โปรตีน VS กินโปรตีนจากสัตว์ แบบไหนดีกว่ากัน
กล่าวโดยสรุป ทั้ง เวย์โปรตีน และ โปรตีนจากสัตว์ ต่างก็มีข้อดีแล้วข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป หากแต่ผู้ที่รับประทานจะอยู่ในคนละหมวดหมู่กัน โดยผู้ที่ต้องการเวย์โปรตีนเป็นพิเศษจะเป็นหมวดจำเพาะของผู้ที่ออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมกล้ามเนื้อและปั้นหุ่นให้เป็นไปตามต้องการ หรือ ผู้ที่ต้องการเสริมโปรตีนให้กับร่างกายโดยเฉพาะในเด็กๆ หรือ ผู้สูงอายุนั่นเอง ส่วนโปรตีนจากสัตว์ก็จะเน้นเป็นบุคคลทั่วไปสามารถบริโภคได้ทุกเพศทุกวัย
อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับวิธีการบริโภค ว่าเหมาะสมและถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นก่อนบริโภค นอกจากศึกษาข้อมูลเกี่ยวของโปรตีนแต่ละประเภทและตรวจเช็คร่างกายของตนเองว่าควรรับประทานแบบไหน ปริมาณเท่าไหร่ และดูพฤติกรรมของตนเองเหมาะกับการทานโปรตีนชนิดนั้นๆ หรือไม่
บทความสุขภาพที่น่าสนใจ
EP. 195 : รู้ยัง ! เส้นใยอาหาร ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด