เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอาการร้อนอบอ้าว น้ำแข็งจึงกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องดื่มสำคัญที่ขาดแทบไม่ได้ แต่ทราบหรือไม่ว่า น้ำแข็งก้อนเล็กๆ ใสๆ กลับมีอันตรายบางอย่างที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างคาดไม่ถึงเลยค่ะ
ประเภทน้ำแข็งแต่ละชนิด
ถึงแม้ว่าน้ำแข็งจะมีลักษณะการใช้งานที่เหมือนกันคือ ความเย็น เพื่อความสดชื่นเหมือนกัน แต่น้ำแข็งแต่ละชนิดแต่ละรูปแบบก็มีลักษณะเฉพาะที่เหมาะแก่การใช้งานไม่เหมือนกัน แบ่งออกเป็นแต่ละประเภทดังนี้
น้ำแข็งหลอด
เป็นน้ำแข็งชนิดที่หลายๆ คนมักจะเห็นเยอะที่สุดตามร้านอาหาร เป็นลักษณะของน้ำแข็งก้อนใหญ่มีรูตรงกลาง มีจุดเด่นคือ ละลายช้า มีทั้งแบบหลอดใหญ่และหลอดเล็ก โดยน้ำแข็งหลอดใหญ่นั้นจะเหมาะสำหรับทานคู่กับเครื่องดื่ม ส่วนหลอดเล็กจะเหมาะสำหรับการใส่เครื่องดื่มเหมือนกันแต่ว่านิยมนำไปปั่นเพราะละเอียดง่าย
น้ำแข็งเหลี่ยม
น้ำแข็งก้อนเหลี่ยมเป็นน้ำแข็งชนิดที่สามารถเห็นได้ตามร้านอาหารทั่วไปเช่นกัน ให้ความเย็นเหมือนกัน แต่ว่าจะให้ความสวยงามมากกว่าน้ำแข็งหลอด
ร็อกไอซ์
น้ำแข็งร็อกไอซ์ จะมีความแตกต่างจากน้ำแข็งทั่วไปตรงที่มีความละลายช้ากว่าน้ำแข็งทั่วไปแม้ว่าเวลาผ่านไปมากกว่า 30 นาทีก็ยังไม่ละลายแถมยังให้ความเย็นอยู่ ไม่มีสีขุ่น ไม่มีกลิ่นตกค้าง นิยมใช้ใส่เครื่องดื่ม
น้ำแข็งเกล็ด
เป็นน้ำแข็งที่หลายคนชอบทานมากค่ะ เพราะน้ำแข็งชนิดนี้มีความกรุบกรอบเคี้ยวเพลินมาก นิยมทานคู่กับเครื่องดื่มแบบน้ำอัดลม น้ำหวาน และที่สำคัญยังนิยมนำไปแช่อาหารทะเลเพื่อรักษาความสด เนื่องจากน้ำแข็งเกล็ดมีน้ำหนักเบา ทำให้เมื่อนำไปโปะแช่อาหารทะเลแล้วไม่ทำให้ช้ำ
น้ำแข็งมีอันตรายอย่างไร?
ถึงแม้ว่าน้ำแข็งจะกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญเวลาที่ทานคู่กับเครื่องดื่ม แต่สำหรับผู้บริโภคอย่างเราก็ควรจะเลือกแหล่งการทานน้ำแข็งให้ดี ไม่ควรทานน้ำแข็งมั่วๆ ไม่มีแหล่งที่มานะคะ เนื่องจากน้ำแข็งนั้นเป็นอาหารที่มักจะเจอสารปนเปื้อนสูงมาก โดยการสำรวจของสำนักอนามัย (กรุงเทพ ฯ) ที่มักจะสุ่มตรวจน้ำแข็งที่ขายตามร้านน้ำปั่น ร้านอาหารทั่วไป มักจะพบความจริงที่น่าขนลุกว่า ร้านเหล่านี้มักตรวจพบน้ำแข็งปนเปื้อนจุลินทรีย์มากกว่าครึ่ง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคอาหารเป็นพิษ โรคอีโคไล ท้องร่วง ท้องเสีย และพยาธิในน้ำแข็ง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยไปจนถึงเสียชีวิต
วิธีป้องกัน
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ ตรวจเลือกทานน้ำแข็งจากโรงงานที่ได้รับมาตรฐานรับรอง และโรงงานน้ำแข็งที่ผลิตด้วยเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติเพื่อลดความเสี่ยงสิ่งปนเปื้อน บนถุงควรมีเครื่องหมาย อย. มีชื่อและที่ตั้งของโรงงานชัดเจน และบนถุงควรเขียนระบุอย่างชัดเจนว่า “น้ำแข็งสำหรับบริโภค รับประทานได้”
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
กินของทอดแล้วปวดหัว คลื่นไส้ เป็นสัญญาณโรคร้ายหรือไม่?
ของว่างไม่อ้วน ของกินเล่นแก้หิวแบบมีประโยชน์ ไม่เสี่ยงโรค
ฮอร์โมนทดแทนวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน (Menopause) คืออะไร?