ใครจะไปคาดคิดว่ากะเพราที่เราทานกันนั้น จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยลดไขมันในเลือดและบรรเทาโรคเบาหวานได้ด้วย วันนี้ผู้เขียนจึงมีสรรพคุณของกะเพราดีๆ มาฝากกันค่ะ รับรองว่าอ่านแล้ว ต้องรู้สึกอยากกินผัดกะเพรากันอย่างแน่นอน
ใบกะเพรา สรรพคุณครอบคลุมโรค
กะเพราเป็นสมุนไพรที่คนไทยรู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่มีน้อยคนมาที่จะทราบว่ากะเพรานั้นมีต้นกำเนิดที่ไกลมากๆ เพราะเป็นพืชพื้นเมืองเขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกา ได้รับความนิยมแพร่กระจายไปหลายพื้นที่ โดยเฉพาะชาวอินเดียที่ถือว่ากะเพราเป็นพืชชั้นสูง ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งของประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า และถูกจัดให้เป็น จัดเป็นราชินีแห่งสมุนไพร (The Queen of herbs) มีสรรพคุณเทียบเท่าเป็นยาอายุวัฒนะ (The Elixir of life)
และเนื่องจากกะเพรานั้นมีคุณสมบัติโดดเด่นเรื่องกลิ่นที่หอมฉุน ทำให้นิยมนำมาใช้ปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่นสาบของเนื้อสัตว์ และยังเชื้อกันว่ามีสรรพคุณทางยาแก้โรคขับลม ทำให้ชาวอินเดียนิยมนำกะเพราสดมาต้มผสมกับนมแล้วดื่มแก้อาการท้องอืดของเด็กอ่อน
กะเพราช่วยลดไขมันในเลือดและเบาหวาน
ในมีผลงานวิจัยที่มีทำการทดลองกันกระต่ายทดลอง ที่มีภาวะโดยนักวิจัยได้ผสมกะเพราสดผสมในอาหารกระต่าย และให้ทดลองกินติดต่อกัน 4 สัปดาห์ จากนั้นก็ทำการตรวจเลือด ปรากฏว่าระดับคอเลสเตอรอล (Total Cholesterol) ระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) และฟอสโฟลิพิด (Phospholipids) ในเลือดนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด และยังช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (High Density-HDL-Cholesterol) อีกด้วย นอกจากนี้ยังนำการทดลองความสามารถในการลดระดับน้ำตาลในหนูทดลองในระยะเวลาเดียวกัน ก็พบว่า หนูทดลองมีระดับน้ำตาลที่ลดลง และยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
วิธีการทานกะเพราให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด
- ควรเลือกทานกะเพราสดเท่านั้น
- การทานกะเพราเพื่อรักษาโรคนั้น ต้องคำนวณปริมาณการทานจากน้ำหนักตัว เช่น กะเพราสด 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
- ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อการชะลอการแข็งตัวของเลือด หรือ ต้องเข้ารับการผ่าตัดภายใน 2 วัน ลดงดการทานกะเพรา เนื่องจากกะเพรามีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด
- หญิงที่ตั้งครรภ์หรือมีแนวโน้มว่าจะตั้งครรภ์ และต้องให้นมบุตร ควรระมัดระวังในการทานกะเพราในปริมาณที่เยอะ
- สำหรับผู้ที่ทานกะเพราเพื่อรักษาโรค ควบคู่ไปกับยาลดน้ำตาล ควรระมัดระวังน้ำตาลตกมากจนเกินไป หากมีอาการน้ำตาลตก เช่น รู้สึกหิว กระวนกระวาย ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรไปพบแพทย์ทันที
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ขมิ้นชันช่วยลดไขมัน-เบาหวาน ขมิ้นชันกินตอนไหนออกฤทธิ์ดีที่สุด