“ไข่แดงเป็นตัวการของคอเลสเตอรอลสูง กินมากๆ ไม่ได้เพราะเป็นอันตราย คนเป็นโรคไขมันในเลือดสูงห้ามกินเด็ดขาด!” เป็นประโยคที่เชื่อว่า หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยิน ทำให้ผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูงหลายรายเลิกที่จะทานไข่ โดยเฉพาะไข่แดงกันเป็นแถว วันนี้ผู้เขียนจึงจะมาช่วยชี้แจ้งแถลงไขให้ฟังว่า สิ่งเลวร้ายทั้งหมดที่เคยได้ยินมาเกี่ยวกับไข่แดงนั้น จริงชัวร์!! หรือ มั่วนิ่ม!!
คอเลสเตอรอล คืออะไร?
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือสารอาหารชนิดหนึ่งที่ร่างกายของเราสามารถผลิตเองได้และสามารถรับมาจากอาหารที่ทานเข้าไปได้ด้วย หลายคนอาจจะมองคอเลสเตอรอลเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่ความจริงแล้ว คอเลสเตอรอลมีหน้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น
- คอเลสเตอรอล เป็นองค์ประกอบของเยื่อผนังห่อเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย
- กระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำดี (Bile) ที่ต้องใช้ในการย่อยอาหารประเภทไขมัน
- ช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายอยู่ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
- ช่วยสังเคราะห์วิตามินดีที่ร่างกายได้รับจากแสงแดดได้ ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ ป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ช่วยผลิตฮอร์โมนเพศในร่างกาย เช่น สเตอรอยด์ฮอร์โมน (Sterioid Hormones)
อ่านต่อบทความที่ท่านอาจสนใจ : ส่อง! แคลอรี่น้ำสลัดแบบไหนอ้วนสุด!! กินสลัด แล้วทำไมยังอ้วน
ซึ่งหากอ่านจากทางด้านบนก็รู้สึกว่า คอเลสเตอรอลก็เป็นสิ่งที่ดีนี่นา แล้วทำหลายๆ คนถึงกลัวเจ้าคอเลสเตอรอลอันนี้กันนัก? … นั่นเป็นเพราะว่า หากร่างกายได้รับสารชนิดนี้มากจนเกินไปจะส่งผลกระตุ้นให้เกิดปัญหาสุขภาพตามา เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้จะต้องระมัดระวังการทานอาหารอย่างพิเศษ เพราะต้องควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้คงที่เพื่อลดความเสี่ยงต่ออาการของโรคกำเริบที่อาจจะทำให้สูญเสีpชีวิตได้
อ่านต่อ : แคลอรี่ไข่แต่ละชนิด เมนูไข่ต้ม ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ออนเซ็น กี่แคลอรี่?
: คอเลสเตอรอลสูง ห้ามกินไข่จริงเหรอ?
ซึ่งโดยทั่วไปคอเลสเตอรอลที่รับเข้าไปเกินนั้น อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่ามักมาจากอาหารที่เราทานเข้าไป ซึ่งอาหารเหล่านี้จะมีปริมาณคอเลสเตอรอลที่ไม่เท่ากัน โดยอาหารที่ตกเป็นจำเลยอันดับหนึ่งก็คือ “ไข่” ฟองเล็กๆ นี่แหละค่ะ ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูงต่างไม่กล้าทานไข่กัน หรือต่อให้ทานก็มักจะเลือกทานแค่ไข่ขาว ไม่ทานไข่แดง ทั้งๆ ที่ไข่แดงมีคุณประโยชน์มาก เช่น
- ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี
- ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือด
- ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
- มีโปรตีนสูง ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- ช่วยบำรุงสายตา ช่วยการมองเห็น
- บำรุงสมอง ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือภาวะความจำเสื่อม
- ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และโรคมะเร็ง
- ป้องกันและรักษาภาวะโรคโลหิตจาง
- ลดอาการอักเสบของกระดูกและข้อ
- ชะลอความชรา
น้ำมะขามเปียก ลดไขมันในเลือด ปรับสมดุลร่างกาย ช่วยขับถ่าย
คอเลสเตอรอลในไข่แต่ละชนิด มีเท่าไร ?
ในบางครั้งแม้ว่าจะใช้ไข่ชนิดเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน นำไปประกอบอาหารแยกเป็นเมนู ปริมาณคอเลสเตอรอลของไข่แต่ละเมนูก็จะมีไม่เท่ากัน ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นดังนี้
(*การเปรียบระดับคอเลสเตอรอลในไข่แต่ละเมนูจะถูกคิดในสัดส่วนปริมาณ 100 กรัมต่อเมนู)
- ไข่แดง มีคอเลสเตอรอล 1,085 มิลลิกรัม
- ไข่ดิบ คอเลสเตอรอล 372 มิลลิกรัม
- ไข่ลวก มีคอเลสเตอรอล 370 มิลลิกรัม
- ไข่ต้ม มีคอเลสเตอรอล 373 มิลลิกรัม
- ไข่ดาว มีคอเลสเตอรอล 401 มิลลิกรัม
- ไข่เจียว มีคอเลสเตอรอล 313 มิลลิกรัม
- ไข่คน มีคอเลสเตอรอล 277 มิลลิกรัม
กินไข่แดงมากๆ คอเลสเตอรอลสูงจริงหรือไม่?
เมื่อดูตามปริมาณคอเลสเตอรอลของไข่แดงด้านบน หลายๆ คนอาจจะปักใจไปแล้วว่า ไข่แดงมีปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูงขนาดนี้แปลว่าไม่ดีต่อสุขภาพแล้วแน่ๆ …. แต่ความจริงแล้วการทานไข่แดงที่มากเกินไปไม่ได้มีผลต่อค่าคอเลสเตอรอลในเลือกเราเลยค่ะ โดยมีผลวิจัยอ้างอิงมาจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture : USDA) ที่ทำทดลองกับอาสาสมัครโดยการให้ทานไข่แดง ก่อนจะวัดค่าคอเลสเตอรอลในเลือด ผลปรากฏว่าคอเลสเตอรอลที่ได้รับจากการทานไข่แดงนั้นไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดเลย ดังนั้นจึงสามารถบอกได้ว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูงก็สามารถทานไข่แดงได้
ควรทานไข่แดงวันละเท่าไร ถึงจะปลอดภัย
ถึงแม้ว่า ไข่แดงจะมีสารอาหารสูง สามารถทานได้ทุกเพศทุกวัย แต่อะไรที่มากเกินไปก็มักจะไม่ดี ดังนั้นถึงแม้ว่าคอเลสเตอรอลในไข่แดงไม่ได้ส่งผลกระตุ้นในคอเลสเตอรอลในร่างกายสูงขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถทานไข่วันละกี่ฟองก็ได้ ควรจะจำกัดการทานไข่แดงที่ 1 ฟองต่อวัน สำหรับผู้ที่ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูงอาจจะทานไข่เฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 ฟองก็เพียงพอแล้ว
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
กินกะเพราทุกวัน ช่วยลดไขมันในเลือด บรรเทาโรคเบาหวาน
ขมิ้นชันช่วยลดไขมัน-เบาหวาน ขมิ้นชันกินตอนไหนออกฤทธิ์ดีที่สุด