“กินยาเยอะๆ จะทำให้ไตวาย” ถือเป็นหนึ่งในความเชื่อของผู้ป่วยความดันเลือดสูงและผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานว่า “หากทานยาเยอะๆ จะยิ่งทำให้การทำงานของไตหนักขึ้นและทำให้เสี่ยงต่อไตวายเพิ่มขึ้น” ทำให้เกิดปัญหาคนไข้ไม่ยอมทานยาที่แพทย์จ่ายให้และหลายๆ คนมีการปรับลดปริมาณการทานยาเอง ทำให้เกิดเป็นข้อสงสัยว่า หากในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะป่วยชนิดโรคเรื้อรังแล้วจำเป็นต้องกินยา แบบนี้ควรทาน หรือไม่ควรงดทานยาดีกว่ากัน?
อย่างที่เราทราบกันดีว่า มนุษย์เราเกิดมาจะต้องมีไตติดมาด้วย 2 ข้าง หน้าที่สำคัญของไต คือ การขับของเสียต่าง ๆ ที่อยู่ในร่างกายออกทางปัสสาวะ ทำให้เลือดและร่างกายเราสะอาด และของเสียที่ไตต้องขับออก ส่วนหนึ่งมาจากการเผาผลาญอาหารในร่างกาย และอีกส่วนหนึ่งมาจากการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย และถ้าคนเราไม่มี “ไต” หรือ “ไตวาย” หยุดทำงาน ของเสียเหล่านี้ก็จะคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือดและในร่างกาย ทำให้เลือดและร่างกายสกปรก จนในที่สุดอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะเป็นพิษ หยุดทำงาน และเสียชีวิตในที่สุด !
อ่านต่อบทความที่ท่านอาจสนใจ : กินไข่แดงมากๆ คอเลสเตอรอลสูงจริงหรือ?
ไต ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่ามีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายแล้ว เจ้าตัว ไต ยังมีหน้าที่สำคัญอีกหลายอย่าง ดังนี้ :-
- ควบคุมความดันเลือด (คนไข้ไตไม่ดี จะมีความดันในเลือดสูง)
- ผลิตฮอร์โมน Erythropoietin ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (คนไข้โรคไตวายจะมีเลือดจาง เลือดน้อย)
- ควบคุมความเป็นกรดด่างในร่างกาย (คนไข้โรคไตวาย จะมีสภาพความเป็นกรดสูงมาก ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ และเสียชีวิตได้)
- ควบคุมปริมาณน้ำ และระดับเกลือแร่ในร่างกาย (คนไข้โรคไต จะมีอาการบวม, เกลือแร่ผิดปกติ และถ้าเกลือ โปแตสเซียมผิดปกติ จะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้)
- ควบคุมการสร้างวิตามินดี แคลเซียมและฟอสฟอรัส (คนไข้โรคไตวาย ขาดวิตามิน ดี ทำให้แคลเซียมต่ำ กระดูกเปราะ กระดูกพรุน)
อ่านต่อบทความที่ท่านอาจสนใจ : กะทิลดน้ําหนัก กินแล้วผอม ควบคุมน้ำหนักได้ จริงหรือ?
: มันกุ้ง ของอร่อยปาก กินมากเสี่ยงตายเพราะโรคร้าย จริงหรือไม่?
6 สัญญาณเตือน โรคไต ถามหา
-
ปัสสาวะขัด หรือ ปัสสาวะลำบาก
เป็นอาการที่บ่งบอกว่ามีปัญหาทางระบบทางเดินปัสสาวะ และอาจเป็นโรคไตด้วยก็ได้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก อาการปัสสาวะแสบขัด ที่เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สำหรับผู้ชาย ถ้ามีอาการนี้ อาจะมีโรคนิ่วในไต หรือโรคต่อมลูกหมากโตซ่อนอยู่ได้ ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการนี้ อาจมีอาการไข้ และปวดเอวร่วมด้วย กลุ่มที่สอง อาการปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่งแรง ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะสะดุดกลางคัน ซึ่งบ่งบอกว่ามีการอุดตันของท่อทางเดินปัสสาวะ ที่พบบ่อย ได้แก่ ต่อมลูกหมากโตในเพศชาย หรือมดลูกหย่อนในเพศหญิง ถ้าทิ้งไว้โดยไม่รักษา ปัสสาวะจะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อบ่อย ๆ หรือเกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง จนทำให้ไตวายได้
-
ปัสสาวะกลางคืน หรือปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
กระเพาะปัสสาวะของคนเรา สามารถเก็บปัสสาวะไว้ได้ประมาณ 250 ซีซี หรือเท่ากับน้ำ 1 แก้ว ในคนปกติ ระหว่างนอนหลับตอนกลางคืน 6-8 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะ เพราะตอนกลางคืน ไตจะดูดน้ำกลับมากขึ้น ทำให้ผลิตปัสสาวะได้ลดลง บวกกับตอนกลางคืนเราไม่ได้ดื่มน้ำเพิ่มเข้าไป แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ร่างกายจะไม่สามารถดูดน้ำกลับคืนเข้าร่างกายได้ดีเท่ากับคนที่ไตปกติ ดังนั้น ตอนกลางคืน จึงยังมีปัสสาวะออกจนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ โดยในคนปกติ หากดื่มน้ำก่อนนอน อาจตื่นขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืนได้บ้าง 1-2 ครั้ง แต่ถ้าปัสสาวะตอนกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง ถือว่าผิดปกติ
-
รอบตาบวม หน้าบวม เท้าบวม
อาการบวมจากโรคไต ส่วนใหญ่มาจาก 2 สาเหตุ ได้แก่ โรคไตเรื้อรัง ขนิดไม่มีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ โรคกลุ่มนี้ ไต ไม่สามารถขับเกลือ และน้ำได้ทำให้มีการคั่งของน้ำในร่างกาย จนเกิดอาการบวมกดบุ๋ม หากบวมมาก ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการหอบจากหัวใจวายด้วยโรคไตเรื้อรัง ที่มีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ มักจะมีอาการบวมรอบตาในตอนเช้า และบวมบริเวณรอบ ๆ เท้าในตอนสาย
-
ความดันเลือดสูง
ด้วยค่าความดันเลือดสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เมื่อวัดในขณะพัก พบว่าค่าความดันเลือดสูงทุกครั้ง หากปล่อยให้ความดันเลือดสูงต่อเนื่องกันนาน ๆ ก็สามารถทำให้ไตผิดปกติ และเกิดโรคไตเรื้อรังได้
-
ปวดหลัง ปวดเอว
มีสาเหตุมาจากมีนิ่วในไต หรือในท่อไต อาการปวดเป็นผลมาจากการอุดตันในท่อไต หรือไตเป็นถุงน้ำ เมื่อพองออกจะทำให้มีอาการปวด ลักษณะการปวดมักจะปวดที่บั้นเอว หรือชายโครงด้านหลัง และมักปวดร้าวไปที่ท้องน้อย ขาอ่อน หรืออวัยวะเพศ โดยอาการปวดมักเป็นข้างใดข้างหนึ่ง สิ่งผิดปกติมักพบร่วมด้วย คือ ปัสสาวะที่ออกมาจะเป็นเหมือนสีน้ำล้างเนื้อ หรือขุ่นขาว อาจมีปัสสาวะกะปริดกะปรอย หรือมีอาการปวดหัวหน่าวร่วมด้วย ทั้งนี้ หากมีอาการปวดโดยเฉพาะที่หลัง หรือ เอวโดยไม่ร้าวไปที่ใด อาจจะเกิดจากไตอักเสบก็เป็นได้ ถ้ามีอาการดังกล่าว แพทย์จะตรวจด้วยการเคาะหลังเบา ๆ ถ้าปวดมากจนสะดุ้งแสดงว่า อาจมีอาการไตอักเสบ
โรคประจำตัว ที่สามารถทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรังได้
โดยถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
จะเห็นได้ว่า โรคไต ถือเป็นโรคยอดฮิตที่คนเป็นกันเยอะมากมากในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากอาหารในปัจจุบันที่มีโซเดียมสูง และความน่ากลัวของโรคนี้คือ ทำให้เราต้องเข้าโรงพยาบาลไปตลอดชีวิต รักษาสุขภาพกันนะคะ ออกกำลังกาย วิ่งรอบหมู่บ้านไปพลาง ๆ ก่อน (เพราะช่วงนี้ สวนสาธารณะปิดกัน) พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
………………………….
(เครดิต : www.theworldmedicalcenter.com, รพ.เวิลด์เมดิคอล , themomentum, www.i-kinn.com)
(Credit photo : https://www.freseniusmedicalcare.com/en/having-kidney-disease/ )
บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
EP.181 : มารู้จัก “คอเลสเตอรอล” ทำงานอย่างไร ?
EP. 177 : 8 อาหารโพรไบโอติกส์ สูง ดีต่อระบบขับถ่าย
EP. 171 : มารู้จัก โรค SLE โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ ภูมิคุ้มกันผิดปกติ