ถ้าจำกันได้ ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศ กล่าวว่า สถานการณ์ประเทศไทยตอนนี้ มีผู้ป่วยเบาหวานอยู่ราว 5 ล้านคน หรือเปรียบเทียบ ได้ว่า 1 ใน 11 คนไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไป กำลังป่วยด้วยโรคเบาหวาน และมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งแสนคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้มีถึง 40% ที่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน จะเห็นได้ว่า โรคเบาหวาน คือภาวะที่ไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายที่ชื่อว่า “อินซูลิน” ผิดปกติในกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยกระบวนการนี้ เกี่ยวข้องกับอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน เพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ ดังนั้นภาวะเบาหวาน กับโรคแทรกซ้อนทางตา (บางท่าน จะเรียกว่า เบาหวานขึ้นตา) เป็นโรคแทรกซ้อนทางตาที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และสามารถส่งผลร้ายแรง ถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น อันเป็นผลมาจากภาวะจอประสาทตาเสื่อม
ภาวะเบาหวานขึ้นตา เกิดจากสาเหตุอะไร ?
โรคเบาหวาน คือภาวะที่ไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายที่ชื่อว่า “อินซูลิน” ผิดปกติในกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน โดยกระบวนการนี้ เกี่ยวข้องกับอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน เพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเมื่อน้ำตาลไม่ได้ถูกใช้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งหากผู้ป่วย ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ความผิดปกติของหลอดเลือดนี้ จะส่งผลไปถึงอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย รวมไปถึง “ดวงตา” ด้วย โดยหลอดเลือดในจอประสาทตา จะเริ่มเกิดอาการอักเสบ โป่งพอง มีเลือดและน้ำเหลืองซึมออกมากระจายทั่ว ๆ จอประสาทตา หากปล่อยทิ้งไว้จอประสาทตาจะขาดเลือด เซลล์ในการรับการมองเห็น ถูกทำลายเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นค่อย ๆ ลดลง จนสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเบาหวานขึ้นตา
โดยปัจจัยที่มีผลต่อเบาหวานขึ้นจอตา จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ :-
- ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน ยิ่งเป็นเบาหวานมานาน ยิ่งมีโอกาสพบมีเบาหวานขึ้นจอตาได้บ่อย และรุนแรงมากขึ้น
- การควบคุมระดับน้ำตาล ผู้ป่วยหลายท่านไม่ค่อยควบคุมน้ำตาล เพราะถ้ายิ่งคุมได้ดี ยิ่งลดโอกาสเกิด และลดความรุนแรงของเบาหวานขึ้นจอตาได้
- การมีไตวายจากเบาหวาน เป็นตัวบ่งชี้ว่าน่าจะมีเบาหวานขึ้นจอตาด้วยเช่นกัน
- ความดันเลือดสูงเป็นประจำ อาจทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดของจอตา ซ้ำเติมภาวะเบาหวานขึ้นจอตามากยิ่งขึ้น
- ถ้ามีไขมันในเลือดสูง การรักษาไขมันในเลือดสูง อาจช่วยลดการรั่วของไขมันสะสมที่จอตาได้
- ผู้หญิงที่มีเบาหวานและมีการตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดเบาหวานขึ้นจอตาได้ หรือทำให้เบาหวานขึ้นจอตาอยู่แล้ว รุนแรงมากขึ้นได้
แล้วรู้ได้อย่างไรว่า เบาหวานขึ้นตา แล้ว ?
เบาหวานขึ้นจอตา ระยะแรก อาจไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากขึ้น มักทำให้มีอาการตามัว เห็นเงาดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมา บางรายเห็นภาพบิดเบี้ยว หรือมีม่านมาบัง แต่บางราย ก็อาจไม่มีอาการเลยแม้จะมีเบาหวานขึ้นจอตาอย่างรุนแรงแล้ว แนะนำตรวจตาโดยจักษุแพทย์เท่านั้น ถึงจะทราบชัดเจนว่าเบาหวานขึ้นจอตา
การรักษาเบาหวานขึ้นตา
วิธีง่าย ๆ ที่ดีและสำคัญที่สุดคือ การควบคุมอาหาร และรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากเริ่มมีอาการทางจอประสาทตา แพทย์จะทำการยิงเลเซอร์เพื่อทำลายจอประสาทตาที่ตายแล้วและหลอดเลือดเกิดใหม่ เป็นการป้องกันไม่ให้อาการลุกลามมากขึ้น แต่หากมีดาการเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หรือจอประสาทตาหลุดออก อาจจะต้องรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งผลการรักษานั้นไม่แน่นอน โดยหากปล่อยให้มีอาการรุนแรงถึงขั้นนี้แล้ว แสดงว่าสายตามมักจะเสียไปมากแล้ว
การป้องกันเบาหวานขึ้นตา
- ควรควบคุมอาหาร ระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- รับประทานยาเบาหวาน และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- เน้นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี โดยจักษุแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่หากเริ่มมีอาการผิดปกติ แพทย์อาจจะนัดตรวจบ่อยขึ้น ควรมาตรวจอย่างสม่ำเสมอ
จะเห็นว่า อาการของโรคเบาหวานขึ้นตา แทบไม่ได้แสดงอาการให้เห็นชัดในช่วงแรก ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจมีการชะล่าใจ กว่าจะมารู้ตัวอีกที อาการตามัวก็จะรุนแรงขึ้นจนลามรุนแรงขึ้นถึงตาบอดในที่สุด ฉะนั้น อย่าลืมตรวจตาประจำปี เพื่อดูแลรักษาตาของเราให้มีสุขภาพดีต่อไปนาน ๆ นะคะ พบกันใหม่ ฉบับหน้าค่ะ
…………………………………..
(เครดิต : Diabetic Eye Disease, https://www.niddk.nih.gov.com, 5 ways Diabetes Can Affect Your Eyes & Vision – Webmd, www.webmd.com, laservisionthai.com, www.i-kinn.com )
บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
EP. 186 : 8 ข้อดีของน้ำมันมะกอก ที่คุณอาจไม่เคยรู้