“ถ้ากินยาลดคอเลสเตอรอลครบ 1 เดือน แล้วกินต่อไปเรื่อย ๆ ค่าคอเลสเตอรอลจะลดลดเหลือ 0 ได้ไหมครับ”
เป็นคำถามที่เจอบ่อย ด้วยเพราะอยากให้คอเลสเตอรอลเหลือให้น้อย ๆ ถึงน้อยที่สุด โดยคิดไปเองว่าค่าคอเลสเตอรอลยิ่งน้อยยิ่งดี และหากไม่ได้ศึกษาข้อมูลคอเลสเตอรอลมาก่อน หลายคนยังคงมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล ที่มักมองว่า คอเลสเตอรอล คือ ไขมัน เป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อร่างกาย และอันตรายต่อร่างกาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะเห็นได้ว่า คอเลสเตอรอล มีทั้งข้อดีที่เป็นประโยชน์ และข้อเสียที่เป็นโทษต่อร่างกาย ซึ่งตัวเราเองนั่นเอง ควรรู้จักควบคุมคอเลสเตอรอลในร่างกายตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป โดยเฉพาะเรื่องการทานอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้หลายคนมีระดับค่าคอเลสเตอรอลที่สูงเกินมาตรฐาน ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน ฯลฯ
คอเลสเตอรอล คืออะไร ?
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือสารชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นกึ่งของแข็งและกึ่งของเหลว สามารถพบในอาหาร และพบได้ในเซลล์ทั่วไปของอวัยวะในร่างกาย และโดยปกติ ร่างกายมนุษย์เราสามารถสร้างคอเลสเตอรอลได้ เช่น ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง นอกจากนี้ คอเลสเตอรอล ยังอาจจะได้รับมาจากการทานอาหารเข้าไป และแม้ว่า คอเลสเตอรอล จะถูกจัดว่าอยู่ในกลุ่มสารไขมันในเลือด (Lipid Profile) แต่ในความเป็นจริง คอเลสเตอรอล เป็นสารคล้ายไขมัน แต่ก็ไม่ใช่ไขมันที่แท้จริง ด้วยเพราะคอเลสเตอรอล เป็นสารที่ไม่มีพลังงาน และไม่มีแคลอรี่ ซึ่งต่างจากไขมันที่จะมีพลังงานประมาณ 9 แคลอรี่ต่อกรัม
คอเลสเตอรอล จัดเป็น ลิปิด (Lipid) ?
ซึ่งมีบทบาทสำคัญคือ เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ของสัตว์ (Cell Membrane) และเป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์ฮอร์โมนที่เป็นฮอร์โมนเพศทั้งเพศชายและเพศหญิง ร่างกายเราสามารถสร้างคอเลสเตอรอล ขึ้นมาเองได้ที่ตับ ซึ่งสังเคราะห์ได้วันละ 80-1.500 มิลลิกรัม แล้วถ้าเรามีคอเลสเตอรอลสูง ก็จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือด (Atheroscherosis) ซึ่งเป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบ และเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคความดันเลือดสูง
คอเลสเตอรอล ที่ได้รับจากการกินพวกเนื้อสัตว์ เพราะอาหารที่มาจากพืช จะไม่มีคอเลสเตอรอล
ดังนั้น การกินผัก ผลไม้ เป็นประจำทุกวัน จะช่วยลดคอเลสเตอรอล ได้
คอเลสเตอรอล มีหน้าที่สำคัญอย่างไร ?
หลายคนเข้าใจผิดว่า มีคอเลสเตอรอลในร่างกายถือว่าไม่ดี แท้จริงแล้ว คอเลสเตอรอล มีความสำคัญต่อร่างกายมากมาย เพราะคอเลสเตอรอล เป็นสารลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง (Waxy Substance) แต่ละวันมนุษย์จะต้องใช้คอเลสเตอรอลในการดำรงชีวิต และมีบทบาทต่อร่างกายเรา ดังนี้ :-
- คอเลสเตอรอล เป็นองค์ประกอบของเยื่อผนังห่อเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย
เพื่อสร้างคุณสมบัติความเลื่อนไหลไปมา (Fluidity) ทำให้เกิดความสะดวกต่อการผ่านเข้า – ออกเซลล์ ของสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาติต่าง ๆ เป็นต้น
- คอเลสเตอรอลเป็นวัตถุดิบให้ร่างกายผลิตน้ำดี (Bile) ทราบกันดีว่า น้ำดีเป็นสิ่งที่ร่างกายจะต้องใช้ในการย่อยอาหารประเภทไขมัน รวมถึงช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายอยู่ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค เพื่อให้ร่างกายได้นำวิตามินเหล่านั้น ไปใช้ประโยชน์ต่อไป
- คอเลสเตอรอลเป็นสารเริ่มต้น (Precursor) หรือเป็นวัตถุดิบให้ร่างกายใช้สังเคราะห์วิตามินดี ขึ้นมาใช้เมื่อร่างกายได้รับแสงได้ โดยอาจจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ บริเวณใต้ผิวหนังของมนุษย์เรา ที่มีคอเลสเตอรอล จะมีกระบวนการที่จะทำให้แสงยูวีเหล่านี้กลับกลายมาเป็นวิตามินดี เพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย และช่วยทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน โดยไม่ต้องพึ่งอาหารเสริมต่าง ๆ ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ และยังป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้อีกด้วย
- คอเลสเตอรอล นำไปผลิตฮอร์โมนเพศในร่างกาย คอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นสารสเตียรอยด์ (Steriod) อยู่แล้ว จึงถูกร่างกายนำไปใช้ผลิต สเตอรอยด์ฮอร์โมน (Sterioid Hormones) และคอเลสเตอรอล ยังเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่เป็นแหล่งกำเนิดของฮอร์โนในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ฮอร์โมน Cortisol, ฮอร์โมน Testosterone (ฮอร์โมนเพศชาย) และ Estrogen (ฮอร์โมนเพศหญิง)
คอเลสเตอรอล มีระบบการทำงานอย่างไร ?
จะเห็นว่าคอเลสเตอรอล เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อใช้ในการทำหน้าที่ต่าง ๆ ในแต่ละวัน คอเลสเตอรอล มาจากการทานอาหารต่าง ๆ เข้าไป หรือสามารถผลิตได้เองจากอวัยวะในร่างกาย เช่น ตับ ลำไส้เล็ก ต่อมอะดรินัล สมอง จำนวนคอเลสเตอรอลที่ใช้หมุนเวียน ซึ่งเกิดขึ้นจากการผลิตเองของร่างกายเป็นหลัก รวมกับส่วนที่ได้จากการบริโภคอาหาร ประมาณ 200-300 มิลลิกรัม หรือคิดเป็น 30% จากจำนวนคอเลสเตอรอลทั้งหมดที่ร่างกายได้รับต่อวัน และนำไปหักลบด้วยจำนวนที่ใช้ไปในแต่ละวัน คือ จำนวนที่เหลือหมุนเวียนเท่ากับ 1.100 มิลลิกรัม
ค่าปกติของคอเลสเตอรอล
- ค่าคอเลสเตอรอลต่ำกว่าปกติ ถือเป็นสภาวะที่ไม่ค่อยพบบ่อย ไม่เกิดขึ้นบ่อย ซึ่งอาจมีสาเหตุเกิดจาก
- อาจมีเซลล์ตับตายเฉพาะส่วน
- อาจเกิดจากสภาวะต่อมไธรอยด์ทำงานผิดปกติ
- เกิดสภาวะทุโภชนา หมายถึงการทานอาหารที่ไม่สมดุลกัน โดยอาจมีสารอาหารบางอย่างได้รับไม่เพียงพอ
- ค่าคอเลสเตอรอลสูงกว่าปกติ (อันนี้พบบ่อยมาก) เรียกว่า Hypercholesterolemia ซึ่งสภาวะนี้เป็นอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากทำให้เกิดความเสี่ยง ในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ หากไม่รีบรักษาให้ค่าคอเลสเตอรอลลดลงเป็นปกติ อาจเป็นสาเหตุให้เกิด โรคตับอักเสบ โรคไต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ
3 เหตุผลที่ร่างกายมีคอเลสเตอรอล มากเกินความจำเป็น
ถ้าในแต่ละวัน เราสามารถเลือกทานอาหารประเภทที่ไม่มีคอเลสเตอรอลเลยได้ เช่น อาหารที่ได้จากพืช ซึ่งจะทำให้ร่างกายไม่มีคอเลสเตอรอลเกิน หรือสูงได้ เรามาดูกัน 3 เหตุผลที่ทำให้ร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงกันค่ะ
- กินอาหารที่ปริมาณที่มากเกินความจำเป็น
กินอาหารมากกว่าที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละมื้อในแต่ละวัน
- อาหารที่กินเข้าไป เป็นอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลมาก และเป็นอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) รวมทั้งเป็น ไขมันทรานส์ (Trans Fat) และไขมันจากเนื้อสัตว์
- เกิดจากความเครียด เนื่องจากจะไปทำให้ต่อมอะดรินัล สร้างฮอร์โมน บังคับให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลขึ้นมามากเกินความจำเป็นที่ร่างกายจะใช้งาน
เพราะต้นเหตุ 95% ของคอเลสเตอรอลสูง มากจากพฤติกรรมการกินของเราเอง ส่วนอีก 5% ที่เหลือมาจากโรคร้าย ที่ส่งผลต่อเนื่องทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ ฉะนั้น ถ้าเราสามารถควบคุมระดับคอเลสเตอรอลของเราได้ จะด้วยวิธีทานยาลดไขมัน ทานอาหารเสริมลดไขมันในเลือดสูง (แต่ผู้อ่านแนะนำทานเป็นอาหารเสริม ด้วยเพราะเหตุผลปราศจากเคมีสะสม จะดีที่สุดในกรณีที่ต้องอาศัยตัวช่วยในการลดไขมันในเลือด สนใจสามารถทักหลังไมค์ ไลน์มาก็ได้ จะแนะนะให้ค่ะ) เพิ่มการออกกำลังกาย 3 วันต่อสัปดาห์ ก็จะดีมาก พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
…………………………………………..
(เครดิต : What is Cholesterol ?, www.heart.org, High Cholesterol – Symptoms and causes, www.mayoclinic.org, www.amprohealth.com, www.i-kinn.com
- Hanukoglu i. Jefcoate CR (1980). “Pregnenolone separation form cholesterol using Sephadex LH-20 mini-coloumns” Journal of chromatography A.190(1):256-262
- Javitt NB (December 1994). “Bile acid synthesis from cholesterol: regulatory and auxiliary pathways”. FASEB J.8 (15): 1308-11
- Chen HW. Heiniger HJ (August 1978). :Biological activity of some oxygenated sterols” Science.201(4355):498-501