“ผู้มีภาวะไขมันในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์ จะมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ 5 เท่า ถ้าเทียบกับคนปกติ”
ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาวะไขมันในเลือดสูง ถือเป็นโรคยอดฮิตที่คนไทยเป็นกันมาก เพราะนอกจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแล้ว (พวกอาหารการกิน การใช้ชีวิตที่รีบเร่ง ขาดการออกกำลังกาย) โรคนี้ยังเกิดจากพันธุกรรมได้ ซึ่งแน่นอน อย่างที่เราท่านทราบกันดี ไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ โดยอาจมาจากคอเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglceride) อย่างใดอย่างหนึ่งสูงผิดปกติ หรือสูงทั้งสองอย่างก็ได้ และถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน ซึ่งอันตรายถึงชีวิต
พันธุกรรมของภาวะไขมันในเลือดสูง
โดยกระแสเลือดมีส่วนสำคัญในการส่งคอเลสเตอรอลในร่างกายคนเรา หลังจากอนุภาคที่เล็กมากของคอเลสเตอรอล แอลดีแอล ไปเกาะกับหน่วยรับของเซลล์ อนุภาคเหล่านั้นจะถูกดูดซึม จากนั้น ยีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอลดีแอลอาร์ (LDLR) บนโครโมโซม 19 ทำหน้าที่ในการผลิตหน่วยรับเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมเกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของยีน แอลดีแอลอาร์ ซึ่งส่งผลต่อจำนวย และโครงสร้างของหน่วยรับ สาเหตุอีกประการหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีนชนิดอื่น เช่น ยีนเอพีโอบี (APOB) หรือ ยีนส์พีซีเอสเค 9 (PCSK9) ดังนั้น คอเลสเตอรอลแอลดีแอล จึงไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ที่ควรจะเป็น
สัญญาณเตือน ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม
- มีประวัติการเกิดภาวะนี้กับคนในครอบครัว
- เกิดโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย
- มีประวัติคนในครอบครัว ที่เป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย
- ระดับคอเลสเตอรอล LDL สูง
- ระดับคอเลสเตอรอล LDL สูงในพ่อหรือแม่ หรือทั้งคู่
- เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด คือ อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ไขมันเกาะที่ผิวหนัง (Xanthomas) คือภาวะที่คอเลสเตอรอลที่บริเวณหัวเข่า ข้อศอก
แต่ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมที่มีอาการรุนแรงที่สุด คือ หัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งมีอันตรายถึงแก่ชีวิต
อ่านบทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ : สูตรลดไขมันในเลือด สมุนไพรดักจับไขมัน ปลอดภัย ดีต่อร่างกาย
ภาวะไขมันในเลือดสูง พบได้จากหลายปัจจัย
ปัจจัยภายนอก
- ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- การดื่มสุรา หรือ สูบบุหรี่เป็นประจำ
- รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง
ปัจจัยภายใน
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม
- เกิดจากการใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด
- โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย โรคไต
เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้
การใช้ชีวิต และการเลือกรับประทานอาหาร ตลอดจนพฤติกรรมชีวิต ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่มีความเสี่ยง หรือ กำลังอยู่ในภาวะนี้ ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยง และป้องกันการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้
- ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง สามารถรับประทานไข่ได้ แต่ไม่ควรรับประทานไข่แดงเกิน 1 ฟองต่อวัน ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงปกติ สามารถรับประทานไข่แดง หรือ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลได้ในปริมาณไม่เกิน 1-2 ฟองต่อวัน
- เลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ ต้องไม่ติดหนัง โดยเฉพาะปลาทะเล เลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ เช่นเมนูกะทิ เนื้อสัตว์แปรรูป ขนมอบ (ขนมปัง พาย เค้ก คุ้กกี้ โดนัท) เป็นต้น อ่านต่อ ของว่างไม่อ้วน ของกินเล่นแก้หิวแบบมีประโยชน์ ไม่เสี่ยงโรค
- เลือกวิธีปรุงอาหารด้วยการต้ม อบ นึ่ง ตุ๋น ยำ ย่าง แทนการทอด และการผัดที่ใช้น้ำมันมาก
- เลือกใช้น้ำมันปาล์ม สำหรับทอด น้ำมันถั่วเหลือง สำหรับผัด และเลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูงในสัดส่วนพอดี เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อย รับประทานผักเพียงพอ (400 กรัมต่อวันหรือเทียบเท่ากับผัก 3 ทัพพีและผลไม้ 2 จานกาแฟต่อวัน) อ่านต่อ 8 น้ำมันไขมันต่ำ ดีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงคอเลสเตอรอลสูง
- เน้นทานเมล็ดธัญพืช ผลไม้ ผัก เพราะสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอล โดยทานผัก และ ผลไม้ทั้งผล วันละ 5 สี เช่น กล้วย ฝรั่ง แก้วมังกร ฯลฯ
- เลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังการสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เพื่อลดระดับไขมันในเลือด
ดังนั้น หากทราบว่าเรามีภาวะไขมันในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์ ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และรับประทานอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงของไขมันในเลือดสูงมากขึ้น ออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมงก็ยังดีต่อสุขภาพ พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
.……………………………..
(เครดิต : http://circ.ahajournals.org/content/early/2013/11/11/01.cir.0000437741.48606.98, samitivejhospitals.com, http://www.acriskcalculator.com, Congenital high Cholesterol, https://medlineplus.gov.com), vibpharam.com/detail?cat_id.lecture, www.i-kinn.com)
บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
EP. 189 : เป็นเบาหวานอยู่ กินน้ำตาลเทียม ได้มั๊ย ?