อาการคอเลสเตอรอลสูง สามารถสังเกตได้อย่างไร? ภาวะคอเลสเตอรอลสูงนั้น ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้ป่วยหลายราย ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ป่วยนั้นมักจะไม่ทราบเลยว่า ตนเองมีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงอยู่ ทำให้ไม่ได้ดูแลตนเองเท่าที่ควร วันนี้เราจึงจะมาพูดถึง อาการคอเลสเตอรอลสูง กันค่ะ
สาเหตุของภาวะคอเลสเตอรอลสูง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงนั้น โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงและมีไขมันทรานส์มากเกินไป เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ ไข่ เบเกอร์รี่ (โดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของเนยเทียม) และอาหารทะเล นอกจากนี้พฤติกรรมบางอย่างก็สามารถส่งผลให้คอเลสเตอรอลเกินมาตรฐานได้ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และมีแนวโน้มว่าจะมีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
พันธุกรรมก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมจากยีนที่จะถ่ายทอดจากพันธุกรรมได้ ทำให้หากมีบรรพบุรษหรือพ่อแม่ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง ลูกก็มักจะได้รับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้มากกว่าคนที่ไม่มีพ่อแม่เป็น นอกจากนี้ภาวะของโรคอื่นๆ อย่างเช่น โรคเบาหวาน ภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติก็เพิ่มความเสี่ยงและอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
โรคแทรกซ้อนของผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง
เนื่องจากคอเลสเตอรอลนั้นทำให้เกิดการสะสมของไขมันในเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบลงทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ โดยภาวะนี้มักจะเลี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น
- อาการเจ็บหน้าอก (Angina Pectoris)
- ความดันโลหิตสูง สามารถอ่านต่อได้ที่ 5 สัญญาณโรคความดันโลหิตสูง สัญญาณเตือนสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Heart attack) หรือ หัวใจวาย
- โรคเบาหวาน
- โรคตับ
- โรคต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง (Underactive Thyroid)
วิธีสังเกต อาการคอเลสเตอรอลสูง
วิธีสังเกตอาการของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงคอเลสเตอรอลในเลือดสูงนั้นจะสังเกตได้ยากค่ะ เนื่องจากโรคนี้มักจะไม่แสดงอาการใดๆ ซึ่งแตกต่างจากโรคอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีวิธีสังเกตปัจจัยความเสี่ยงค่ะ วิธีสังเกตอาการหรือปัจจัยเสี่ยงมีดังนี้
- มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
- มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือ โรคอ้วน แต่ในบางกรณีคนผอมก็สามารถเป็นโรคคอเลสเตอรอลสูงได้ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่ คอเลสเตอรอลกับคนผอม รู้มั๊ย..คนผอม ก็คอเลสเตอรอลสูงได้ (นะ) !
- มีพฤติกรรมการกินที่เสี่ยงต่อคอเลสเตอรอลสูง เช่น ชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทะเล อาหารทอด อาหารหวานจัด เป็นประจำ
- ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายน้อยมาก
- ตุ่มไขมันขึ้นขอบๆ ตา
- มีพ่อแม่หรือญาติใกล้ชิดมีภาวะคอเลสเตอรอลสู
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต เบาหวาน ความดันเลือดสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง หรือตับอ่อนอักเสบ
สำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงข้างต้น สามารถเข้าตรวจสุขภาพได้ที่โรงพยาบาล และควรตรวจซ้ำให้ทุกๆ ปี หรือ 5 ปี โดยก่อนตรวจควรงดอาหารและน้ำก่อนเข้ารับการตรวจ 12 ชั่วโมง
สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อ คอเลสเตอรอลสูง
- ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาที่เสี่ยงต่อคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล รวมถึงการรับประทานอาหารหวานผลไม้รสหวานจัด และหลีกเลี่ยงเมนูสุ่มเสี่ยง สามารถอ่านต่อได้ที่นี่ 9 เมนูอาหารตามสั่ง คอเลสเตอรอลสูง ที่ต้องหลีกเลี่ยง
- เน้นการทานเนื้อปลาเป็นหลัก หรือ เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ 7 ปลาไทยโอเมก้าสูง ดีต่อใจ ราคาไม่แพงแถมดีต่อสุขภาพ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
- ควรงดอาหารทอด หรือเจียว เนื่องจากจะทำให้คอเลสเตอรอลเกินมาตรฐาน แต่ถ้าหากอยากทานจริงๆ ควรเลือกน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน
- ทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูงในทุกๆ มื้อ เช่น คะน้า ฝรั่ง ส้ม เม็ดแมงลัก แก้วมังกร ลดไขมันในเลือดได้
- การออกกำลังกาย อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที ซึ่งหากไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ไม่ควรเริ่มออกกำลังกายหนักๆ เพราะเสี่ยงบาดเจ็บได้ ดังนั้นควรจะวอร์มร่างกายก่อน หากไม่ทราบว่าจะต้องอย่างไร สามารถอ่านต่อได้ที่นี่ 5 สิ่งควรทำก่อนออกกำลังกาย ลดการบาดเจ็บ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ
สอบถามเพิ่มเติมและสั่งซื้อผลิตภัณฑ์
HOTLINE : 094 490 8888, 089-939-2799
ID Line : @kinnworldwide
Website : www.kinn.co.th
Facebook : www.facebook.com/www.kinn.co.th
ID Line :http://nav.cx/sUt9Ndh
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
คอเลสเตอรอลสูงเกิน 200 ต้องทานยามั๊ย ?