คนไทยมีปัญหาเกี่ยวกับโรคไตสูงมาก เนื่องจากพฤติกรรมการกินที่มักจะติดการทานโซเดียมสูงที่ได้รับจากเครื่องปรุงรสทั้งน้ำปลา ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว น้ำปลาร้า เกลือต่าง ๆ และยังได้รับโซเดียมแฝงที่มาจากอาหารแช่แข็งต่าง ๆ อาหารสำเร็จรูป เนื้อสัตว์แปรรูป ฯลฯ และเมื่อร่างกายได้รับโซเดียมเข้าไปเยอะ ๆ ก็ส่งผลต่อการทำงานของไต เนื่องจากไตเป็นอวัยวะภายในที่ทำหน้าที่กรองของเสีย ควบคุมความเป็นกรด-ด่างในเลือด ควบคุมเกลือแร่และปริมาณน้ำในร่างกาย เมื่อไตทำงานหนักเกินไปจนเกิดความเสื่อมก็จะส่งผลให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดภาวะเลือดจาง ขาดวิตามิน สามารถส่งผลให้เกิดโรค เช่น ความดันในเลือดสูง โรคเบาหวาน กรวยไตอักเสบ ไตอักเสบ นิ่วในไต ไตเรื้อรัง และไตวาย ดังนั้นหากต้องการรักษาสุขภาพไต ควรลดการทานเค็ม ลดเกลือลง
ปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมในแต่ละวัน
- คนทั่วไป ไม่ควรทานโซเดียมเกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม
- หากเป็นผู้ป่วยความดันเลือดสูง ไม่ควรทานโซเดียมเกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ไม่ควรทานโซเดียมเกินวันละ 1,000 – 1,500 มิลลิกรัม
- ผู้ป่วยโรคไตแบบรุนแรง ไม่ควรทานโซเดียมเกินวันละ 500 มิลลิกรัม
เมนู-อาหารผู้ป่วยโรคไต เมนูไหนทานได้ เมนูไหนทานไม่ได้
อันตรายจากยาพาราเซตามอล กินมากไปเสี่ยงไตพัง
อยากลดเกลือ ลดความเค็มควรทำอย่างไร
1.เน้นทานเนื้อสัตว์สด
สำหรับผู้ที่ต้องการลดปริมาณโซเดียมเพื่อช่วยให้ไตทำงานหนักน้อยลง แนะนำให้ทานเนื้อสัตว์สดมากกว่าเนื้อสัตว์แช่แข็ง เนื่องจากในกระบวนการแช่แข็งนั้นจำเป็นต้องใช้เกลือเพื่อเพิ่มรสชาติ สารกันบูด สารโซเดียมไตรโพลีฟอตเฟต (Sodium Tripolyphosphate) เพื่อช่วยลดการสูญเสียความชุ่มชื้นในเนื้อสัตว์ เพื่อรักษาคุณภาพและรักษาความชุ่มชื้นระหว่างการละลาย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการทานเนื้อแช่แข็งโดยเฉพาะ กุ้งแช่แข็ง ปลาแช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง และเนื้อสัตว์แปรรูปต่าง ๆ เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก ลูกชิ้นต่าง ๆ ด้วย
คอเลสเตอรอลในอาหารทะเล ชนิดไหนกินได้ ชนิดไหนต้องเลี่ยง
2.หลีกเลี่ยงการทานอาหารสำเร็จรูป
ในปัจจุบันมีอาหารสำเร็จรูปเช่น ปลากระป๋อง ซุปกระป๋อง และอาหารพร้อมทานประเภทอุ่นไมโครเวฟทั้งหลายที่ให้ความสะดวกสบายมากขึ้นแถมยังอร่อยถูกปาก แต่อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่เต็มไปด้วยโซเดียม โมโนโซเดียมกลูตาเมต (Monosodium Glutamate หรือ MSG) ที่เวลาทานจะต้องระมัดระวังมากเพราะแค่ปลากระป๋อง 100 กรัมก็มีโซเดียมสูงถึง 3,000 มิลลิกรัม ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานปริมาณโซเดียมของคนทั่วไปที่ไม่ควรทานโซเดียมเกินวันละ 2,400 มิลลิกรัมแล้ว ดังนั้นทางที่ดีไม่ควรทานบ่อย หรือ หากต้องการทานจริง ๆ ควรแบ่งทานเป็น 2-3 มื้อจะดีที่สุด
อันตรายจากซุปก้อน ซุปผง ซุปสำเร็จรูป อร่อยได้ง่าย ๆ แต่เสี่ยงไตพัง
3.ลด-เลือกเครื่องปรุงรสชาติ
ไม่ควรปรุงรสชาติให้จัดจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ซีอิ๊ว น้ำปลา น้ำตาล เกลือ เต้าเจี้ยว กะปิ น้ำปลาร้า ผงชูรส ซอสหอยนางรม ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก กะทิ แต่ควรหันมาใช้เครื่องปรุงรสชนิดทางเลือกแบบลดโซเดียม หรือ เน้นการแต่งกลิ่นด้วยวิธีธรรมชาติเช่น การใช้เครื่องเทศจำพวกกระเทียม พริกไทย ใบมะกรูด โหระพา ข่า ใบแมงลัก ตะไคร้ สมุนไพรเหล่านี้จะช่วยเพิ่มรสชาติให้จานอาหารเข้มข้นขึ้นแบบที่ไม่ต้องเติมเกลือเพิ่มและเพิ่มกลิ่นหอมช่วยให้อยากอาหารไม่ให้อาหารจืดชืดจนเกินไป
ชนิดน้ำตาลแต่ละประเภท น้ำตาลแดง น้ำตาลทรายต่างกันอย่างไร เหมาะกับใคร
4.ลดการทานน้ำผัก-ผลไม้
หลายคนมักจะทานน้ำผัก-ผลไม้เพื่อสุขภาพ เพื่อเพิ่มกากใยอาหารให้ตัวเอง แต่ทราบหรือไม่ว่าน้ำผัก-ผลไม้สำเร็จรูปนั้นนอกจากคุณประโยชน์ที่ได้รับแล้วยังแถมโซเดียมในปริมาณสูงมากด้วย โดยบางกล่องอาจจะมีปริมาณโซเดียมสูงถึง 700 กรัม ดังนั้นหากต้องการซื้อน้ำผักมาดื่มเพื่อสุขภาพควรอ่านข้างกล่องให้ดี โซเดียมไม่ควรเกิน 140 กรัมต่อ 1 กล่อง หรือทางที่ดีก็ควรปั่นน้ำผักทานเองจะดีที่สุด
EP.178 : 5 ผลไม้ลดไขมันในเลือด หาทานง่าย ราคาถูก
5.ทำอาหารทานเอง ลดการทานนอกบ้าน
การทำอาหารทานเองเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่สามารถช่วยควบคุมปริมาณโซเดียม เนื่องจากการทานอาหารนอกบ้านหรือทานอาหารจานด่วนบ่อย ๆ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการรับโซเดียมเข้าไปในร่างกาย เพราะร้านอาหารตามสั่งและอาหารจานด่วนนั้นมักจะเติมเครื่องปรุงต่าง ๆ ทั้งซอส เกลือ ผงชูรสและเครื่องเทศต่าง ๆ ลงไปมาก ๆ เพื่อให้รสชาติเข้มข้นถึงใจเพราะต้องการให้ลูกค้ารู้สึกอร่อยและไม่ต้องปรุงรสชาติเพิ่ม ดังนั้นหากเราทำอาหารทานเองก็สามารถควบคุมปริมาณเครื่องปรุง และยังสามารถเลือกใช้เครื่องปรุงรสชนิดทางเลือกแบบลดโซเดียมได้ด้วย
6.ลดการใช้พริกน้ำปลา-ซีอิ๊ว
คนไทยมักจะติดการทานกับข้าวกับพริกน้ำปลาหรือซีอิ๊วเพื่อเพิ่มรสชาติให้เข้มข้นขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลให้ร่างกายได้รับโซเดียมเกิน ดังนั้นควรลดการปรุงอาหารเพิ่มและการทานพริกน้ำปลา เพื่อป้องกันการเสียสุขภาพไตในระยะยาวค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
7เคล็ดลับ กินของทอดยังไงให้ผอม สุขภาพดี ปลอดภัย100%