ความดันเลือดสูง ถือเป็นสัญญาณที่เป็นจุดเริ่มต้นของอีกหลายโรค และมักมีสาเหตุสำคัญ ๆ มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ยกตัวอย่างแบบเห็นภาพเลยว่า ใครที่ชอบทานอาหารแบบติดรสเค็มหล่ะก็ ความดันสูงชัวร์ค่ะ แม้กระทั่งอาหารที่มีไขมันสูง นอกจากทำให้ร่างกายมีไขมันสูงแล้ว ยังดึงความดันเลือดสูงตามมาอีกด้วย ภาวะความดันสูง ถือเป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ และถือเป็นภาวะที่คนไทยเป็นกันเยอะทีเดียว
มารู้จักความดันเลือดสูง
คือความดันในหลอดเลือดขณะหัวใจสูบฉีดเลือดเข้าสู่หลอดเลือด โดยแบ่งเป็น ความดันซิสโตลิก (Systolic Pressure) คือ ค่าความดันเลือดสูงสุดขณะที่หัวใจบีบตัว และความดันไดแอสโตลิก (Diastolic Pressure) คือ ความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ในการวัดผลความดันเลือดจึงปรากฏเป็นตัวเลข 2 จำนวน โดยจะบันทึกค่าความดัน ซิสโตลิกเป็นตัวแรก และตามด้วยความดันไดแอสโตลิก เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท (ผู้เขียนเคยเขียนเกี่ยวกับ ภาวะความดันในเลือดสูง จะมีอาการอย่างไรบ้าง)
ความดันเลือดสูง มีอาการอย่างไร
ความดันเลือดสูง ถือเป็นภัยเงียบ Silent Killer เพราะมักไม่แสดงอาการใด ๆ และเมื่อเกิดโรคนี้แล้ว มักเป็นเรื้อรัง รุนแรงหากว่าไม่สามารถควบคุมอาการที่เกิดขึ้นได้ และแน่นอน อาการของโรคความดันเลือดสูง มักเป็นอาการที่เกิดข้างเคียงจากการเป็นโรคในกลุ่มดังต่อไปนี้ :-
- โรคหลอดเลือดสมอง (ไขมันในเลือดสูง)
- โรคเบาหวาน โรคอ้วน
อายุมากขึ้น เสี่ยงความดันสูงมากขึ้น
ทราบไหมค่ะว่า เมื่อเราอายุมากขึ้น มีโอกาสเสี่ยงต่อความดันเลือดสูงขึ้น เพราะด้วยพฤติกรรมที่เรารับประทานอาหารอร่อย ๆ เข้าร่างกายเหมือนเดิม โดยที่ร่างกายเราเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง และจูงไขมันในเลือดสะสมในร่างกายมากขึ้นอีกด้วย แถมอาหารที่มีขายในท้องตลาด บอกได้เลยว่า ไม่ถูกหลักโภชนาการเสียทีเดียว ดังนั้น เมื่ออายุมากขึ้น เราต้องเลือกโภชนาการรับประทานอาหารให้มากขึ้น ถูกต้องค่ะ อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความดันเลือดขึ้นได้ และในทางกลับกัน ถ้าเราสามารถเลือกอาหารที่ทำให้ความดันเลือดลงได้ ก็จะดีไม่ใช่น้อย ใช่ไหมค่ะ
แล้วถ้าความดันสูงติดต่อกันนาน ๆ มีผลข้างเคียงไหม ?
ถือเป็นคำถามที่พบบ่อย เพราะหลายคนอาจยังไม่รู้ ด้วยโรคความดันสูง นั้นเป็นโรคเรื้อรัง ที่เรียกว่าเรื้อรัง เพราะรักษาให้หายขาดยาก แต่ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ หากมีการควบคุมอาการมาตั้งแต่ต้น ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด ปัจจุบันก็มีอาหารเสริม ที่สกัดจากถั่วนัตโตะธรรมชาติ ก็สามารถมาช่วยลดความดันเลือดสูง ได้ดีทีเดียว (ซึ่งอาจเป็นข้อเลือกเพื่อเลี่ยงยาเคมีได้ อีกทางหนึ่ง) ในทางตรงกันข้าม ทางหากเราดูแลหรือควบคุมอาการความดันเลือดสูงไม่ได้ ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ
อาหารลดความดัน ช่วยลดความดันเลือดสูงได้
1.อาหารคลีน
ขอหยิบมาไว้ลำดับแรกเลย อาหารคลีน หมายถึง อาหารที่ปรุงด้วยวิธีที่ใช้ไขมันต่ำ แป้งไม่ขัดสี อย่างถ้าเราเน้นทานข้าว ควรเลือกเป็นข้าวกล้อง ถ้าเลือกทานขนมปัง ก็เน้น ขนมปังโฮลวีท โดยอาหารคลีน มักจะผ่านการปรุงรสน้อย และถ้าเราสามารถทานอาหารคลีนได้เป็นประจำ (โดยไม่เบื่อ) ก็จะช่วยให้ระดับความดันเลือดลดลงได้ แถมระดับโซเดียมในร่างกายลดลงอีกด้วย
2.เน้นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง
เพราะด้วยโพแทสเซียม จะช่วยควบคุมระดับความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ผัก ผลไม้ ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น อินทผาลัม ผักโขม เห็ด กล้วย ส้ม แตงโม ยกเว้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ควรเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงค่ะ
3.ถั่วนัตโตะ และ ธัญพืชต่าง ๆ อาหารลดความดัน
ที่แนะนำถั่วนัตโตะ เพราะ เป็นสายพันธ์เดียวที่ช่วยลดความดันเลือดสูงได้เห็นผล แถมยังช่วยลดไขมันในเลือดได้ดีเยี่ยมอีกด้วย (อันนี้ เพื่อนผู้เขียนบอกต่อ ๆ กันมา) ถึงแม้ เจ้าถั่วนัตโตะ จะมีกลิ่นแรง ฉุน เป็นเอกลักษณ์ของถั่วชนิดนี้ แต่ปัจจุบัน ก็มีอาหารเสริมที่สกัดถั่วนัตโตะเข้มข้น จึงลดปัญหาเรื่องกลิ่น และควรเลือกอาหารเสริมถั่วนัตโตะสกัด ที่มีความเข้มข้นมาก ส่วนถั่วอื่น ๆ เราต้องเลือกทานถั่ว หรือ ธัญพืชที่อบแห้ง ไม่ใช่อบเกลือนะคะ แต่แนะนำควรทานในระดับที่พอดี ไม่มากเกินไป เพราะธัญพืชให้พลังงานต่อร่างกายเช่นกันค่ะ
4.ปลานึ่ง อาหารลดความดัน
ปลานึ่ง ควรลอกหนังออก ซึ่งปลาจะให้โปรตีน ไขมันต่ำ และแมกนีเซียม ให้พลังงาน และช่วยทำให้หลอดเลือดหัวใจแข็งแรง อ่านต่อ 7 ปลาไทยโอเมก้าสูง ดีต่อใจ ราคาไม่แพงแถมดีต่อสุขภาพ
5.น้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอก เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดความดัน ลดไขมันในเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก ซึ่งแน่นอนว่าถึงแม้น้ำมันมะกอกจะเป็นน้ำมันที่ดีแต่ก็ไม่สามารถประกอบอาหารที่หลากหลายได้ ดังนั้นควรเลือกน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพจะดีที่สุดค่ะ อ่านต่อ 8 น้ำมันไขมันต่ำ ดีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงคอเลสเตอรอลสูง
จะเห็นได้ว่า การปรับพฤติกรรมในการทานอาหาร ก็สามารถช่วยลดความดันเลือดสูงได้เช่นกัน นอกจากปรับพฤติกรรมในการทานอาหาร และเพิ่มการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยนะคะ โดยควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบาน ไม่เครียด เพียงง่าย ๆ เท่านี้ ร่างกายก็แข็งแรง ไร้โรคภัย พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
…………
(เครดิต : The 17 Best foods for high blood pressure, www.healthline.com, high blood pressure diet : Nutrient and Food Recommendations, www.webmd.com, www.i-kinn.com, bangkokpattayahospital.com, photo by : https://hopkinsdiabetesinfo.org/7-foods-to-eat-to-lower-blood-pressure/)
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
7 เมนูอาหารญี่ปุ่นสุดอ้วน เพิ่มความเสี่ยงไขมันในเลือดสูง
4 อาหารไขมันต่ำ แต่คอเลสเตอรอลสูง ไม่อยากเสี่ยงต้องเลี่ยง
คอเลสเตอรอลสูง ห้ามกินไข่จริงเหรอ
Anonymous
December 25, 2020ความดันสูงมาหลายปี ก้ใช้วิธีเลือกทานผลไม้นี่หล่ะค่ะ ตอนนี้สวิงบ้าง อาศัยไม่เครียด และออกกำลังกาย
Siriphorn Ariya
January 4, 2021ดูแลสุขภาพกันนะคะ โดยเฉพาะช่วงนี้โควิทด้วยค่ะ