ใครที่ชื่นชอบอาหารปิ้ง ย่าง โดยเฉพาะกลุ่มบุฟเฟต์ปิ้งย่าง มื้อปาร์ตี้จัดหนักที่หลาย ๆ คนชื่นชอบ (ผู้เขียน ก็เคยชื่นชอบอาหารปิ้ง ย่าง อย่างมาก ชนิดต้องสั่ง 2 กระทะ และทานทุกอาทิตย์ ปัจจุบันทานบ้าง ประมาณปีละ 2 ครั้ง) แต่ทราบหรือไม่ว่า ในขณะที่ปิ้ง ย่าง นั่นเท่ากับว่าเรากำลังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ผู้อ่านหลายท่านเข้าใจเพียงว่า ทานอาหารปิ้ง ย่างเยอะ อ้วนแน่ ไขมันในเลือดสูง ขอบอกว่าไม่เพียงแค่ปัญหารอบเอวเท่านั้นที่ต้องระวัง แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิด “มะเร็งทางเดินอาหาร” เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ มะเร็งกระเพาะอาหารได้ จากสถิติของสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งโลก พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง ผู้บริโภคส่วนใหญ่มัดขาดความเข้าใจ และไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายของสารก่อมะเร็ง ที่อาจปนเปื้อนมาในอาหาร วันนี้ ผู้เขียน จึงขอรวบรวมประเภทอาหารที่อาจก่อความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง มาไว้ที่นี้
สารก่อมะเร็ง ที่พบในอาหารปิ้ง ย่าง
ทราบหรือไม่ว่า สารก่อมะเร็งที่พบในอาหารประเภทปิ้ง ย่าง และรมควันนั้น คือ สารพีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon – PAH) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของไขมันในเนื้อสัตว์ ที่หยดลงไปโดนถ่านไฟ จนทำให้เกิดเป็นควันที่มีพิษ เป็นสารก่อมะเร็ง และลอยกลับขึ้นมาจับที่เนื้อสัตว์บนเตา หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ก็จะเกิดการสะสมในร่างกาย จนเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้
กินประจำ เฟรนด์ฟรายทอด เสี่ยงเป็นมะเร็งไหม ?
สำนักงานอาหารแห่งประเทศสวีเดน ยังทำการวิจัยพบว่า อาหารที่ถูกทอด หรือ อบด้วยความร้อนสูง เช่น มันฝรั่งทอด ขนมปังกรอบ และบิสกิตนั้น มีสารอะคริลาไมด์ (Acrylamide) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งประกอบด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้างร้านใช้น้ำมันทอดแบบซ้ำแล้วเกิน 2 ครั้ง พบว่ามีสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำมันที่เสื่อมคุณภาพ ซึ่งหากกินติดต่อกันเข้าไป ก็อาจสะสมในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร และขณะที่ผู้ปรุงอาหาร ได้สูดดมไอของน้ำมันเข้าไป ก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ยิ่งโดนความร้อนสูง ยิ่งเสี่ยงมะเร็ง
มีการศึกษาพบว่า อาหารที่ถูกปรุงสุกโดยใช้ความร้อนสูงโดยตรงกับอาหารเลย ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งที่มีชื่อว่า PAH ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นเมื่อไขมันในเนื้อสัตว์หยดลงบนเตาถ่าน แล้วเกิดควันที่เป็นสารก่อมะเร็งลอยกลับมาเกาะอยู่บนเนื้อสัตว์ หากกินเข้าไปมาก ๆ ก็จะสะสมในร่างกาย ซึ่งสารชนิดนี้ คือสารชนิดเดียวกับที่พบในควันท่อไปเสียรถยนต์ หรือควันบุหรี่ นั่นเอง
เนื้อวัว เนื้อหมู ไขมันยิ่งสูง ก็ยิ่งเสี่ยง
ใครที่ชื่นชอบการกินเนื้อหมู เนื้อวัวสไลด์ แบบผสมไขมันที่นิ่มละลายในปาก เคี้ยวลื่นคอ ความอร่อยที่ยากจะห้ามใจเหล่านี้ คือสาเหตุของความเสี่ยงโรคมะเร็ง เนื่องจากไขมันในสัตว์เนื้อแดง จะเป็นไขมันอิ่มตัว ซึ่งจะมีความเชื่อมโยงกับการก่อตัวของมะเร็งลำไส้ใหญ่
จริงหรือไม่? กินเนื้อแดงเสี่ยงมะเร็ง เสี่ยงโรคร้ายตายไว?
หลบมากินปลา (ย่าง) ก็เจอสารก่อมะเร็งได้นะ
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น กินเนื้อสัตว์เนื้อแดง ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าการกินปลาทะเลย่าง จะไม่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เพราะในปลาย่าง ปลาหมึกย่าง ไข่ปลาหมึกย่าง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่จะมีสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า “สารไนโตรซามีน” แฝงตัวอยู่รวมไปถึง “เบคอน” ใครที่ชื่นชอบ อาจต้องทานน้อยลง เพราะอาหารเหล่านี้มีสารก่อมะเร็งที่มีชื่อว่า สารไนเตรท เจือปนอยู่ด้วย
รสชาติเข้มข้น นั่นหมายถึง “โซเดียมสูง”
นักกินที่ชอบอาหารปิ้งย่าง มักชื่นชอบเนื้อสัตว์ที่ผ่านการหมักด้วยเครื่องปรุงมาอย่างเข้มข้น (ยิ่งเข้มข้นมาก ยิ่งชอบ) เพราะจะเพิ่มความอร่อย แต่ทราบหรือไม่ว่า ยิ่งหมักให้เข้มข้นมาก ยิ่งทานอร่อยมาก ยิ่งเพิ่มโซเดียมให้กับร่างกายมากด้วย ซึ่งปริมาณโซเดียมที่สะสมอยู่ในร่างกายไม่เพียงแค่ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไตแล้ว แต่ยังเสี่ยงโรคร้ายอื่น ๆ เข่น มะเร็งกระเพาะอาหาร ได้เช่นกัน
อาหารไขมันสูง เลี่ยงได้ (ดีกว่า)
อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง หนังและส่วนติดไขมัน (หมูติดมัน เบคอน หมูกรอบ) เนื้อสัตว์แปรรูป (ไส้กรอก ไส้อั่ว แหนม แฮม หมูยอ) ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลมากขึ้น จนเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดตีบแล้ว ไขมันประเภทนี้ ยังมีส่วนเชื่อมโยงต่อการก่อตัวของมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อาหารประเภทนี้ ถูกนำไปปรุงในอุณหภูมิที่ร้อนจัด ก็จะก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง ที่มีชื่อว่า เอชชีเอ (Heterocyclic Amie – HCA)
การรับประทานอาหาร ปิ้ง ย่าง ให้ปลอดภัย ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
- เลือกกินเนื้อปลา และเนื้อไก่ ไม่ติดหนัง เพราะมีไขมันน้อย
- ตัดส่วนที่เป็นมันออกก่อนปิ้งย่าง เพราะไหม้ง่าย
- ปิ้ง ย่าง ให้สุกพอเหมาะก็พแ เพื่อลดเวลา และสารอันตรายให้น้อยที่สุด
- ไม่ย่าง ปิ้ง เกรียมจนเกินไป และควรทำความสะอาดคราบไหม้ที่ตะแกรงอยู่เสมอ
- พยายามเลี่ยงกินเนื้อแปรรูป จำพวกไส้กรอก และเบคอน
- ดื่มน้ำเปล่าแทนการดื่มน้ำอัดลม หรือ แอลกอฮอล์
- หมักเนื้อด้วย น้ำมะนาว สาระแหน่ โรสแมรี่ ช่วยลดสารก่อมะเร็ง
- กินผักด้วยเสมอ เมื่อทานอาหารปิ้ง ย่าง
เข้าใจว่า ผู้ที่ชื่นชอบอาหารปิ้งย่างเป็นชีวิตจิตใจ ย่อมมีความสุขกับการได้ทาน แค่ได้กลิ่น ก็อยากทานแล้ว (จริงมั๊ย) แต่หากกินแบบให้โทษต่อร่างกาย ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพในอนาคต แนะนำควรกินแต่พอดี พอเหมาะ ไม่กินอาหารปิ้งย่างบ่อยครั้งเกินไป และปรับวิธีการกินเพื่อลดความเสี่ยง เช่น เลือกเตาแบบไร้ควันแทน ทานผักควบคู่กับเนื้อสัตว์ แยกตัดส่วนที่เป็นไขมันออก และเลือกร้านที่สะอาดถูกสุขอนามัย พบกันใหม่ ฉบับหน้าค่ะ
……………………………………………………
(เครดิต : Does Charcoal Cause Cancer, www.healthline.com, What Science Really Says About Grilled Meat and Cancer Risk, www.timehealth.co, www.thaihealth.or.th, สสส, www.i-kinn.com
บทความสุขภาพที่น่าสนใจ
EP. 190 : ภาวะไขมันในเลือดสูง จากกรรมพันธุ์ ภัยร้ายซ่อนเงียบ !