โรคนอนไม่หลับถือเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยสาเหตุของอาการนอนไม่หลับนั้นก็สามารถถูกกระตุ้นได้จากปัจจัยภายในและภายนอก เช่น ความเครียด อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย ซึ่งหากเกิดอาการนอนไม่หลับขึ้นมาเป็นเวลานาน ๆ อาจจะส่งผลต่อคุณภาพการนอน ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไม่ค่อยมีสมาธิ ว้าวุ่นและเกิดความวิตกกังวลได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และที่สำคัญ ยังสามารถส่งผลเสี่ยงต่อผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่มีภาวะสุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานอีกด้วย
นอนไม่หลับ เกิดจากอะไร?
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะการนอนไม่หลับนั้นสามารถแบ่งออกได้หลากหลาย โดยสาเหตุหลัก ๆ มีดังนี้
- พฤติกรรมการนอนที่เปลี่ยนไป ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่ติดการนอนดึกเป็นประจำ หรือทำงานเป็นกะจนร่างกายเกิดการจดจำเวลานอนที่เปลี่ยนไป เมื่อกลับมานอนในเวลาปกติก็ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ
- ปัญหาความเครียด ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยเรียนและวัยทำงาน เพราะช่วงวัยนี้จะมีความเครียดเรื่องการจัดการชีวิตประจำวันเป็นพิเศษ
- ภาวะความผิดปกติของการหลับเช่น ภาวะขาอยู่ไม่สุข ( Restless legs syndrome) เป็นกลุ่มอาการหนึ่งที่เป็นภาวะของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและโรคไตวายเรื้อรัง อาการเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากขยับขาอยู่ตลอดเวลา เวลาเข้านอนก็จะรู้สึกเหมือนมีบางอย่างมาไต่ขา
- อาการนอนไม่หลับที่เกิดจากภาวะเส้นประสาทอักเสบ (Diabetic Neuropathy) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่มีความเสี่ยง
- อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น อาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย กรดไหลย้อน พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ วัยหมดประจำเดือน
- อาการเจ็บป่วยทางจิตใจ ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล
- ภาวะกังวลนอนไม่หลับ (psychophysiological insomnia) อาการของโรคคือ ผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลว่าตนเองจะนอนไม่หลับ จนกระตุ้นให้สมองตื่นตัวจนเกิดการนอนไม่หลับ
- เกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้หวัด ยากลุ่ม pseudoephedrine ยาลดน้ำหนัก ยาแก้หอบหืด ยาต้านซึมเศร้า ยากลุ่ม methylphenidate
- การได้รับสารกาเฟอีนจากเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน นิโคตินและแอลกอฮอล์
- ปัจจัยรบกวน เช่น แสงในห้องนอน อุณหภูมิห้องนอนที่ไม่เหมาะสม
วัยทองกับอาหาร คนวัยทองควรทานอาหารแบบไหน และแบบไหนที่ควรเลี่ยง
ฮอร์โมนทดแทนวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน (Menopause) คืออะไร?
การนอนไม่หลับส่งผลเสียอย่างไรต่อร่างกาย?
สำหรับผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับบ่อย ๆ มักจะเกิดปัญหาอ่อนเพลีย ง่วงนอนตลอดเวลา ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือด เพราะว่าการนอนไม่หลับและพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นจากการทำงานหนักขึ้นของระบบประสาทส่วนซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) และการทำงานที่ลดลงของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System)
ทำไมอาการนอนไม่หลับถึงเสี่ยงต่อโรค?
หลายคนอาจจะรู้สึกว่า การนอนไม่หลับและพักผ่อนไม่พอนั้น น่าจะส่งผลต่อทำให้รู้สึกง่วงเพียงอย่างเดียว แต่ทำไมแค่นอนไม่พอถึงทำให้เสี่ยงต่อโรคมากมายเช่นนี้ ? … สาเหตุเป็นเพราะว่า ในช่วงเวลาที่เรานอนหลับนั้น จะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของเราซ่อมแซมร่างกายทั้งส่วนของระบบประสาทและสมอง รักษาพลังงานในร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันต่าง ๆ สร้างความสมดุลให้ร่างกาย ดังนั้นผู้ที่นอนหลับน้อยก็ทำให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ กระตุ้นให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้
-
ภาวะโรคอ้วน
การนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายเกิดการแปรปรวน หิวง่าย และเพิ่มความอยากอาหารให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้ร่างกายเพิ่มอัตราการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติเพราะว่าร่างกายเผาผลาญได้น้อยลงเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมา
-
โรคเบาหวาน
การพักผ่อนน้อยเป็นเวลานานมักจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลินในเลือดที่สูงขึ้น ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นไปเลี้ยงเส้นประสาทไม่เพียงพอ ส่งผลให้เส้นประสาทเหล่านี้ทำงานได้น้อยลง ร่างกายกระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระส่งผลต่อระบบย่อยน้ำตาลของร่างกายทำให้เกิดภาวะเส้นประสาทอักเสบจากโรคเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) อาการของโรคก็คือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการรู้สึกเจ็บปวดเหมือนโดนเข็มตำ ปวดเหมือนโดนไฟลวก ในบางรายอาจจะรู้สึกเหมือนมีแมลงไต่ที่เท้า หรือ อาการชา(numbness)
-
โรคหัวใจ
หากนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลานานจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยตรงคือ ระบบการทำงานของสมองจะหลั่งเมลาโทนินน้อยลงกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูง และเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินตามมา เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจโต
วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับนั้นสามารถรักษาเบื้องต้นได้ด้วยการปรับเปลี่ยนเวลานอนให้ถูกสุขลักษณะ งดการทานอาหาร-ดื่มเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) ก่อนเวลาเข้านอน 2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย งดการเล่นโทรศัพท์มือถือ ดูทีวีและคอมพิวเตอร์ประมาณ 30 นาที ภายในห้องนอนควรปิดทึบเพื่อป้องกันแสงรบกวน จะสามารถช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
ในกรณีที่เป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษา ไม่ควรหาซื้อยานอนหลับหรือทานเมลาโทนินเองเด็ดขาด เพราะเมลาโทนินนั้นถึงแม้ว่าจะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น แต่หากใช้ในระยะยาวจะกระตุ้นให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น มึนหัว ปวดหัว อุณหภูมิร่างกายลดลง ส่งผลให้นอนหลับไม่สนิทเพราะฝันร้าย อ่อนเพลียง่วงระหว่างวัน ส่งผล
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
EP. 217 : 6 เครื่องดื่ม ลดไขมัน ขณะนอนหลับ (ช่วยลดน้ำหนัก)