วันก่อนผมมีโอกาสสัมภาษณ์พี่เจี๊ยบ ปฐมา จันทรักษ์ – VP for Indochina Expansion and MD of IBM Thailand ในหัวข้อเกี่ยวกับ Digital Disruption ตามหัวข้อด้านบน
ซึ่งพี่เจี๊ยบเป็นบุคคลที่เรียกได้ว่า ถ้าออกมาพูด ประเทศไทยและระดับผู้นำทุกคนควรจะหยุดฟังให้ดีเนื่องจากพี่เจี๊ยบจะถือว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากที่สุดคนหนึ่งในด้านดิจิตอลที่ประเทศไทยมี หัวข้อที่พี่เจี๊ยบพูดนั้นครอบคลุมหลายประเด็นที่น่าสนใจและสำหรับองค์กรต่างๆที่ควรจะเอาไปประยุกต์ใช้ ซึ่งผมขอทยอยหยิบยกมาทีละเรื่อง
ประเด็นหนึ่งที่ต้องหยิบเอามาโฟกัสตามในรูป คือ
Covid-19
Who is being impacted most?
Who is rising during Covid-19?
ใครได้รับผลกระทบมากที่สุด และใครที่ทะยานขึ้นมาในช่วงเวลาวิกฤติโควิด-19
สำหรับผู้ที่โดนผลกระทบผมเชื่อว่าธุรกิจมากกว่า 80% นั้นเจอผลกระทบในแง่ลบแน่นอน แต่ผู้ที่โดนมากกว่า ในสถานการณ์แบบนี้ยิ่งใหญ่ยิ่งโดนหนัก ทั้งที่อาจจะไม่ได้ทำอะไรผิดเลย เพียงแต่โดยเนื้อธุรกิจมันจะปรับให้เป็นดิจิตอลไม่ได้
Hertz – บริษัทผู้ให้เช่ารถใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา ผลจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้ต้อง layoff พนักงานกว่า 10,000 ตำแหน่ง พร้อมกับหนี้ที่สูงกว่า 17,000 ล้าน USD โดย Hertz ไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ที่ตัวเองให้เช่าแต่ใช้วิธีการ lease จากเจ้าหนี้ จากวิกฤติทำให้ไม่มีลูกค้ามาเช่ารถ ถึงแม้จะพยายามปรับโมเดลธุรกิจให้รองรับสถานการณ์ แต่ล่าสุดความพยายามในการขอเจรจาเลื่อนการชำระหนี้กว่า 17,000 ล้าน USD ออกไปอย่างไม่มีกำหนดก็ได้รับการปฏิเสธจากบรรดาเจ้าหนี้ ซึ่ง Hertz ที่เพิ่งฉลองบริษัทมีอายุครบรอบ 100 ปีไปเมื่อปี 2018 กำลังอยู่ในช่วงพยายามปรับองค์กรเพื่อไม่ให้ต้องยื่นเข้าสู่ chapter 11
Marriott – ต้องพักงานพนักงานเป็นหมื่นราย ซึ่งจากรายงานล่าสุดคาดว่าจะต้องพักงานพนักงานรวมทั้งหมดเกินกว่า 1 แสนรายเข้าไปแล้ว ซึ่ง CEO ของเครือโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ออกมาบอกว่า ผลกระทบของโควิด-19 ครั้งนี้รุนแรงกว่าผลของ เมื่อครั้ง 911 รวมกับวิกฤติซับไพรม์รวมกันเสียอีก
Virgin Australia – ปลดคนงานหลายพันคน ล่าสุดอาการลำบากไม่ต่างกับการบินไทยที่ต้องพึ่งความช่วยเหลือเป็นเงินอัดฉีดจากภาครัฐเพื่อความอยู่รอด
เครือร้านอาหาร – คงไม่ต้องสาธยายว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นหนักหน่วงขนาดไหน
แต่ก็ยังมีผู้ที่ทะยานขึ้นมาท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 นี้ได้
Netflix – มีผู้สมัครเข้าใช้งานในช่วงไตรมาส 1 เพิ่ม 16 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวน 2 เท่าของไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว จากผลของการ lockdown ซึ่งทำให้รายได้เพิ่มขึ้น 5.76 พันล้าน USD คิดเป็นมากกว่า 27% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ผลกำไรเฉพาะไตรมาส 1 ปี 2020 เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เป็น 704 ล้าน USD เมื่อเทียบกับ 344 ล้าน USD เมื่อสิ้นไตรมาส 1 ปี 2019 ปัจจุบัน Netflix มีผู้ใช้งาน 182 subscribers ซึ่งจำนวนนี้เท่ากับเกือบ 3 เท่าของจำนวนประชากรประเทศไทยทั้งประเทศและยังเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ท่ามกลางการถูกรุกไล่จาก Disney Plus และ Amazon Prime ที่อ่อนแรงลงจากผลกระทบของโควิด-19
Zoom – จำนวนผู้ใช้งานของแอป Zoom ที่ใข้สำหรับการพบและประชุมกันในช่วง lockdown นั้น เพิ่มขึ้นจากเมื่อสิ้นเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ที่มีผู้ใช้งานเพียง 10 ล้านคนไปเป็น 300 ล้านคนเมื่อสิ้นเดือนเมษยนที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าของบริษัททะยายอย่างก้าวกระโดดทำให้ให้ปัจจุบัน Zoom บริษัทเดียวมีมูลค่ามากกว่า 7 สายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งโดนผลกระทบจากโควิด-19 รวมกันไปแล้ว
Walmart, Amazon – ยักษ์ใหญ่ด้านรีเทลหลายที่ต้องปิดตัวลงจากผลกระทบวิกฤติโควิด-19 แต่ Amazon และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Walmart ที่มีการปรับตัวเข้าสู้กระแส digital disruption นั้นในช่วงวิกฤติโควิด-19 นั้นรายได้เติบโตขึ้นรวมกันกว่า 44%
สำหรับ Amazon นั้นคงไม่น่าแปลกใจที่จะเติบโต แต่ Walmart นั้นที่โตสวนกระแสเนื่องจากในช่วงวิกฤตินั้น สินค้า grocery หรือของจำเป็นต่างๆ นั้นเป็นที่ต้องการมาก ทำให้ Walmart ที่มีสาขามากกว่า 5,000 สาขา และมีความแข็งแรงในส่วนของสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีมากกว่า Amazon กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการ
Food Delivery – เติบโตมากกว่า 17% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งบางสำนักวิจัยคำนวณว่ามูลค่ารายได้จากการขายอาหารส่งถึงบ้านจะมีมูลรวมคิดเป็นประมาณ 8% ของรายได้ของร้านอาหารทั้งหมดโดยเฉลี่ยจากเดิมที่ไม่ถึง 1%
หลายๆ องค์กรที่ประสบปัญหาในช่วงนี้นั้นอาจจะไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดในการบริหารงานเลย แต่การมาถึงของวิกฤติโควิด-19 ที่ว่ากันว่าส่งผลรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปีของมนุษยชาตินั้นทำให้หลายองค์กรไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันธุรกิจเอาไว้แน่นหนาพอ
ธุรกิจที่จะพบปัญหาที่สุดจะเห็นได้ว่าเป็นธุรกิจที่ต้องมีสถานที่ มีสินทรัพย์ที่จับต้องได้ และสร้างรายได้จากสินทรัพย์เหล่านั้นขึ้นมาโดยเฉพาะอยู่ในภาคบริการ
ในขณะที่ธุรกิจที่สร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้นั้นสามารถทะยานขึ้นมาจากความตัวเบาและใช้ประโยชน์จากโมเดลธุรกิจที่สามารถขยายได้ผ่านระบบ IT ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีอยู่จริงแต่จับต้องไม่ได้
วิกฤติอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเราไปได้ตลอดกาล เพราะหลังจากโควิด-19 นี้เบาบางลงหรือหายไปไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม มนุษย์ก็อาจจะกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมเป็นส่วนใหญ่
แต่สำหรับภาคธุรกิจแล้ว หลังจากนี้คงไม่มีใครที่จะยึดติดอยู่กับโมเดลธุรกิจและวิธีทำเหมือนเดิมได้อีกต่อไป
เดี๋ยวมาต่อ บทที่ 2 ครับ ~ ตามแบบฉบับของคนทำเพจเค้าต้องขอรบกวนให้ช่วยกันกด Share และ Like เพจไว้ด้วยไว้เป็นแรงกระตุ้นให้ไปเขียนต่อ ขอบคุณครับ
……….
Loukpad Bansit
June 4, 2020ทุกครั้งที่โธมัสเขียนเรื่องอะไร เรื่องนั้นจะมีความสำคัญกับองค์กรอย่างมาก สำหรับคนทำงานที่ใฝ่ฝันอยากเติบโตเป็นผู้บริหาร อยากให้อ่านแล้วคิดตามว่า เราจะเอาเรื่องเหล่านี้มาใช้ได้อย่างไร เพราะสิ่งนี้เขาย่อยมาให้แล้ว