เชื่อว่าหลายคนที่ได้เดินทางไปตรวจสุขภาพมาแล้วพบว่ากรดยูริกในเลือดสูงมากกว่า 7.0 mg/dL ในผู้ชาย หรือสูงมากกว่า 6.0 mg/dL ในผู้หญิง ก็อาจเกิดความคิดที่ว่า กรดยูริกสูง เกิดจากอะไร แล้วมันจะส่งผลเสียอะไรบ้าง? กรดยูริกในเลือดสูง จะเกิดจากการทานอาหารที่มีพิวรีนสูง ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายว่า พิวรีน คืออะไร สิ่งที่ต้องรู้เพื่อลดเสี่ยงภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ลดเสี่ยงโรคเกาต์ นิ่วในไต
พิวรีน คืออะไร?
พิวรีน คือสารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างเป็นวงแหวนคู่ประกอบด้วยคาร์บอนและไนโตรเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเบสไนโตรเจนในกรดนิวคลีอิก (DNA และ RNA) โดยมีสองชนิดหลักคือ อะดีนีน (Adenine) และกัวนีน (Guanine) นอกจากนี้พิวรีนยังเป็นส่วนประกอบของ ATP ที่ให้พลังงานแก่เซลล์และโคเอนไซม์สำคัญต่างๆ พิวรีนมีทั้งที่ร่างกายสร้างเองและได้รับจากอาหารโปรตีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อปลา และถั่วต่างๆ เมื่อร่างกายสลายพิวรีนจะกลายเป็นกรดยูริก หากกรดยูริกสะสมมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคเกาต์และนิ่วในไต จึงจำเป็นต้องควบคุมปริมาณอาหารที่มีพิวรีนสูงและดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพเหล่านี้
พิวรีนกับกรดยูริกในเลือด
พิวรีนและกรดยูริกมีความเกี่ยวข้องกันในกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย หลังจากที่เราทานอาหารที่มีพิวรีนสูงเข้าไปแล้ว พิวรีนที่ว่าจะถูกย่อยสลายผ่านเอนไซม์ในตับ และกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งจริงๆ แล้ว กรดยูริกที่ว่าจะถูกขับออกผ่านทางไจและทางลำไส้ แต่ถ้าหากร่างกายของเราผลิตกรดยูริกมากเกินไปจากการทานอาหารที่มีพิวรีนสูงเป็นประจำ จะทำให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้น หากปล่อยไว้นานๆ จะมีโอกาสสูงที่กรดยูริกจะตกผลึกเป็นผลึกเกลือยูเรต ซึ่งจะเกิดได้ที่บริเวณข้อต่อ (โรคเกาต์) หรือเกิดในไต (นิ่วในไต) ได้
ทานอาหารที่มีพิวรีนสูง ทำให้กรดยูริกในเลือดสูง = เสี่ยงโรคเกาต์ นิ่วในไต
พิวรีน คือสิ่งที่เราต้องใส่ใจ ถ้าหากผู้ชายที่มีค่ากรดยูริกในเลือดสูงเกิน 7 mg/dL ผู้หญิงที่มีค่ากรดยูริกในเลือดสูงเกิน 6 mg-dL จะเพิ่มความเสี่ยง
- โรคเกาต์ – กรดยูริกตกผลึกในข้อต่อ ทำให้เกิดอาการปวดรุนแรง บวม แดง ร้อนผ่าว มักเริ่มที่นิ้วเท้าโป้ง และอาจลุกลามไปข้ออื่นๆ ได้
- โรคนิ่วไต – เกิดนิ่วกรดยูริกในไต ทำให้มีอาการปวด ปัสสาวะขัด มีเลือดปนในปัสสาวะ และอาจอุดตันทางเดินปัสสาวะ
- โรคไตวาย – กรดยูริกสะสมทำลายเนื้อเยื่อไตเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้การทำงานของไตลดลง
- โรคความดันโลหิตสูง – กรดยูริกสูงทำให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือด ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต
- โรคหัวใจและหลอดเลือด – เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดแข็งตัว และโรคหลอดเลือดสมอง
สิ่งควรทำเมื่อกรดยูริกในเลือดสูง
พิวรีน คือปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงทำให้กรดยูริกในเลือดสูง เมื่อเราไปตรวจสุขภาพแล้วได้ผลออกมาว่ากรดยูริกในเลือดสูง สิ่งที่ควรทำ จะมีดังนี้
การปรับพฤติกรรมการกิน
- จำกัดอาหารพิวรีนสูง – เครื่องในสัตว์ (ตับ ไก่ หัวใจ) ปลาทะเลเล็ก (ซาร์ดีน แอนโชวี่ แมคเคอเรล) เนื้อแดง และอาหารที่มี ยีสต์ เลือกทานอาหารที่มีพิวรีนน้อยแทน
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะเบียร์ที่มีพิวรีนสูงและยับยั้งการขับกรดยูริก
- ลดเครื่องดื่มหวานที่มีน้ำตาลฟรุกโตส เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่ใส่น้ำตาล
- เพิ่มอาหารที่ช่วยลดกรดยูริก เช่น ผลไม้ที่มีวิตามินซี (ส้ม มะนาว) นมไขมันต่ำ และธัญพืชเต็มเมล็ด
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ดื่มน้ำเปล่า 2.5-3 ลิตรต่อวัน เพื่อช่วยละลายและขับกรดยูริกออกทางไต
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิกเบาๆ สม่ำเสมอ เช่น เดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หลีกเลี่ยงออกกำลังกายหนักเกินไป
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากความอ้วนเพิ่มการสร้างกรดยูริก
- หลีกเลี่ยงการอดอาหารหรือลดน้ำหนักรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้กรดยูริกพุ่งสูงขึ้น
พิวรีน คือสิ่งที่เราควรใส่ใจ เพราะถ้าหากทานอาหารที่มีพิวรีนสูงอยู่เป็นประจำก็จะเพิ่มความเสี่ยงโรคเกาต์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะกับคนวัยทองและวัยสูงอายุที่มีความเสี่ยงมากที่สุด นอกจากการลดอาหารที่มีพิวรีนสูงแล้ว การเลือกทาน KINN ULY-LO ที่มีส่วนผสมของเบอร์ด๊อก เอ็กซ์แทรค อาร์คเทียม แลปปา รูท วอร์เตอร์ กับเทอเมอะริค พาวเดอร์หรือผลขมิ้น รวมถึงนัตโตะไฟอเมนเต็ด พาวเดอร์หรือผงนัตโตะและคอร์น ไฟเบอร์ ก็จะมีส่วนช่วยลดกรดยูริก ลดอักเสบโรคเกาต์ได้เช่นกัน
อ่านบทความเพิ่มเติม:
8 ผักที่มีกรดยูริกสูง กินแบบพอดี ลดเสี่ยงเก๊าท์ บรรเทาอาการ