ข้าว เป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหารที่คนไทยเรากินกันทุกวัน ซึ่งถ้าหากพูดถึงข้าวเราก็คงทานข้าวขาวกันเป็นปกติ แต่จริงๆ แล้ว ข้าวไทยมีหลากหลายประเภทให้เลือกทาน และข้าวขาวอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานในระยะยาว คนเป็นเบาหวานควรกินข้าวอะไร ข้าวไรซ์เบอร์รี่จะเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดี ซึ่งเป็นข้าวไทยประเภทหนึ่งที่เราภูมิใจ เรา i-kinn จะมาอธิบายว่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่ คือข้าวอะไร มีสารอาหารอะไรบ้าง ประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีอะไรบ้าง อ้วนไหม
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ คืออะไร?
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ คือข้าวพันธุ์ไทยพันธุ์หนึ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นพันธุ์ข้าวที่ผสมข้าวพันธุ์ระหว่างข้าวหอมนิลและข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยนักวิจัยข้าวชาวไทย เป็นข้าวที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี มีลักษณะเป็นเมล็ดเรียวยาว มีสีม่วงเข้ม มีกลิ่มหอมโดดเด่น รสชาติอมหวาน และมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีสารอาหารอะไรบ้าง?
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีสารอาหารมากมายที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น
- คาร์โบไฮเดรต
- โปรตีน
- สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แอนโธไซยานิน สารประกอบฟีโนลิค ฟลาโวนอยด์ เบต้าแคโรทีน
- วิตามิน เช่น วิตามินอี วิตามินบี9 วิตามินบี1
- แร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก ซิงก์ โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส
- อุดมไปด้วยใยอาหาร
7 ประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและแร่ธาตุ
เพราะข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นข้าวไม่ขัดสีประเภทหนึ่ง ทำให้เป็นข้าวที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่จำเป็นต่อร่างกายที่มีประโยชน์ ประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ จะมีด้วยกัน ดังนี้
1. เป็นข้าวที่ผู้ป่วยเบาหวานทานได้
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) เมื่อเทียบกับข้าวขาวที่เราทานเป็นประจำ เมื่อเป็นข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ก็หมายความว่าคาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่ในข้าวไรซ์เบอร์รี่จะย่อยและดูดซึมอย่างช้าๆ เลยไม่ทำให้ระดับน้ำตาลพุ่งสูง เลยทำให้เป็นข้าวที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานอย่างหนึ่งเลย
2. อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย
ข้าวไรซ์เบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ให้สีม่วงดำแก่เมล็ดข้าว สารนี้มีคุณสมบัติในการจับกับอนุมูลอิสระ ช่วยลดการทำลายเซลล์ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ การศึกษาพบว่าปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในข้าวไรซ์เบอร์รี่สูงกว่าข้าวขาวธรรมดา
3. เป็นมิตรกับสุขภาพหัวใจ มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
แทนโธไซยานินและใยอาหารที่มีอยู่ในข้าวไรซ์เบอร์รี่ จะมีส่วนช่วยลดระดับไขมันเลวอย่างคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดการก่อตัวของไขมันในเลือดลงและเป็นมิตรกับสุขภาพหัวใจกับหลอดเลือด และช่วยลดเสี่ยงโรคหัวใจต่างๆ ด้วยเช่นกัน
4. ดีกับระบบย่อยอาหาร
ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีปริมาณใยอาหารสูงกว่าข้าวขาวทั่วไป ใยอาหารช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน ควบคุมการบริโภคอาหารได้ดีขึ้น และอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย
5. มีส่วนช่วยป้องกันโลหิตจาง
ประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอร์รี่อย่างหนึ่งคือเป็นข้าวที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง เพราะธาตุเหล็กจะมีส่วนลำเลียงออกซิเจนที่สำคัญต่อระบบไหลเวียนเลือด ทำให้การเลือกข้าวไรซ์เบอร์รี่จะมีส่วนช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางได้
6. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
สารอาหารต่างๆ ในข้าวไรซ์เบอร์รี่ เช่น วิตามินอี สังกะสี และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายมีความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้น
7. มีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนัก
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวที่มีใยอาหารสูง รวมถึงเป็นข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้นจากปริมาณใยอาหารในข้าว ซึ่งจะมีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนักด้วยเช่นกัน
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ อ้วนไหม?
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวที่ไม่ทำให้อ้วนได้ง่ายหากควบคุมปริมาณการกินอย่างพอเหมาะ และยังมีประโยชน์ต่อการควบคุมน้ำหนักด้วย เพราะเป็นข้าวที่มีใยอาหารสูง โปรตีนสูง มีส่วนช่วยเพิ่มการเผาผลาญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้อิ่มนานมากขึ้น และที่สำคัญคือมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
ประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอร์รี่อย่างหนึ่งคือเป็นข้าวที่มีส่วนช่วยลดไขมันเลว ลดคอเลสเตอรอล ลดไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ หลอดเลือด รวมถึงน้ำหนักด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับ KINN NATTO ที่มีส่วนผสมของ เร้ด ยีสต์ ไรซ์ นัตโตะ สารสกัดจากชาเขียว ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ไขมันเลว ไตรกลีเซอไรด์ และมีส่วนช่วยเพิ่มระดับไขมันดีในเลือดด้วยเช่นกัน
ref
https://www.newswire.ca/news-releases/riceberry-rice-a-healthful-game-changer-from-thailand
https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC9843719/
อ่านบทความเพิ่มเติม:
ข้าวผัดกี่แคล ข้าวผัดหมู ข้าวผัดไก่ ข้าวผัดทะเล อะไรน้อยสุด