ผลไม้ เป็นของโปรดของใครหลาย ๆ คน นอกจากจะอร่อย ก็มีประโยชน์หลายอย่างที่ดีต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดก็มีประโยชน์แตกต่างกันออกไป สำหรับคนที่กำลังมองหาผลไม้ที่มีส่วนช่วยบำรุงกล้ามเนื้อและช่วยควบคุมความดัน ต้องทานผลไม้อะไร? ผลไม้โพแทสเซียมสูง จะเป็นตัวเลือกที่ดี แล้วผลไม้ที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง? ข้อควรระวังของการทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง มีอะไรบ้าง? ในบทความนี้มีคำตอบ
ประโยชน์ของโพแทสเซียม มีอะไรบ้าง?
โพแทสเซียม ประโยชน์มีหลายอย่างที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย เช่น
ช่วยควบคุมความดันโลหิต
การทานผลไม้โพแทสเซียมสูงจะช่วยต้านผลกระทบจากโซเดียมที่มากเกินไป ซึ่งช่วยลดและจัดการควบคุมความดันโลหิตได้
ดีต่อสุขภาพหัวใจ
นอกจากจะลดความดันโลหิตแล้ว ก็ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในสมอง ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจด้วยเช่นกัน
ส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ
ช่วยในเรื่องของการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ สำคัญกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
การทำงานของระบบประสาท
โพแทสเซียมมีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณประสาท ซึ่งจำเป็นต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อและระบบประสาทโดยรวม
ดีต่อกระดูก
เพราะโพแทสเซียมช่วยต้านกรดภายในร่างกาย ป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก
ป้องกันการเกิดนิ่วในไต
โดยการลดระดับการดูดซึมแคลเซียมในไต ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งของการเกิดนิ่ว
10 ผลไม้โพแทสเซียมสูง ช่วยคุมความดัน ดีต่อสุขภาพกล้ามเนื้อ
ผลไม้โพแทสเซียมสูง จะช่วยดูแลสุขภาพหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ รวมถึงความสมดุลของเหลวในร่างกาย ซึ่งผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง จะมีดังนี้
- อะโวคาโด ขนาดกลาง 1 ลูก มีโพแทสเซียมประมาณ 975 มิลลิกรัม
- ลูกพรุน 1 ถ้วย มีโพแทสเซียมประมาณ 707 มิลลิกรัม
- ทับทิม 1 ลูก มีโพแทสเซียมประมาณ 666 มิลลิกรัม
- แคนตาลูป 1 ถ้วย มีโพแทสเซียมประมาณ 475 มิลลิกรัม
- แอปริคอตแห้ง 100 กรัม มีโพแทสเซียมประมาณ 430 มิลลิกรัม
- กล้วยขนาดกลาง 1 ลูก มีโพแทสเซียมประมาณ 400-450 มิลลิกรัม
- มะละกอลูกเล็ก มีโพแทสเซียมประมาณ 390 มิลลิกรัม
- แตงโม 1 ลิ่ม มีโพแทสเซียมประมาณ 320 มิลลิกรัม
- ส้มขนาดกลาง 1 ลูก มีโพแทสเซียมประมาณ 240 มิลลิกรัม
- กีวี่ 1 ลูก มีโพแทสเซียมประมาณ 215 มิลลิกรัม
ข้อควรระวังของการทานอาหารที่มีโพสเซียมสูง
แม้ว่าการทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงรวมถึงผลไม้โพแทสเซียมสูงจะจำเป็นต่อสุขภาพร่างกาย แต่ก็มีข้อควรระวังที่ควรคำนึงถึงเมื่อทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคไต
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการทานอาหารโพสเซียม จะมีดังนี้
- ผู้ป่วยโรคไต ต้องมีการระมัดระวังอาหารโพแทสเซียมเป็นพิเศษ เพราะไตช่วยควบคุมระดับโพแทสเซียมในร่างกาย หากมีปัญหาโรคไต ก็อาจทำให้ร่างกายสะสมโพแทสเซียมเยอะเกินไป นำไปสู่ภาวะโพแทสเซียมสูงได้
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ยา ARBs และยาขับปัสสาวะบางชนิด ซึ่งยาเหล่านี้อาจยกระดับโพแทสเซียมในร่างกาย ทำให้ต้องควบคุมการทานอาหารโพแทสเซียมสูง รวมถึงผลไม้โพแทสเซียมสูงด้วย
- ปัญหาสุขภาพหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจต้องระมัดระวังการทานอาหารโพแทสเซียมสูง เพราะอาจส่งผลต่อการเต้นของหัวใจได้
- ปริมาณในการทาน โดยเฉพาะการทานอาหารเสริมโพแทสเซียม หากเป็นอาหารเสริมที่แพทย์ไม่ได้จ่ายยาให้ การทานโดยไม่ควบคุมปริมาณ ก็อาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมสูง (Hyperkalemia) ได้เช่นกัน
การทาน ผลไม้โพแทสเซียมสูง ดีต่อร่างกายในหลากหลายด้าน ทั้งด้านหัวใจ ความดันโลหิต กล้ามเนื้อ ระบบประสาท กระดูก และมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดนิ่วในไต ซึ่งผลไม้ที่มีแมกนีเซียมสูงก็มีหลายชนิด มิลลิกรัมของแมกนีเซียมแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต รวมถึงคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจก็มีข้อควรระวังหลายอย่างที่ต้องควบคุมปริมาณอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพ และภาวะโพแทสเซียมสูงเกินไป
อ่านบทความเพิ่มเติม :
6 ผลไม้ที่มีแมกนีเซียมสูง ดีต่อกล้ามเนื้อ หัวใจ และความดัน
7 ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ผลไม้บำรุงผิว เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน