ยิ่งอายุเยอะ ก็ยิ่งปวดเข่าง่ายขึ้น ด้วยปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทองและวัยสูงอายุที่มีอาจมีภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายกว่าคนวัยอื่น ๆ ทำให้การรู้จักดูแลหัวเข่านั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดอาการปวดเข่าในระยะยาวและลดเสี่ยงภาวะข้อเข่าเสื่อม ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ 9 วิธีแก้ปวดเข่า ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยลดอาการปวดเข่าในระยะยาว เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะวัยที่มีโอกาสเสี่ยงหรือสำหรับผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม
พฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงภาวะเข่าเสื่อม
ภาวะข้อเข่าเสื่อม สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น
- ไม่ออกกำลังกาย นั่งหรือนอนเป็นเวลานานเกินไปเป็นประจำ
- ยกของหนัก ยกของผิดท่า หรือการออกกำลังกายที่เกิดแรงกระแทกบริเวณหัวเข่ามาก ๆ ออกกำลังกายหนักเกินไปก็เสี่ยงเช่นกัน
- น้ำหนักมากกว่าปกติ ทำให้ข้อเข่ารองรับน้ำหนักมากขึ้น
- สูบบุหรี่ ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังข้อเข่าน้อยลง หัวเข่าไม่ได้รับการซ่อมแซมมากพอ ทำให้อักเสบมากขึ้น
- พฤติกรรมด้านการทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่รู้จักข้อเข่าเสื่อม อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- ขาดสารอาหารบางอย่างที่สำคัญ เช่น แคลเซียม วิตามินดี กรดไขมันโอเมก้า 3
- พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มมากเกินไปติดกันเป็นเวลานาน
พฤติกรรมหลายอย่างจะเพิ่มความเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม ทำให้ต้องรู้จักวิธีแก้ปวดเข่าแบบระยะยาวเป็นอย่างดี
9 วิธีแก้ปวดเข่า ช่วยลดอาการปวดเข่าทั้งตอนมีอาการและระยะยาว
เพราะอาการปวดเข่าสามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่าง ทำให้การดูแลหัวเข่าเป็นสิ่งสำคัญ วิธีแก้ปวดเข่าที่เราจะมาแนะนำ จะเป็นวิธีที่ช่วยแก้ทั้งตอนที่มีอาการปวดและรวมวิธีแก้แบบระยะยาว ซึ่งจะมีวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1. ประคบร้อน ประคบเย็น
สำหรับอาการบวมหรืออาการปวดเฉียบพลัน ให้ประคบเย็นด้วยถุงน้ำแข็งห่อด้วยผ้าหรือใช้แผ่นประคบเย็นประคบประมาณ 15-20 นาที ประคบหลาย ๆ ครั้งเพื่อลดการอักเสบ ใช้การประคบร้อนหากมีอาการปวดเรื้อรัง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและปรับปรุงการไหลเวียนเลือด
2. ยกขาขึ้นสูง ใช้สนับเข่ากดทับหัวเข่า
นอนราบกับพื้น ใช้หมอนรองขาเพื่อยกขาให้สูงขึ้น ช่วยลดการไหลเวียนเลือดไปยังหัวเข่าเพื่อลดอาการบวม และใช้สนับเข่าเพื่อรองรับข้อหัวเข่า ลดอาการบวม แต่ไม่ควรรัดแน่นจนเกินไป
3. พักการใช้งานหัวเข่า ปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกาย
เพื่อให้เนื้อเยื่อรอบหัวเข่าฟื้นฟู โดยเฉพาะตอนมีอาการปวดหัวเข่า พยายามหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหลังจากมีอาการ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกระแทกบริเวณหัวเข่า งดวิ่ง กระโดด หรือการยกของหนัก
4. ทานยาแก้ปวด
การทานยาแก้ปวดจะช่วยลดอาการได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นยาที่สั่งจากแพทย์หรือเภสัชกร ไม่ควรซื้อยามาทานเอง เพราะต้องได้รับยาที่ถูกอาการ รวมถึงได้จำนวนยาที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน
5. การออกกำลังกายแบบเสริมความแข็งแรงและการยืดกล้ามเนื้อ
นอกจากการลดการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกแล้ว การออกกำลังกายข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ การเลือกออกกำลังกายเสริมกล้ามเนื้อหัวข่อจะเป็นทางเลือกที่ดี เช่น การยกขาขึ้นลงแล้วนอนราบหรือระหว่างนั่ง และการออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อ การโยคะ หรือการรำมวยไทเก๊ก ก็เป็นวิธีแก้ปวดเข่าระยะยาวที่ดีวิธีหนึ่ง
6. เลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม มีแผ่นรองเท้า
รองเท้าและแผ่นรองเท้าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ที่มีอาการโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อช่วยดูดซับแรงกระแทกบริเวณหัวเข่าและจัดตำแหน่งการยืนให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะรองเท้าที่เหมาะกับการเดินและการวิ่ง
7. จัดการดูแลน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
เพราะน้ำหนักที่มากเกินไป จะเพิ่มแรงกดทับบริเวณหัวเข่า ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้นาน ๆ จะส่งผลเสียต่อหัวเข่าในระยะยาวได้ ทำให้การจัดการดูแลน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ
8. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารให้ดีต่อสุขภาพ
อาหาร เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพหัวเข่าได้เช่นกัน โดยเฉพาะการทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารที่มีไขมันทรานส์สูง อาหารที่มีโซเดียมสูง การดื่มแอลกอฮอล์ หันไปเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง อาหารที่มีวิตามินดีสูง อาหารที่มีวิตามินซีสูง อาหารที่มีวิตามินเคสูง อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
9. ไม่นั่งหรือยืนเป็นเวลานานมากเกินไป
พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมเสี่ยงอาการปวดเข่าได้ ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุหรือวัยทอง วัยรุ่น วัยทำงานก็เสี่ยงเช่นกัน เพราะฉะนั้น การลุกออกมายืดเส้นยืดสายหลังจากนั่งเป็นเวลานานจะเป็นสิ่งสำคัญ สลับนั่งสลับยืนบ้าง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ยืดและเลือดไหลเวียนดีขึ้น
วิธีแก้ปวดเข่าเหล่านี้ เป็นวิธีที่จะช่วยดูแลหัวเข่าในระยะอาการเฉียบพลันและเป็นการดูแลสุขภาพหัวเข่าในระยะยาว ซึ่งการดูแลหัวเข่านั้น จะต้องดูแลตั้งแต่วัยรุ่น เพื่อป้องกันภาวะหัวเข่าเสื่อมในอนาคต ลดโอกาสเสี่ยงลง
อ่านบทความเพิ่มเติม :
8 สมุนไพรแก้ปวดข้อ กระดูก บรรเทาข้อเข่าเสื่อม ปวดข้ออักเสบ
6 อาหารที่มีวิตามินดีสูง ช่วยดูดซึมแคลเซียม กันขาดวิตามินดี
10 อาหารที่มีโซเดียมสูง ลดปริมาณ ลดเสี่ยงโรคไต ลดความดันสูง
สั่งซื้อ คลิกที่นี่