อาหารผู้ป่วยโรคไตที่ควรทานและเมนูไหนควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตนั้นจะเป็นภาวะของโรคที่อาหารสามารถส่งผลต่ออาการโรคกำเริบได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเพราะหากเลือกทานแค่ตามใจปากอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมได้ วันนี้ I-kinn มีเมนูอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถทานได้และแบบไหนต้องหลีกเลี่ยงโรคไต
ภาวะไตเรื้อรัง คืออะไร ?
โรคไต หรือภาวะไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) คือ ของโรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากไตไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเท่าเดิม หรือไตที่ถูกทำลายบางส่วน ส่งผลให้ความสามารถในการรักษาสมดุลของเหลว การควบคุมน้ำ วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ รวมถึงความสามารถในการกำจัดของเสียได้น้อยลง โดยสาเหตุของทำให้เกิดโรคไตนั้นสามารถเป็นได้หลายอย่าง เช่น
- จากพันธุกรรม
- มีภาวะไตตั้งแต่กำเนิด แต่อาการจะแสดงออกทีหลัง โดยอาการโรคที่มักจะพบบ่อยก็คือ โรคถุงน้ำที่ไต
- เกิดจากโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไตอักเสบ โรคแพ้ภูมิตัวเอง นิ่ว มะเร็ง หรือ โรคที่เกิดจากไวรัส
- เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ชอบทานอาหารรสจัด (เช่น รสเผ็ดจัด รสเค็มจัด และหวานจัด)
ทำไมกินอาหารรสจัด เผ็ดจัด หวานจัด เค็มจัดถึงเสี่ยงเป็นโรคไต
หลายคนมักจะเข้าใจว่า การทานอาหารรสเค็มมากๆ และเป็นระยะเวลานานเท่านั้นถึงจะเสี่ยงโรคไต แต่ความจริงแล้วไม่ว่าจะทานรสชาติไหนหากมากเกินไปก็สามารถจะก่อให้เกิดเป็นโรคไตได้เช่นกัน เพราะไตเป็นอวัยวะในร่างกายที่ทำหน้าที่คล้ายตาข่ายกรองของเสียต่างๆ ออกที่ร่างกายนำไปใช้ ซึ่งหากอาหารที่ทานเข้าไปมีโซเดียมสูง มีรสชาติที่จัดเกินไปก็จะทำให้ไตทำงานหนัก และเมื่อไตทำงานหนักก็จะเร่งให้เกินความเสียหายเร็วเมื่อไตมีความเสียหายมากขึ้นก็จะส่งผลต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ เป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เส้นเลือดในสมองแตก อัมพฤกษ์-อัมพาต เสี่ยงโรคกระดูกพรุน มะเร็งกระเพาะอาหาร ดังนั้นหากต้องการป้องกันโรคไตตั้งแต่เนิ่นๆ ควรเลือกอาหารการกินให้ดีก็จะช่วยลดปัญหาไตทำงานหนักได้
อยากลดเค็ม ลดเกลือ ใช้อะไรแทนเกลือ ชีอิ้ว น้ำปลาดี?
เมนู-อาหารผู้ป่วยโรคไต เมนูไหนทานได้ และเมนูไหนทานไม่ได้
เนื้อสัตว์ที่ผู้ป่วยไตควรทานและควรเลี่ยง
ผู้ป่วยโรคไตควรที่จะเน้นการทานเนื้อปลาเนื่องจากเนื้อปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่มีความย่อยง่าย เต็มไปด้วยกรดโอเมก้า วิตามินต่างๆ ที่เหมาะสำหรับบำรุงร่างกาย ส่วนเนื้อที่ไม่ควรทานหรือควรหลีกเลี่ยงการทานคือ เนื้อสัตว์ย่อยยาก เนื้อติดมัน หนังสัตว์ อาหารทะเล และควรหลีกเลี่ยงการทานเนื้อไก่ เครื่องในทุกชนิด เพราะเนื้อเหล่านี้มีกรดยูริกสูง
7 ปลาไทยโอเมก้าสูง ดีต่อใจ ราคาไม่แพงแถมดีต่อสุขภาพ
เมนูแนะนำ
- สเต๊กปลาแซลม่อน
- ปลานึ่ง/ต้ม น้ำพริกสด ผักลวก
- ต้นยำปลาน้ำใส
- ข้าวต้มปลากะพง
ปลาทูกับปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ต่างกันอย่างไร แบบไหนมีประโยชน์กว่ากัน
เมนูหลีกเลี่ยง
- ข้าวขาหมู
- หมูกรอบ
- ต้มเลือดหมู-เครื่องใน
ลดการใช้น้ำมัน
น้ำมันที่ควรใช้ควรเลือกการใช้น้ำมันที่มีไขมันต่ำ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนล่า หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหมูหรือน้ำมันที่มาจากสัตว์ เนยเทียม เนยขาว น้ำมันปาล์มในการประกอบอาหาร
8 น้ำมันไขมันต่ำ ดีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงคอเลสเตอรอลสูง
การเลือกน้ำมันมะกอก ประเภทของน้ำมันมะกอกให้เหมาะกับการใช้งาน
ลดการทานแป้ง
หากท่านหรือมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไต ควรลดการทานข้าวเจ้า แป้งจากเส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดต่างๆ สปาเกตตี พาสต้า และมักกะโรนี ควรหันมาทานวุ้นเส้น แป้งมัน แป้งถั่วเขียว สาคู และเส้นเซี่ยงไฮ้แทน
เมนูแนะนำ
- ยำวุ้นเส้น
- แกงจืดวุ้นเส้น
- ผัดหรือยำเส้นเซียงไฮ้
เมนูหลีกเลี่ยง
- ผัดไทย
- ราดหน้าเส้นต่างๆ
7 อาหารกินแทนข้าว ช่วยลดน้ำหนัก พุงยุบไว ดีต่อสุขภาพ
ลด-เลือกเครื่องปรุงรสชาติ
ไม่ควรปรุงรสชาติให้จัดจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ซีอิ๋ว น้ำปลา น้ำตาล เกลือ เต้าเจี้ยว กะปิ น้ำปลาร้า ผงชูรส ซอสหอยนางรม ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก กะทิ แต่ควรหันมาใช้เครื่องปรุงรสชนิดทางเลือก ลดโซเดียม หรือ เน้นการแต่งกลิ่นหอมด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น การใช้เครื่องเทศจำพวกกระเทียม ใบมะกรูด โหระพา ข่า ใบแมงลัก ตะไคร้ สมุนไพรเหล่านี้จะช่วยเพิ่มรสชาติให้เข้มข้นขึ้นโดยที่ไม่ต้องปรุงเพิ่ม และความอยากอาหารไม่ให้อาหารจืดชืดจนเกินไป
อาหารตามสั่ง โซเดียมสูง สตรีทฟู้ด แกงถุง ชนิดใดโซเดียมเยอะ
สารกลูตาเมตในผัก วัตถุดิบธรรมชาติ ผักที่ใช้ทดแทนผงชูรส มีอะไรบ้าง
หลีกเลี่ยงการทานผัก-ผลไม้บางชนิด
การทานผักนั้นมีประโยชน์ก็จริง แต่สำหรับผู้ป่วยไตนั้นอาจมีผักบางชนิดที่หากทานเข้าไปแล้วจะมีผลต่อสุขภาพ เช่นผักที่มีโพเทสเซียมและกรดยูริกสูง เช่น
- ผักที่ควรหลีกเลี่ยง : ยอดตำลึง ยอดฟักแม้ว ยอดฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ผลไม้แห้ง มะเขือเทศ ผักใบเขียว กระถิน กะหล่ำดอก บรอกโคลี ใบขี้เหล็ก ถั่วฝักยาว แครอท มะเขือเปราะ หัวผักกาด เห็ดชนิดต่างๆ เผือก มัน รากบัว กะหล่ำปลีม่วง หน่อไม้ ฟักทอง ผักหวาน
- ผลไม้ควรหลีกเลี่ยง : แก้วมังกร แคนตาลูป ฝรั่ง ส้ม แตงไทย มะละกอ ทุเรียน มะขาม ลำไย ผลไม้แห้ง อะโวคาโอ ส้ม
ผักที่กินแล้วอ้วน ลดน้ำหนักอยู่ควรเลี่ยง ยิ่งกินยิ่งอ้วน
จำกัดปริมาณการดื่มน้ำ
ผู้ป่วยไตควรดื่มน้ำไม่เกินวันละ 700-1000 ซีซี ในกรณีที่มีอาการบวมน้ำ แต่ถ้าหากอยู่ในภาวะปกติ สามารถดื่มให้ได้อย่างน้อย 8 แก้ว หลีกเลี่ยงการทานน้ำหวานและน้ำอัดลม หากต้องการทานจริงๆ แนะนำให้ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น น้ำใบเตย น้ำอัญชัน และน้ำกระเจี๊ยบที่ไม่ใส่น้ำตาลแต่ใช้หญ้าหวานแทน
EP.191 : ประโยชน์ของน้ำตาล ดีต่อร่างกายอย่างไร ?
ชนิดน้ำตาลแต่ละประเภท น้ำตาลแดง น้ำตาลทรายต่างกันอย่างไร เหมาะกับใคร
ควบคุมปริมาณฟอสฟอรัส
ควรทานไข่ขาวต้มสุกให้ได้วันละ 2-3 ฟอง หลีกเลี่ยงการทานไข่แดง เพราะไข่แดงมีฟอสฟอรัสสูง นอกจากไข่แดงแล้วควรระมัดระวังในการทานโยเกิร์ต ชีส เมล็ดแตงโม เมล็ดทานตะวัน และอาหารที่มียีสต์และผงฟูเป็นส่วนประกอบเช่น ขนมปัง ซาลาเปา หมั่นโถว โดนัท เค้ก คุกกี้ เบเกอรี่ต่างๆ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เมนูไก่ย่างส้มตำกี่แคล สามารถกินช่วงลดน้ำหนักได้มั้ย?
EP. 200 : เค็ม แค่ไหน ที่ “ไต” รับไหว ? โรคไตเรื้อรัง อันตรายที่คนมักมองข้าม