สุขภาพการหลับนอนเป็นสิ่งสำคัญ หากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอหรือนอนไม่ถึง 7-9 ชั่วโมงต่อวัน หากสะสมไปนาน ๆ ก็อาจทำให้มีปัญหาสุขภาพได้ในหลายด้าน ตั้งแต่พลังงานลดน้อยลงไปจนถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจ ปัญหาการหลับนอนหลายคนคือภาวะ นอนหลับไม่สนิท ชอบตื่นกลางดึกบ่อย ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายว่าภาวะนี้เกิดจากอะไรได้บ้าง มีผลเสียอย่างไร แล้วจะมีวิธีแก้ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองอย่างไรบ้าง? เรามีคำตอบ
นอนหลับไม่สนิท ชอบตื่นกลางดึก ส่งผลเสียอย่างไรต่อร่างกายบ้าง?
ตื่นกลางดึกบ่อย ตื่นมาแล้วนอนไม่หลับ ภาวะพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนไม่ถึง 7-9 ชั่วโมงต่อวัน หากสะสมเป็นเวลานาน จะมีผลเสียต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน
- มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ การโฟกัสกับสิ่งต่าง ๆ ลดลง สมาธิไม่ดี หรืออาจทำให้การตัดสินใจแย่ลงได้
- อาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์และสุขภาพจิต รำคาญง่าย อารมณ์แปรปรวน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้
- ภูมิคุ้มกันตก เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทำให้ไม่สบาย เป็นไข้ เป็นหวัดได้ง่ายขึ้น และอาจทำให้แผลหายช้า ใช้เวลาฟื้นฟูนาน
- อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน
- อาจทำให้น้ำหนักเพิ่ม หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน
- ทำให้มีอาการอ่อนเพลียทั้งทางกายและจิต
นอกจากนี้ก็อาจทำให้รู้สึกเบิร์นเอาท์ได้ โดยเฉพาะเมื่อนอนหลับไม่สนิท พักผ่อนน้อยและต้องทำงานอย่างหนัก
นอนหลับไม่สนิท เกิดจากอะไรได้บ้าง?
เชื่อว่าหลายคนที่มีปัญหาชอบตื่นกลางดึก นอนไม่หลับ หรือมีปัญหาการหลับนอน หลายคนก็ไม่รู้ว่าสาเหตุมันเกิดจากอะไรได้บ้าง ซึ่งเราจะมาอธิบายให้ได้เข้าใจ ซึ่งสาเหตุภาวะเหล่านี้อาจจะมาจากทั้งภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนี้
1. ภาวะความเครียด
ภาวะความเครียด ความวิตกกังวล หรือปัญหาเครียดสะสม มักจะเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่รบกวนการนอน อาจทำให้นอนไม่หลับ และมักจะทำให้ตื่นกลางดึกอยู่บ่อยครั้ง ความคิดมากก็เป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน
2. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จะมีอาการหยุดหายใจซ้ำ ๆ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตื่นกลางดึกหลายครั้ง เพราะร่างกายตอบสนองบังคับให้เราตื่น เพื่อให้เรากลับมาหายใจปกติแบบเดิม
3. โรคนอนไม่หลับ Insomnia
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นภาวะเรื้อรังอย่างหนึ่งที่ทำให้มีปัญหาในการหลับนอน มักจะเกิดจากปัจจัยทางจิตใจ บวกกับปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
4. ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
ภาวะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง มักจะเกิดกับผู้หญิงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน (Menopause) ซึ่งภาวะนี้คืออาการร้อนวูบวาบจะมีอาการเหงื่อออกและมักจะออกตอนกลางคืน ทำให้การหลับนอนมีปัญหา และทำให้นอนหลับไม่สนิทได้ นอกจากนี้ ปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ก็อาจทำให้มีปัญหาการหลับนอนด้วยเช่นกัน
5. สภาพแวดล้อมการหลับนอนไม่ดี
สภาพแวดล้อมทางเสียง แสงไฟ อาจรวมไปถึงเตียงนอนก็อาจทำให้รบกวนการหลับนอนได้ อุณหภูมิภายในห้องที่ร้อนหรือเย็นเกินไป ก็อาจทำให้ตื่นกลางดึกได้ด้วยเช่นกัน
6. การดื่มคาเฟอันหรือแอลกอฮอล์มากเกินไป
คนติดกาแฟ ดื่มกาแฟวันละหลาย ๆ แก้วต่อวัน และคนที่ดื่มหลังเวลาบ่าย 2 ก็อาจรบกวนเวลาการหลับนอนได้ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจเปลี่ยนแปลงสภาพการหลับนอนได้ด้วยเช่นกัน
7. โรคเรื้อรังต่าง ๆ
โรคข้ออักเสบเรื้อรัง โรคเก๊าท์ อาจทำให้เกิดปัญหาการหลับนอนได้ ทำให้หลับนอนได้ยากขึ้น และมักจะตื่นกลางดึกอยู่บ่อยครั้ง รวมถึงคนที่มีปัญหาขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome : RLS) ที่อาจทำให้ตื่นกลางดึกได้บ่อยครั้ง และภาวะโรคกรดไหลย้อนก็เป็นปัญหาเช่นกัน
8. ปัญหาด้านไลฟ์สไตล์
ไม่ชอบนอน เปลี่ยนเวลานานบ่อย นอนในเวลาที่ไม่สม่ำเสมอ หรือมีพฤติกรรมชอบเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน จะมีส่วนทำให้นอนหลับได้ยาก และอาจทำให้กลับไปนอนได้ยากกว่าเดิม
KINN ถั่งเช่าสูตรเอ็กซ์ตร้า และ KINN หลินจือ มีส่วนช่วยแก้ปัญหาการหลับนอน
KINN ถั่งเช่าสูตรเอ็กซ์ตร้า มีส่วนช่วยให้แก้ปัญหานอนหลับไม่สนิท กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกาย บรรเทาอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้สดชื่น ในแคปซูลจะมีถั่งเช่า 79% หรือ (395 มิลลิกรัม) เบต้า กลูแคน 14% (7 มิลลิกรัม) 1 กล่องบรรจุ 20 แคปซูล
KINN หลินจือ มีส่วนช่วยให้นอนหลับลึก หลับสนิท มีส่วนช่วยขับล้างสารพิษในตับ ปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย บำรุงระบบประสาท ในแคปซูลจะบรรจุสปอร์เห็ดหลินจือ 500 มิลลิกรัม 1 กล่องบรรจุ 30 แคปซูล
อ่านบทความเพิ่มเติม :
ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงส่งผลต่อ คุณภาพการนอนหลับหรือไม่?