การหลับนอนเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในวัยสูงอายุที่ร่างกายต้องการการพักผ่อนมากขึ้นและต้องเพียงพอในทุกวัน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหลายอย่างก็ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนมีปัญหาการหลับนอนในตอนกลางคืน และปัญหานั้นก็ส่งต่อมายังชีวิตในตอนกลางวันจนทำให้นอนหลับไม่สนิทตอนกลางคืน ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ ผู้สูงอายุง่วงนอนตลอดเวลา ว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้สูงอายุไหม แล้วมีวิธีแก้ปัญหาการหลับนอนของผู้สูงอายุได้อย่างไรบ้าง? เรามีคำตอบ
ผู้สูงอายุง่วงนอนตลอดเวลา เกิดจากอะไรได้บ้าง?
การที่ผู้สูงอายุง่วงนอนตลอดเวลา สาเหตุอาจมาจากการที่มีปัญหาการหลับนอนตอนกลางคืน ภาวะทางสุขภาพบางอย่าง ผลข้างเคียงของการทานยา ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสื่อมถอย ภาวะทางสุขภาพจิต ไม่ได้ออกกำลังกาย สภาพแวดล้อมการนอนที่ไม่ดี การขาดสารอาหาร และระบบประสาทที่เสื่อมลง
ปัญหาการหลับนอนในตอนกลางคืน
ผู้สูงอายุหลายคนมักมีปัญหาการหลับนอนตอนกลางคืน อาจมาด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคหยุดหายใจขณะหลับนอน ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้การหลับนอนตอนกลางคืนไม่มีประสิทธิภาพ ตื่นกลางดึกบ่อย นอนหลับยาก
ภาวะทางสุขภาพ
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ จะมีผลต่อการหลับนอนโดยตรง เนื่องจากระดับออกซิเจนในเลือดลดน้อยลง ทำให้การหลับนอนไม่สบายและรบกวนการนอน รวมถึงโรคปวดเรื้อรังอย่างโรคข้ออักเสบ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคเก๊าท์ อาการปวดอาจเกิดขึ้นตอนกลางคืนทำให้ตื่นกลางดึกบ่อยกว่าปกติ และโรคเบาหวานก็สามารถทำให้ตื่นกลางดึกและเกิดปัญหาง่วงตอนกลางวันได้เช่นกัน
ผลข้างเคียงจากการทานยา
ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวหรือภาวะต่าง ๆ มักจะตอนทานยาอยู่เป็นประจำ ซึ่งยาบางชนิดก็อาจทำให้รบกวนการนอนตอนกลางคืนได้ เช่น ยาแก้ซึมเศร้า ยาแก้ปวดบางชนิด ยาแก้แพ้บางชนิด เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
วัยสูงอายุ เป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยลง รวมถึงระบบการสร้างฮอร์โมนก็เสื่อมถอยลงด้วยเช่นกัน เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการหลับนอน การที่ผู้สูงอายุมีฮอร์โมนตัวนี้น้อย ก็มีส่วนทำให้มีปัญหาการหลับนอนตอนกลางคืน ทำให้ง่วงนอนตลอดทั้งวันได้เช่นกัน
ภาวะทางสุขภาพจิต
โรคซึมเศร้า สามารถส่งผลต่อการหลับนอนได้ อาจทำให้เกิดภาวะหลับนอนมากเกินไปหรือนอนไม่หลับนอนตอนกลางคืน รวมถึงทำให้พลังงานในการใช้ชีวิตลดน้อยลง รวมถึงภาวะวิตกกังวลก็อาจส่งผลได้ด้วยเช่นกัน
ขาดการออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย จะมีส่วนช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นได้ สำหรับผู้สูงอายุ หากขาดการออกกำลังกายจะมีส่วนทำให้การหลับนอนแย่ลง ทำให้ร่างกายอ่อนแอและง่วงนอนตลอดวันได้เช่นกัน
สภาพแวดล้อมการนอนที่ไม่ดี
นอนหลับไม่เป็นเวลา เข้านอนและตื่นนอนไม่ตรงเวลา การนอนกลางวันหรืองีบหลับเป็นประจำ รวมถึงสภาพแวดล้อมการนอน เช่น แสงสว่างมากเกินไป เสียงรบกวนดังมากเกินไป หรือเบาะนอนไม่ดี ก็ส่งผลให้ผู้สูงอายุง่วงนอนตลอดได้เช่นกัน
การขาดสารอาหารบางชนิด
ภาวะขาดธาตุเหล็กหรือโรคโลหิตจาง จะทำให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเลือดได้น้อยลง ทำให้มีอาการง่วงซึมได้ รวมถึงการขาดวิตามินบี 12 ที่สำคัญต่อการสร้างพลังงาน เมื่อขาดก็อาจทำให้ร่างกายอ่อนล้าได้ และแมกนีเซียมกับโพแทสเซียมที่สำคัญต่อการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและมีส่วนทำให้วงจรการหลับนอนดีขึ้น
ระบบประสาทเกิดการเสื่อมถอย
เช่น โรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อม จะส่งผลต่อไฮโปทาลามัส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ควบคุมการนอนหลับ ส่งผลให้การนอนหลับไม่เป็นเวลาได้ และทำให้การงีบหลับเกิดขึ้นได้บ่อยด้วยเช่นกัน
ถือเป็นเรื่องปกติไหมที่ผู้สูงอายุง่วงนอนตลอดเวลาหรือนอนหลับเยอะผิดปกติ?
จริง ๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องปกติที่ผู้สูงอายุง่วงนอนตลอดเวลา โดยปกติผู้สูงอายุมักมีการนอนหลับที่เปลี่ยนไปเนื่องจากปัจจัยทางด้านร่างกายจนอาจทำให้มีการนอนหลับตอนกลางวันหรือรู้สึกง่วงบ้างเป็นครั้งคราว แต่การที่ผู้สูงอายุนอนไม่หลับตอนกลางคืน ง่วงนอนมากเกินไปตอนกลางวันหรือมีปัญหาการหลับนอนมากเกินไปอย่างต่อเนื่อง ก็อาจมีความผิดปกติของภาวะสุขภาพได้ เช่น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคนอนไม่หลับ หรือจากผลข้างเคียงจากการทานยา สุขภาพจิตได้เช่นกัน
วิธีดูแล เมื่อผู้สูงอายุง่วงนอนตลอดเวลา
การเปลี่ยนแปลงบางอย่างจะช่วยแก้ปัญหาได้ เคียงข้างกับการปรึกษาแพทย์ ด้วยวิธีดูแลดังนี้
- รักษาโรคที่เป็นอยู่อย่างเคร่งครัด เช่น โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ หรือโรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า
- ปรับเปลี่ยนการทานยาที่ส่งผลต่อการหลับนอนกับแพทย์
- อย่าให้ร่างกายขาดสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามินบี 12 แมกนีเซียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก
- กำหนดเวลานอนให้ชัดเจน ตื่นเวลาเดิม นอนเวลาเดิม
- ออกกำลังกายเป็นประจำตามที่ร่างกายไหว
- ลดหรือเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ผู้สูงอายุง่วงนอนตลอดเวลา เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่ต้องได้รับการดูแล การปล่อยเอาไว้จะสามารถส่งผลได้หลายต่อสุขภาพ เพราะการหลับนอนในตอนกลางคืนจะเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อคนทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
อ่านบทความเพิ่มเติม :
ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงส่งผลต่อ คุณภาพการนอนหลับหรือไม่?
รวม 5 อาหารช่วยให้นอนหลับง่าย ใครหลับยากต้องอ่าน
โรคนอนไม่หลับ เพิ่มความเสี่ยงโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
สั่งซื้อ คลิกที่นี่