ทางเดินอาหาร เป็นส่วนสำคัญของร่างกายที่ใคร ๆ ก็ทราบกันดี สุขภาพทางเดินอาหารที่ดี นอกจากจะช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยอาหารเพื่อนำสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว การมีสุขภาพกระเพาะที่ดีก็จะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างลื่นไหลด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากว่าวันหนึ่งเกิดมีแผลในกระเพาะอาหารขึ้นมา หรือเป็นโรคกระเพาะ ก็คงทำให้การใช้ชีวิตลำบากลงไปเยอะ ในบทความนี้ ผู้เขียนจะอธิบายเกี่ยวกับ แผลในกระเพาะอาหารกินอะไรได้บ้าง? อาหารชนิดไหนที่เป็นมิตรกับกระเพาะอาหาร ไม่ทำให้อาการแย่ลง
แผลในกระเพาะอาหาร สาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง?
ก่อนที่จะค้นหาในกูเกิลว่าหาว่า แผลในกระเพาะอาหารกินอะไรได้บ้าง ไม่ตัวเองเป็นก็คนรอบข้างใช่ไหมที่เป็น? ก่อนจะไปรู้ว่าอะไรที่กินได้ ก็ต้องรู้ต้นตอของปัญหาแผลในกระเพาะอาหารกันก่อน ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ สามารถอธิบายได้ดังนี้
- การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (H. pylori) ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะเข้าไปทำให้เกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เยื่อบุอ่อนแอ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- การทานยาแก้อักเสบเป็นเวลานาน จะลดการผลิตพรอสตาแกลนดิน ซึ่งเป็นสารป้องกันอย่างหนึ่งในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอ
- สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะทำให้กรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นและลดประสิทธิภาพในการฟื้นฟูตัวเองของกระเพาะอาหาร
- การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จะทำให้กรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น เกิดการระคายเคือง เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
- ผู้สูงอายุ มีโอกาสเสี่ยงเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้มากขึ้น
- พฤติกรรมการทานอาหาร เช่น ทานอาหารไม่ตรงเวลา ทานอาหารไม่หลากหลาย ก็เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุได้เช่นกัน
- อาหารรสเผ็ดจัด ถึงแม้จะไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้แผลในกระเพาะอาหารแย่ลงได้
แผลในกระเพาะอาหารกินอะไรได้บ้าง? อาหาร 7 ชนิดที่เป็นมิตรกับกระเพาะ
การจัดการแผลในกระเพาะอาหาร ไม่เพียงแต่การปฏิบัติตามสิ่งที่แพทย์บอกหรือยาที่ทานเท่านั้น สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเรื่องของการทานอาหารว่า แผลในกระเพาะอาหารกินอะไรได้บ้าง ซึ่งอาหารที่ทานได้และควรทาน จะมีดังนี้
1. อาหารที่มีไฟเบอร์หรือใยอาหารสูง
อาหารที่มีไฟเบอร์สูง จะช่วยลดกรดในกระเพาะ และอาจช่วยโอกาสการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย
เช่น ผักที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักใบเขียว บรอกโคลี ผักโขม แครอท มันหวาน รวมถึงผลไม้อย่างแอปเปิล กล้วยเบอร์รีต่าง ๆ เมล่อน ลูกแพร และธัญพืชไม่ขัดสีอย่างข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง บาร์เลย์และขนมปังโฮลวีท
2. โปรตีนไร้มัน
โปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แผลในกระเพาะอาหารก็เช่นกัน
เช่น ไก่ไม่มีหนัง ปลา (ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล มีไขมันโอเมก้า 3 สูง) และโปรตีนจากพืชอย่างเต้าหู้ ถั่วแระญี่ปุ่น นัตโตะ เป็นต้น
3. อาหารที่อุดมไปด้วยโปรไบโอติก
โปรไบโอติก สามารถพบได้ในอาหารหมักดองหลายชนิดที่ช่วยคืนความสมดุลของแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากแบคทีเรีย H. pylori
เช่น กิมจิ (แบบไม่เผ็ด) ซุปมิโซะ โยเกิร์ต ถั่วนัตโตะ ชาหมัก เป็นต้น
4. ผลไม้ที่ไม่มีกรด
แผลในกระเพาะอาหารกินอะไรได้บ้าง? ผลไม้คืออาหารอย่างหนึ่งที่กินได้ แต่ต้องเป็นผลไม้ที่ไม่มีกรดด้วยเช่นกัน
เช่น กล้วย แอปเปิล เมล่อน ลูกแพร แตงโม มะพร้าว
5. ชาสมุนไพร
ชาสมุนไพรบางชนิดจะช่วยบรรเทาอาการ ลดการอักเสบและไม่มีคาเฟอีน ซึ่งการมีของคาเฟอีนก็อาจทำให้อาการแผลในกระเพาะอาหารรุนแรงขึ้นได้
เช่น ชาขิง ชาคาโมมายล์ ชาขมิ้น เป็นต้น
6. อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเชิงซ้อน (Complex carbohydrate)
อาหารประเภทนี้จะสร้างพลังงานให้โดยไม่ต้องเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งดีมากต่อการจัดการแผลในกระเพาะอาหาร
เช่น มันฝรั่ง มันเทศ และผักที่มีแป้งอย่าง ข้าวโพด ถั่ว ฟักทอง เป็นต้น
7. อาหารที่มีไขมันดี
ไขมันดีจะช่วยลดการอักเสบได้
เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่วอย่างแอลมอนด์ วอลนัท รวมถึงปลาที่มีไขมันดีสูงอย่างปลาแซลมอน แมคเคอเรล
แผลในกระเพาะอาหารกินอะไรได้บ้าง? อาหารแต่ละชนิดที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นล้วนเป็นอาหารที่ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อการจัดการภาวะแผลในกระเพาะอาหาร
อ่านบทความเพิ่มเติม :
6 ผลไม้ที่มีแมกนีเซียมสูง ดีต่อกล้ามเนื้อ หัวใจ และความดัน
โพแทสเซียมต่ำ ควรกินอะไร อาหารช่วยป้องกันอาการขาดโพแทสเซียม
7 ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ผลไม้บำรุงผิว เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
สั่งซื้อ คลิกที่นี่